พระยาอมรฤทธิธำรงค์ (บุญชู บุนนาค)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จางวางตรี พระยาอมรฤทธิธำรง (บุญชู บุนนาค)
เกิด12 ธันวาคม พ.ศ. 2426
ถึงแก่กรรม30 มีนาคม พ.ศ. 2470 (43 ปี)
ตระกูลบุนนาค
คู่สมรสคุณหญิงชุมนุม บุนนาค
บิดาพระยาศรีธรรมสาสน
มารดาท้าวราชกิจวรภัตร ศรีสวัสดิ์รสาหาร (ปุย บุนนาค)

มหาอำมาตย์ตรี จางวางตรี พระยาอมรฤทธิธำรง (บุญชู บุนนาค) (12 ธันวาคม 2426–30 มีนาคม 2470) อดีตองคมนตรี อดีตปลัดมณฑลกรุงเก่า และอดีตผู้ว่าราชการ จังหวัดตะกั่วป่า

ประวัติ[แก้]

พระยาอมรฤทธิธำรง มีชื่อเดิมว่า บุญชู บุนนาค เกิดเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2426 เป็นบุตรชายของ พระศรีธรรมสาสน (เชย บุนนาค) กับ ท้าวราชกิจวรภัตร ศรีสวัสดิ์รสาหาร (ปุย บุนนาค)[1]

ด้านชีวิตครอบครัวสมรสกับ คุณหญิงชุมนุม บุนนาค ธิดาของ มหาอำมาตย์โท พระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชื่น บุนนาค)

พระยาอมรฤทธิธำรงถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2470 ด้วยโรคบิด สิริอายุเพียง 43 ปี[2]

รับราชการ[แก้]

พระยาอมรฤทธิธำรงเริ่มต้นรับราชการเป็นเสมียนในกรมปลัดบัญชี กระทรวงมหาดไทย เมื่อ พ.ศ. 2444 ขณะอายุเพียง 18 ปีจากนั้นในวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2451 จึงได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็น นายจำนงราชกิจ หุ้มแพรวิเศษ กรมพระอาลักษณ์ ถือศักดินา ๕๐๐ ขณะอายุได้ 25 ปีต่อมาในวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2453 ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็น หลวงมหาสิทธิโวหาร และได้รับโปรดเกล้าฯ ให้แต่งเครื่องแต่งตัวอย่าง มหาดเล็กชั้นที่ 2 ตรีเทียบเท่าชั้นจ่า เมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2454 ต่อมาได้รับพระราชทานตราวชิรมาลาเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2454 และโปรดเกล้าฯ ให้แต่งเครื่องแต่งตัวอย่างมหาดเล็กชั้นที่ 2 เอกเทียบเท่าชั้น หัวหมื่นมหาดเล็ก เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2454 รวมถึงได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้น ตริตาภรณ์มงกุฎไทย ในงานสวดมนต์พระราชพิธีฉัตรมงคลเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454

ถึงวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2455 หลวงมหาสิทธิโวหารจึงได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็น พระยาราชสาสนโสภณ มีตำแหน่งราชการใน กรมราชเลขานุการ พร้อมกับเลื่อนยศเป็น จางวางตรี ในวันเดียวกันและได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้น ทุติยจุลจอมเกล้า เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2456 โดยดำรงตำแหน่ง ราชเลขานุการในพระองค์

แต่ในเวลาต่อมา พระยาราชสาสนโสภณ พ้นจากตำแหน่งราชเลขานุการในพระองค์เมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2456 เนื่องจากปฏิบัติราชการเป็นที่เสื่อมเสียมัวหมองโดยมี พระยาบุรีนวราษฐ์ (ชวน สิงหเสนี) ซึ่งดำรงตำแหน่งราชเลขานุการฝ่ายต่างประเทศมาดำรงตำแหน่งแทนอีกตำแหน่งหนึ่ง นอกจากนี้ยังได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เรียกคืนพานทองเครื่องยศและเครื่องราชอิสริยาภรณ์จากพระยาราชสาสนโสภณเมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2456 นอกจากนี้ยังโปรดเกล้าฯ ให้เรียกคืนยศทั้งหมดของพระยาราชสาสนโสภณอาทิ

  • จางวางตรี
  • มหาเสวกตรี
  • นายกองตรี
  • นายร้อยเอกในกรมทหารรักษาวัง

เมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2457 ก่อนที่ในเวลาต่อมาจะได้รับโปรดเกล้าฯ ให้กลับเข้ารับราชการและได้คืนบรรดาศักดิ์และได้โอนกลับไปรับราชการที่กระทรวงมหาดไทย โดยในวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2459 ท่านได้รับพระราชทานยศ อำมาตย์เอก จากนั้นในวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2461 ท่านได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็น ปลัดมณฑลกรุงเก่า

ยศและบรรดาศักดิ์[แก้]

