ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จุมเบ ฟาตีมา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
หน้าใหม่: {{infobox royalty | name = จุมเบ ฟาตีมา | image = Djoumbe Fatima 1868.jpg | title | birth_style = {{Nowrap|พระราชสมภพ}} | birt...
 
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 45: บรรทัด 45:
เมื่อฝรั่งเศสเข้าปกครอง[[มายอต|เกาะมายอต]] และสนใจที่จะพัฒนาเกาะมอเอลี จึงส่งมาดามดรัวต์ ({{lang|fr|Madame Droit}}) เข้ามาเป็นพระพี่เลี้ยงของสุลต่านหญิงจุมเบ<ref>{{cite book|last=Ottenheimer|first=Martin|title=Historical Dictionary of the Comoro Islands|year=1994|publisher=Scarecrow Press|location=Metuchen, NJ [u.a.]|isbn=978-0-8108-2819-3|page=61|url=https://books.google.com/books?id=Ruu0JZGFcXAC&pg=PA61 |author2=Ottenheimer, Harriet}}</ref> ค.ศ. 1849 เมื่อสุลต่านจุมเบพระชนมายุได้สิบสองพรรษา รัฐบาลฝรั่งเศสจึงจัด[[พิธีราชาภิเษก|พระราชพิธีราชาภิเษก]]ถวาย แต่สองปีต่อมาหลังพระราชพิธีราชาภิเษก สุลต่านหญิงพระองค์ทรงขับไล่พระพี่เลี้ยงชาวฝรั่งเศสออก และจัดพระราชพิธีอภิเษกสมรสกับไซอิด มูฮัมมัด บิน นัสเซอร์ มากาดารา พระญาติของสุลต่านแซนซิบาร์ ก่อนถูกพวกฝรั่งเศสขับไล่ใน ค.ศ. 1860
เมื่อฝรั่งเศสเข้าปกครอง[[มายอต|เกาะมายอต]] และสนใจที่จะพัฒนาเกาะมอเอลี จึงส่งมาดามดรัวต์ ({{lang|fr|Madame Droit}}) เข้ามาเป็นพระพี่เลี้ยงของสุลต่านหญิงจุมเบ<ref>{{cite book|last=Ottenheimer|first=Martin|title=Historical Dictionary of the Comoro Islands|year=1994|publisher=Scarecrow Press|location=Metuchen, NJ [u.a.]|isbn=978-0-8108-2819-3|page=61|url=https://books.google.com/books?id=Ruu0JZGFcXAC&pg=PA61 |author2=Ottenheimer, Harriet}}</ref> ค.ศ. 1849 เมื่อสุลต่านจุมเบพระชนมายุได้สิบสองพรรษา รัฐบาลฝรั่งเศสจึงจัด[[พิธีราชาภิเษก|พระราชพิธีราชาภิเษก]]ถวาย แต่สองปีต่อมาหลังพระราชพิธีราชาภิเษก สุลต่านหญิงพระองค์ทรงขับไล่พระพี่เลี้ยงชาวฝรั่งเศสออก และจัดพระราชพิธีอภิเษกสมรสกับไซอิด มูฮัมมัด บิน นัสเซอร์ มากาดารา พระญาติของสุลต่านแซนซิบาร์ ก่อนถูกพวกฝรั่งเศสขับไล่ใน ค.ศ. 1860


