ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หม่อมเจ้าปิยะภักดีนาถ สุประดิษฐ์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Kritsnp (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 12: บรรทัด 12:
| พระสวามี =
| พระสวามี =
| ราชวงศ์ = [[ราชวงศ์จักรี|จักรี]]
| ราชวงศ์ = [[ราชวงศ์จักรี|จักรี]]
|โอรส=หม่อมราชวงศ์ศิริวรรณ สุประดิษฐ์}}
}}


'''มหาอำมาตย์โท หม่อมเจ้าปิยะภักดีนาถ สุประดิษฐ์''' (15 มกราคม พ.ศ. 2400 - 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2471) เป็นพระโอรสใน[[พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นวิษณุนาถนิภาธร]] ประสูติแต่ หม่อมบาง สุประดิษฐ์ ณ อยุธยา และเป็นพระราชนัดดาใน[[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]
'''มหาอำมาตย์โท หม่อมเจ้าปิยะภักดีนาถ สุประดิษฐ์''' (15 มกราคม พ.ศ. 2400 - 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2471) เป็นพระโอรสใน[[พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นวิษณุนาถนิภาธร]] ประสูติแต่ หม่อมบาง สุประดิษฐ์ ณ อยุธยา และเป็นพระราชนัดดาใน[[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:30, 2 กันยายน 2562

หม่อมเจ้าปิยะภักดีนาถ สุประดิษฐ์
ไฟล์:หม่อมเจ้าปิยะภักดีนาถ สุประดิษฐ์.jpg
ประสูติ15 มกราคม พ.ศ. 2401
สิ้นชีพิตักษัย21 พฤษภาคม พ.ศ. 2471 (70 ปี)
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นวิษณุนาถนิภาธร
พระมารดาหม่อมบาง สุประดิษฐ์ ณ อยุธยา

มหาอำมาตย์โท หม่อมเจ้าปิยะภักดีนาถ สุประดิษฐ์ (15 มกราคม พ.ศ. 2400 - 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2471) เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นวิษณุนาถนิภาธร ประสูติแต่ หม่อมบาง สุประดิษฐ์ ณ อยุธยา และเป็นพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

หม่อมเจ้าปิยะภักดีนาถ สุประดิษฐ์ ประสูติเมื่อ 15 มกราคม พ.ศ. 2400 (ปัจจุบันคือ พ.ศ. 2401) ต่อมาในรัชกาลที่ 6 ได้เข้ารับราชการในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ มียศเป็นมหาอำมาตย์โท ทรงเริ่มรับราชการตำแหน่ง เสมียนเอก กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ แล้วเป็นนายเวร ต่อมาเป็นผู้ช่วยตรวจบัญชีกลาง,เลขานุการเสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ,อธิบดีกรมสรรพภาษี,อธิบดีกรมเก็บ และตำแหน่งสุดท้ายในราชการคือ ปลัดทูลฉลองกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ในพ.ศ. 2460 กราบถวายบังคมออกรับพระราชทานบำนาญ

และท่านยังเป็นคนกลุ่มแรกในเมืองไทยที่เลี้ยงกล้วยไม้ ร่วมกับสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ,พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นทิวากรวงศ์ประวัติ และพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพร้อมพงศ์อธิราช[1]

นอกจากนี้หม่อมเจ้าปิยะภักดีนาถ ยังมีสมบัติที่มีค่าอีกอย่างหนึ่งที่ได้รับจากพระบิดาคือ พระไภษัชยคุรุ เป็นหนึ่งในพระพุทธเจ้าตามความเชื่อในศาสนาพุทธฝ่ายมหายาน นิกายวัชรยาน หรือพุทธตันตระ ซึ่งมีผู้นิยมนับถือกันมากที่สุดองค์หนึ่งในประเทศจีนและธิเบต องค์พระหล่อด้วยสำริด สร้างขึ้นในศิลปะลพบุรี (ศิลปะแบบเขมรในประเทศไทย) เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 17 – 18 ทำเป็นพระพุทธรูปนาคปรกทรงเครื่อง สวมศิราภรณ์ทรงเทริด ขนาดหน้าตักกว้าง 26 เซนติเมตร สูง 62 เซนติเมตร ต่อมาพระองค์ได้ขายให้กรมศิลปากร ปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ที่ ห้องลพบุรี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร

หม่อมเจ้าปิยะภักดีนาถ สุประดิษฐ์ สิ้นชีพิตักษัยเมื่อ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2471 พระชันษา 70 ปี พระราชทานเพลิงศพ ณ วัดเบญจมบพิตร วันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2473[2] [3]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. กล้วยไม้ จากเว็บไซต์ oknation.net สืบค้นเมื่อ 25-03-57
  2. ศุภวัฒย์ เกษมศรี, พลตรี หม่อมราชวงศ์, และรัชนี ทรัพย์วิจิตร. พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2549. 360 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-221-818-8
  3. 688.PDF
  4. พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์

http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2471/D/688.PDF