  • 7 กันยายน พ.ศ. 2451 นายจำนงราชกิจ หุ้มแพรวิเศษ กรมพระอาลักษณ์ ถือศักดินา ๕๐๐[3]
  • 30 ธันวาคม พ.ศ. 2453 หลวงมหาสิทธิโวหาร ถือศักดินา ๑๐๐๐[4]
  • 16 เมษายน พ.ศ. 2454 แต่งเครื่องแต่งตัวอย่าง มหาดเล็กชั้นที่ 2 ตรี (เทียบเท่าชั้น จ่ามหาดเล็ก)[5]
  • 4 สิงหาคม พ.ศ. 2454 นายหมู่ตรี[6]
  • 30 สิงหาคม พ.ศ. 2454 แต่งเครื่องแต่งตัวอย่างมหาดเล็กชั้นที่ 2 เอก (เทียบเท่าชั้น หัวหมื่นมหาดเล็ก)[7]
  • 30 กันยายน พ.ศ. 2454 นายหมู่โท[8]
  • 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2454 นายหมู่เอก[9]
  • 8 กันยายน พ.ศ. 2455 พระยาราชสาสนโสภณ ถือศักดินา ๓๐๐๐[10]
  • 8 กันยายน พ.ศ. 2455 จางวางตรี[11]
  • 1 ตุลาคม พ.ศ. 2455 นายหมู่ใหญ่[12]
  • 28 ตุลาคม พ.ศ. 2455 มหาเสวกตรี[13]
  • 2 มกราคม พ.ศ. 2455 ร้อยเอกพิเศษ ในกรมทหารรักษาวัง[14]
  • 8 มิถุนายน พ.ศ. 2456 นายกองตรี[15]
  • 21 ธันวาคม พ.ศ. 2459 อำมาตย์เอก[16]
  • 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2461 พระยาอมรฤทธิธำรง คงถือศักดินา ๓๐๐๐[17]
  • 18 มีนาคม 2461 – เข้ารับพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์[18]
  • 13 มกราคม 2462 – นายกองตรี[19]
  • 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2463 จางวางตรีพิเศษ[20]
  • 11 ธันวาคม 2463 – มหาอำมาตย์ตรี[21]

ตำแหน่ง[แก้]

  • ราชเลขานุการในพระองค์
  • 10 มีนาคม พ.ศ. 2456 พ้นจากตำแหน่งราชเลขานุการในพระองค์[22]
  • 29 มีนาคม พ.ศ. 2456 เรียกคืนพานทองเครื่องยศและเครื่องราชอิสริยาภรณ์[23]
  • 2 กันยายน พ.ศ. 2457 เรียกคืนยศทั้งหมด[24]
  • 4 ตุลาคม พ.ศ. 2461 ปลัดมณฑลกรุงเก่า[25]
  • 21 มิถุนายน พ.ศ. 2462 ผู้รักษาพระนครศรีอยุธยา[26]
  • 4 เมษายน พ.ศ. 2464 องคมนตรี[27]
  • 7 มิถุนายน พ.ศ. 2465 ผู้ตรวจการในกระทรวงมหาดไทย[28]
  • เจ้ากรมการภายใน
  • 25 มีนาคม พ.ศ. 2468 รั้งตำแหน่งผู้ว่าราชการ จังหวัดตะกั่วป่า[29]
  • 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2469 ผู้ว่าราชการจังหวัดตะกั่วป่า[30]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

เครื่องยศ[แก้]

  • 20 พฤศจิกายน 2454 – โต๊ะทอง กาทอง[32]

อ้างอิง[แก้]

  1. พระราชทานสัญญาบัตรฝ่ายใน
  2. ข่าวตาย
  3. พระราชทานสัญญาบัตรขุนนาง
  4. พระราชทานสัญญาบัตรขุนนาง
  5. แจ้งความกรมมหาดเล็ก
  6. พระราชทานสัญญาบัตรกองเสือป่า
  7. แจ้งความกรมมหาดเล็ก
  8. พระราชทานสัญญาบัตรกองเสือป่า (หน้า ๑๕๐๔)
  9. พระราชทานสัญญาบัตรเสือป่า (หน้า ๒๕๙๔)
  10. พระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์
  11. แจ้งความกรมมหาดเล็ก เรื่อง เลื่อนยศหัวหมื่นขึ้นเป็นชั้นจางวางตรี
  12. พระราชทานสัญญาบัตรเสือป่า
  13. พระราชทานยศ
  14. แจ้งความกรมทหารรักษาวัง เรื่อง ตั้งนายร้อยเอกพิเศษกรมทหารรักษาวัง
  15. พระราชทานสัญญาบัตรเสือป่า (หน้า ๔๗๙)
  16. พระราชทานยศ
  17. พระราชทานบรรดาศักดิ์
  18. รายวันพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์
  19. พระราชทานยศเสือป่า
  20. ประกาศกรมบัญชาการกลางมหาดเล็ก
  21. พระราชทานยศ
  22. แจ้งความกรมราชเลขานุการ
  23. ประกาศกระทรวงวัง
  24. แจ้งความกระทรวงวัง เรื่อง คืนยศพระยาราชสาสนโสภณ
  25. แจ้งความกระทรวงมหาดไทย
  26. แจ้งความกระทรวงมหาดไทย
  27. รายพระนามและนามผู้ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นองคมนตรี
  28. แจ้งความกระทรวงมหาดไทย
  29. แจ้งความกระทรวงมหาดไทย (หน้า ๓๙๕๓)
  30. แจ้งความกระทรวงมหาดไทย
  31. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๘๐๔, ๒๘ พฤศจิกายน ๒๔๖๓
  32. พระราชทานเครื่องยศ