ค.ศ. 1863 ฝรั่งเศสส่งคณะผู้แทนเข้าเฝ้าสุลต่านหญิง และ[[เดซีเร ชาร์เนย์]] ({{lang|fr|Désiré Charnay}}) การบันทึกภาพของสุลต่านหญิงพระองค์นี้ไว้<ref>{{Cite web|url=https://www.mfah.org/art/detail/59703|title=La Reine de Mohely {{!}} The Museum of Fine Arts, Houston|website=www.mfah.org|access-date=2019-12-04}}</ref> เขาบันทึกว่าพระองค์ "ทรงพระประชวรแลทุกข์โทมนัส" และมีข้าราชบริพารเฝ้าถวายงานเพียงไม่กี่คน<ref>{{Cite web|url=http://expositions.bnf.fr/socgeo/pedago/t033.htm|title=BnF - Trésors photographiques de la Société de géographie|website=expositions.bnf.fr|access-date=2019-12-04}}</ref> รวมทั้งบันทึกถึงฉลองพระองค์ว่า ทรงฉลองพระองค์ "ผ้าคลุมยาวทำจากผ้าไหมและทองคำอย่างจากตุรกี" ปิดพระพักตร์และพระวรกายเกือบทั้งหมด แลเห็นเพียงพระหัตถ์เท่านั้น<ref>{{Cite book|url=https://books.google.co.uk/books?id=Va8yAQAAQBAJ&lpg=PR7&ots=YgyJiEGg9V&dq=jumbe-souli&lr&pg=PA729#v=onepage&q=jumbe-souli&f=false|title=David Griffiths and the Missionary “History of Madagascar”|last=Campbell|first=Gwyn|date=2012-04-03|publisher=BRILL|year=|isbn=978-90-04-19518-9|location=|pages=729|language=en}}</ref> การเยือนมอเอลีครั้งนี้ของชาวฝรั่งเศส ก็เพื่อเชื้อเชิญให้ตัดสินพระทัยเข้าเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส แต่สุลต่านหญิงทรงปฏิเสธ<ref name=":0" />
ค.ศ. 1863 ฝรั่งเศสส่งคณะผู้แทนเข้าเฝ้าสุลต่านหญิง และ[[เดซีเร ชาร์เนย์]] ({{lang|fr|Désiré Charnay}}) การบันทึกภาพของสุลต่านหญิงพระองค์นี้ไว้<ref>{{Cite web|url=https://www.mfah.org/art/detail/59703|title=La Reine de Mohely {{!}} The Museum of Fine Arts, Houston|website=www.mfah.org|access-date=2019-12-04}}</ref> เขาบันทึกว่าพระองค์ "ทรงพระประชวรแลทุกข์โทมนัส" และมีข้าราชบริพารเฝ้าถวายงานเพียงไม่กี่คน<ref>{{Cite web|url=http://expositions.bnf.fr/socgeo/pedago/t033.htm|title=BnF - Trésors photographiques de la Société de géographie|website=expositions.bnf.fr|access-date=2019-12-04}}</ref> รวมทั้งบันทึกถึงฉลองพระองค์ว่า ทรงฉลองพระองค์ "ผ้าคลุมยาวทำจากผ้าไหมและทองคำอย่างดีจากตุรกี" ปิดพระพักตร์และพระวรกายเกือบทั้งหมด แลเห็นเพียงพระหัตถ์เท่านั้น<ref>{{Cite book|url=https://books.google.co.uk/books?id=Va8yAQAAQBAJ&lpg=PR7&ots=YgyJiEGg9V&dq=jumbe-souli&lr&pg=PA729#v=onepage&q=jumbe-souli&f=false|title=David Griffiths and the Missionary “History of Madagascar”|last=Campbell|first=Gwyn|date=2012-04-03|publisher=BRILL|year=|isbn=978-90-04-19518-9|location=|pages=729|language=en}}</ref> การเยือนมอเอลีครั้งนี้ของชาวฝรั่งเศส ก็เพื่อเชื้อเชิญให้ตัดสินพระทัยเข้าเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส แต่สุลต่านหญิงทรงปฏิเสธ<ref name=":0" />


=== ปลายพระชนม์ ===
=== ปลายพระชนม์ ===

รุ่นแก้ไขเมื่อ 01:17, 25 พฤษภาคม 2563

จุมเบ ฟาตีมา
สุลต่านหญิงแห่งมอเอลี (ครั้งแรก)
ดำรงพระยศ1842–1865
ก่อนหน้ารามาเนตากา
ถัดไปโมฮาเมด บิน ไซดี ฮามาดี มากาดารา
สุลต่านหญิงแห่งมอเอลี (ครั้งที่สอง)
ดำรงพระยศ1874–1878
ก่อนหน้าอับเดอร์เรมาเน บิน ไซดี ฮามาดี มากาดารา
ถัดไปโมฮาเมด บิน ไซดี ฮามาดี มากาดารา
พระราชสมภพค.ศ. 1836/37
อูอัลลาฮ์ รัฐสุลต่านมอเอลี
สวรรคตค.ศ.1878 (อายุ 41–42)
พระราชสวามีไซอิด มูฮัมมัด บิน นัสเซอร์ มากาดารา
พระราชบุตร
  • โมฮาเมด บิน ไซดี ฮามาดี มากาดารา
  • อับเดอร์เรมาเน บิน ไซดี ฮามาดี มากาดารา
  • มะฮ์มูดู บิน โมฮาเมด มากาดารา
  • บาโกโก
  • ซาลีมา มาชัมบา
ราชวงศ์เมรีนา
พระราชบิดาพระเจ้ารามาเนตากา
พระราชมารดาราวาโอ
ศาสนาอิสลาม

