ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ทางรถไฟสายเวียงจันทน์–บ่อเต็น"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Sawasdeeee (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 28: บรรทัด 28:
|el = [[ระบบจ่ายไฟฟ้าเหนือหัว|จ่ายไฟเหนือหัว]]
|el = [[ระบบจ่ายไฟฟ้าเหนือหัว|จ่ายไฟเหนือหัว]]
|speed = {{convert|160|km/h|mph|abbr=on}} โดยสาร<br>{{convert|120|km/h|mph|abbr=on}} ขนส่งสินค้า
|speed = {{convert|160|km/h|mph|abbr=on}} โดยสาร<br>{{convert|120|km/h|mph|abbr=on}} ขนส่งสินค้า
| gauge = {{RailGauge|1435mm|allk=on}}
| gauge = 1.435 เมตร
|elevation =
|elevation =
|map =
|map =

รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:09, 30 เมษายน 2563

ทางรถไฟสายเวียงจันทน์-บ่อเต็น
Vientiane–Boten railway
บริเวณเส้นทาง
ข้อมูลทั่วไป
สถานะกำลังก่อสร้าง
ที่ตั้งประเทศลาว
ปลายทาง
จำนวนสถานี21
การดำเนินงาน
รูปแบบรางคู่
ขบวนรถCR200J จำนวน 2 ขบวน [1]
ประวัติ
เปิดเมื่อธันวาคม พ.ศ. 2564
ข้อมูลทางเทคนิค
ระยะทาง414 กิโลเมตร (257 ไมล์)* (est.)
จำนวนทางวิ่ง1 (ทางเดี่ยว)
รางกว้าง1.435 เมตร
ระบบจ่ายไฟจ่ายไฟเหนือหัว
ความเร็ว160 km/h (99 mph) โดยสาร
120 km/h (75 mph) ขนส่งสินค้า

ทางรถไฟสายเวียงจันทน์-บ่อเต็น หรือ ทางรถไฟสายจีน-ลาว เป็นทางรถไฟกำลังก่อสร้างขนาดรางสแตนดาร์ดเกจ 1.435 เมตร (4 ฟุต 8 1/2 นิ้ว) มีความยาว 414 กิโลเมตร เชื่อมต่อระหว่างด่านบ่อหาน เขตปกครองตนเองชนชาติไท สิบสองปันนา ประเทศจีน กับประเทศลาวที่บ่อเต็น ผ่านเมืองหลวงพระบางและสิ้นสุดที่เวียงจันทน์ โดยปลายทางทิศเหนือเชื่อมต่อกับทางรถไฟสายอฺวี้ซี-บ่อหาน ส่วนปลายทางทิศใต้เชื่อมกับทางรถไฟสายหนองคาย-ท่านาแล้ง โดยเป็นส่วนหนึ่งของทางรถไฟสายคุณหมิง-สิงคโปร์ เริ่มโครงการก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2559 คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2564

การกล่าวถึงทางรถไฟเชื่อมระหว่างประเทศลาวและจีนเกิดครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2544 โดยนักการเมืองลาวและจีนร่วมกันยืนยันแผนการสร้างในปี พ.ศ. 2552 แต่มีเหตุการณ์ทุจริตของกระทรวงการรถไฟของประเทศจีนเกิดขึ้น การเริ่มสร้างทางรถไฟสายนี้จึงเลื่อนออกไปจนถึงปี พ.ศ. 2559[2]

เส้นทาง

เป็นเส้นทางที่เป็นส่วนหนึ่งของทางรถไฟสายคุณหมิง-สิงคโปร์ โดยในเส้นทางรถไฟสายเวียงจันทน์-บ่อเต็น เชื่อมต่อมาจากทางรถไฟสายอฺวี้ซี-บ่อหาน หลังจากนั้นเข้าสู่ชายแดนด่านบ่อหานของ เขตปกครองตนเองชนชาติไท สิบสองปันนา ประเทศจีน และเชื่อมเข้ากับด่านบ่อเต็น ประเทศลาว ผ่านเมืองอุดมไซ เมืองหลวงพระบางและสิ้นสุดที่เวียงจันทน์[3] และเชื่อมกับทางรถไฟสายหนองคาย-ท่านาแล้ง ต่อไป

ลักษณะของเส้นทาง

ทางรถไฟสายเวียงจันทน์-บ่อเต็น มีลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่ยากต่อการเข้าถึง เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีประชากรน้อยและตั้งอยู่บริเวณกระดูกสันหลังอินโดจีนด้วยสภาพภูเขาหินปูนจำนวนมากและปริมาณน้ำฝนที่สูงในแต่ละปี เส้นทางทั้งหมดมีอุโมงค์ร้อยละ 47 และเป็นสะพานรถไฟร้อยละ 15 โดยคิดเป็นอุโมงค์จำนวน 75 แห่งและสะพานรถไฟจำนวน 167 แห่ง และยังมีอาณาบริเวณที่มีระเบิดแต่ยังไม่ระเบิดกระจัดกระจาย และถือว่าเป็นโครงการหนึ่งที่สร้างยากที่สุดในโลก[4][5] พรมแดนเชื่อมต่อกับประเทศจีนผ่านทางอุโมงค์ความยาว 9,680 เมตร อยู่ในประเทศลาว 7,170 เมตร และอยู่ในประเทศจีน 2,510 เมตร ทางรถไฟสายนี้มีสถานีทั้งหมด 32 สถานี[6] สถานีปลายทางคือสถานีรถไฟท่านาแล้ง

อ้างอิง

  1. "绿巨人"CJ200动车将跑上中老铁路 昆明直达老挝首都". สืบค้นเมื่อ 2020-04-16.
  2. "Land-locked Laos on track for controversial China rail link". 24 July 2017.
  3. "ความคืบหน้าล่าสุด รถไฟหัวกระสุนลาว-จีน". สืบค้นเมื่อ 2020-04-08.
  4. "ฮือฮา!ลาวสร้างรถไฟความเร็วสูงมูลค่า7,000ล้านดอลล่าห์ที่แรกของอาเซี่ยน". สืบค้นเมื่อ 2020-04-08.
  5. "อุโมงค์'ทางรถไฟลาว-จีน'เสร็จก่อน 43 วัน". สืบค้นเมื่อ 2020-04-08.
  6. "Everything You Need to Know About the Laos-China Railway". laotiantimes.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2017-02-20. สืบค้นเมื่อ 2018-12-20.