ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Supanut Arunoprayote (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{|{{Infobox Ship Begin}}
{|{{Infobox Ship Begin}}
{{Infobox Ship Image
{{Infobox Ship Image
|Ship image= [[ไฟล์:Anantanagaraj bow.jpg|300px]]
|Ship image= [[ไฟล์:Ananta Nakkharat Barge (I).jpg|300px]]
|Ship caption= โขนเรือเรือพระที่นั่งอนันตนาคราช
|Ship caption= เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช ในช่วงซ้อมพระราชพิธี[[กระบวนพยุหยาตราชลมารค]] วันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2562
}}
}}
{{Infobox Ship Career
{{Infobox Ship Career
บรรทัด 47: บรรทัด 47:
|Ship status=
|Ship status=
|Ship notes=
|Ship notes=
|Ship badge=
|Ship badge= [[ไฟล์:Anantanagaraj bow.jpg|200px]]
}}
}}
{{Infobox Ship Characteristics
{{Infobox Ship Characteristics

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:26, 9 ธันวาคม 2562

เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช ในช่วงซ้อมพระราชพิธีกระบวนพยุหยาตราชลมารค วันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2562
ประวัติ
ประเทศไทย
ชื่อlist error: <br /> list (help)
ไทย: พระที่นั่งอนันตนาคราช
โรมัน: Anantanakkharat
ตั้งชื่อตามพญาอนันตนาคราช
สัญลักษณ์
ลักษณะเฉพาะ
ประเภท: เรือพระที่นั่งกิ่ง
ขนาด (ระวางขับน้ำ): 15.26 ตัน
ความยาว: 42.95 เมตร
ความกว้าง: 2.95 เมตร
กินน้ำลึก: 0.31 เมตร
ความลึก: 0.76 เมตร
ลูกเรือ: 61
หมายเหตุ: ฝีพาย 54 คน
นายท้าย 2 คน
นายเรือ 2 คน
คนถือธง 1 คน
พลสัญญาณ 1 คน
คนเห่เรือ 1 คน

เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช เป็นเรือพระที่นั่งบัลลังก์ในกระบวนพยุหยาตราชลมารค สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ลำปัจจุบันมีการสร้างใหม่ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว สำเร็จเมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2457 ลำเรือภายนอกทาสีเขียว ท้องเรือภายในทาสีแดง ยาว 42.95 เมตร กว้าง 2.95 เมตร ลึก 0.76 เมตร กินน้ำลึก 0.31 เมตร ฝีพาย 54 คน นายท้าย 2 คน นายเรือ 2 คน[1] คนถือธงท้าย 1 คน พลสัญญาณ 1 คน คนเห่เรือ 1 คน

โขนเรือเป็น "พญาอนันตนาคราช" หรือนาค 7 เศียร โดยปกติจะใช้เป็นเรือพระที่นั่งรอง หรือเรือเชิญผ้าพระกฐิน หรือประดิษฐานบุษบกสำหรับพระพุทธรูปสำคัญ นับเป็นเรือพระที่นั่งที่มีความงดงามอีกลำหนึ่ง อนึ่ง เคยมีการพิมพ์รูปเรือพระที่นั่งอนันตนาคราชด้านหลังธนบัตร 20 บาท[2] โดยจัดพิมพ์และใช้ตั้งแต่ พ.ศ. 2514 ปัจจุบันเลิกพิมพ์แล้ว[3]

เรือพระที่นั่งอนันตนาคราชในกาพย์เห่เรือ

๏ เรืออนันตนาคราช
กลาดหัวเสียดตัวเหยียดยาว
ปากอ้าเขี้ยวตาพราว
ราวนาคราชอาสน์นารายณ์
  • กาพย์เห่เรือ นายฉันท์ ขำวิไล ประพันธ์ขึ้น ในวาระฉลอง 25 พุทธศตวรรษ มีดังนี้
๏ อนันตนาคราช
ธรรมาสน์อันอำไพ
เลิศแล้วแลวิไล
ช่างสดใสในสาคร
  • กาพย์เห่เรือ นายหรีด เรืองฤทธิ์ ประพันธ์ขึ้น ในวาระฉลอง 25 พุทธศตวรรษ มีดังนี้
๏ อนันตนาคราช
อาสน์พระธรรมเอี่ยมอำไพ
อเนกชาติภุชงค์ชัย
อาสน์พระสงฆ์ทรงสิกขา
  • กาพย์เห่เรือประพันธ์โดย นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554
๏อนันตนาคราช
เจ็ดเศียรสาดสายสินธุ์ถกล
เล่นน้ำฉ่ำชื่นชล
ยลหงอนปากอย่างนาคเป็น


เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช ทอดบัลลังก์บุษบก

อ้างอิง

  1. ประวัติเรือพระที่นั่ง สำนักงานเลขานุการกองทัพเรือ และกองสารสนเทศ กรมอิเล็กทรอนิกส์ทหารเรือ
  2. ภาพประธานด้านหลังธนบัตรชนิดราคา 20 บาท แบบ 11 มรดกไทยในธนบัตร สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
  3. ธนบัตรแบบ 11 ความเป็นมาและแบบธนบัตร ธนาคารแห่งประเทศไทย