จุมเบ ฟาตีมา (อักษรโรมัน: Djoumbé Fatima; 1837–1878) หรือ จุมเบ ซูดี ([Djoumbé Soudi] ข้อผิดพลาด: {{Lang}}: ไม่รู้จักแท็กภาษา: roman (ช่วยเหลือ)) เป็นสมเด็จพระราชินีนาถหรือสุลต่านหญิงและผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แห่งมอเอลี ตั้งแต่มีพระชนมายุ 5 พรรษาจนกระทั่งสวรรคต พระองค์มีความสัมพันธ์ทางเครือญาติกับอาณาจักรเมรีนาและรัฐสุลต่านแซนซิบาร์

พระราชประวัติ

พระชนม์ชีพช่วงต้น

จุมเบ ฟาตีมา เป็นพระราชธิดาของพลเอก พระเจ้ารามาเนตากา หรือสุลต่านอับเดรามาเน กับพระชายาราวาโอ พระราชชนกเป็นพระเทวันของพระเจ้าราดามาที่ 1 แห่งมาดากัสการ์ ด้วยเหตุนี้จุมเบ ฟาตีมาจึงเป็นพระญาติของเจ้านายมาดากัสการ์ หลังการสวรรคตของพระราดามาที่ 1 พระราชชนกจึงลี้ภัยออกจากมาดากัสการ์และก่อตั้งรัฐสุลต่านบนเกาะมอเอลี (ปัจจุบันอยู่ในประเทศคอโมโรส)[1] พระองค์มีพระขนิษฐาร่วมพระชนกชนนีพระองค์หนึ่งคือ จุมเบ ซาลามา แต่สิ้นพระชนม์ตั้งแต่ทรงพระเยาว์[2]

เสวยราชย์

จุมเบ ฟาตีมาขึ้นเสวยราชย์เป็นสุลต่านแห่งมอเอลีหลังการเสด็จสวรรคตของพระเจ้ารามาเนตากาใน ค.ศ. 1842 โดยมีราวาโอเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ไปพลาง[3] ต่อมาราวาโอเสกสมรสใหม่กับซีวันดีนี อดีตที่ปรึกษาของพระเจ้ารามาเนตากาเมื่อ ค.ศ. 1843 และกลายเป็นครูพิเศษของจุมเบ ฟาตีมา พร้อมไปกับการวางแผนที่จะให้สุลต่านหญิงผู้มีศักดิ์เป็นลูกเลี้ยงนี้เสกสมรสกับเจ้านายของรัฐสุลต่านแซนซิบาร์[4] แต่เวลาต่อมาราวาโอหย่าร้างกับซีวันดีนีเมื่อ ค.ศ. 1846

เมื่อฝรั่งเศสเข้าปกครองเกาะมายอต และสนใจที่จะพัฒนาเกาะมอเอลี จึงส่งมาดามดรัวต์ (Madame Droit) เข้ามาเป็นพระพี่เลี้ยงของสุลต่านหญิงจุมเบ[5] ค.ศ. 1849 เมื่อสุลต่านจุมเบพระชนมายุได้สิบสองพรรษา รัฐบาลฝรั่งเศสจึงจัดพระราชพิธีราชาภิเษกถวาย แต่สองปีต่อมาหลังพระราชพิธีราชาภิเษก สุลต่านหญิงพระองค์ทรงขับไล่พระพี่เลี้ยงชาวฝรั่งเศสออก และจัดพระราชพิธีอภิเษกสมรสกับไซอิด มูฮัมมัด บิน นัสเซอร์ มากาดารา พระญาติของสุลต่านแซนซิบาร์ ก่อนถูกพวกฝรั่งเศสขับไล่ใน ค.ศ. 1860

ค.ศ. 1863 ฝรั่งเศสส่งคณะผู้แทนเข้าเฝ้าสุลต่านหญิง และเดซีเร ชาร์เนย์ (Désiré Charnay) การบันทึกภาพของสุลต่านหญิงพระองค์นี้ไว้[6] เขาบันทึกว่าพระองค์ "ทรงพระประชวรแลทุกข์โทมนัส" และมีข้าราชบริพารเฝ้าถวายงานเพียงไม่กี่คน[7] รวมทั้งบันทึกถึงฉลองพระองค์ว่า ทรงฉลองพระองค์ "ผ้าคลุมยาวทำจากผ้าไหมและทองคำอย่างดีจากตุรกี" ปิดพระพักตร์และพระวรกายเกือบทั้งหมด แลเห็นเพียงพระหัตถ์เท่านั้น[8] การเยือนมอเอลีครั้งนี้ของชาวฝรั่งเศส ก็เพื่อเชื้อเชิญให้ตัดสินพระทัยเข้าเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส แต่สุลต่านหญิงทรงปฏิเสธ[2]

ปลายพระชนม์

ค.ศ. 1865 สุลต่านจุมเบสละราชสมบัติแก่โมฮาเมด บิน ไซดี ฮามาดี มากาดารา พระราชโอรส และเมื่อชาวฝรั่งเศสกลับมาเกาะมอเอลีอีกครั้งใน ค.ศ. 1871 พระองค์ขึ้นเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และขึ้นเป็นสุลต่านอีกครั้งจนกระทั่งสวรรคตใน ค.ศ. 1878[4]

ชีวิตส่วนพระองค์

จุมเบ ฟาตีมาเมื่อ ค.ศ. 1863

สุลต่านจุมเบประทับอยู่ในพระราชวังสีขาวขนาดสองห้องติดป้อมปราการ และเห็นทะเล มีทหารราชองครักษ์ประจำอยู่ 28 นาย[2] จุมเบอภิเษกสมรสกับไซอิด มูฮัมมัด บิน นัสเซอร์ มากาดารา พระญาติของสุลต่านแซนซิบาร์ใน ค.ศ. 1865 ทั้งสองมีพระราชโอรสด้วยกันสามพระองค์ ได้แก่

  1. โมฮาเมด บิน ไซดี ฮามาดี มากาดารา (ค.ศ. 1859−1874) เป็นสุลต่านแห่งมอเอลีใน ค.ศ. 1865–1874
  2. อับเดอร์เรมาเน บิน ไซดี ฮามาดี มากาดารา (ค.ศ. 1860−1885) เป็นสุลต่านแห่งมอเอลีใน ค.ศ. 1878–1885
  3. มะฮ์มูดู บิน โมฮาเมด มากาดารา (ค.ศ. 1863 − 18 ตุลาคม ค.ศ. 1898) เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ของสุลต่านหญิงซาลีมา มาชัมบา พระขนิษฐาต่างพระชนกใน ค.ศ. 1889–1897 มีพระโอรสพระองค์เดียว

และมีพระราชโอรส-ธิดาที่ประสูติกับเอมีล เฟลอรีโย เดอ ล็องล์ (Emile Fleuriot de Langle; ค.ศ. 1837–1881) สองพระองค์ ได้แก่

  1. บาโกโก (ไม่ทราบ–1901)
  2. ซาลีมา มาชัมบา (1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1874 – 7 สิงหาคม ค.ศ. 1964) เป็นสุลต่านแห่งมอเอลีใน ค.ศ. 1888–1909 เสกสมรสกับกามีย์ ปอล (Camille Paule) มีพระราชโอรส-ธิดาสามพระองค์

อ้างอิง

  1. "Five African queens you did not know existed - Page 3 of 6". Face2Face Africa (ภาษาอังกฤษ). 2018-09-01. สืบค้นเมื่อ 2019-12-04.
  2. 2.0 2.1 2.2 CHARNAY, DÉSIRÉ (1862). MADAGASCAR VOL D'OISEAU. p. 67.
  3. Campbell, Gwyn (2012-04-03). David Griffiths and the Missionary “History of Madagascar” (ภาษาอังกฤษ). BRILL. p. 112. ISBN 978-90-04-19518-9.
  4. 4.0 4.1 Sheldon, Kathleen (2005). "Djoumbe Fatima (1837–1878)". Historical Dictionary of Women in Sub-Saharan Africa. Lanham (Maryland): Scarecrow Press. p. 63. ISBN 978-0-8108-5331-7.
  5. Ottenheimer, Martin; Ottenheimer, Harriet (1994). Historical Dictionary of the Comoro Islands. Metuchen, NJ [u.a.]: Scarecrow Press. p. 61. ISBN 978-0-8108-2819-3.
  6. "La Reine de Mohely | The Museum of Fine Arts, Houston". www.mfah.org. สืบค้นเมื่อ 2019-12-04.
  7. "BnF - Trésors photographiques de la Société de géographie". expositions.bnf.fr. สืบค้นเมื่อ 2019-12-04.
  8. Campbell, Gwyn (2012-04-03). David Griffiths and the Missionary “History of Madagascar” (ภาษาอังกฤษ). BRILL. p. 729. ISBN 978-90-04-19518-9.

แหล่งข้อมูลอื่น