ผลต่างระหว่างรุ่นของ "บิมสเทค"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
→‎วัตถุประสงค์: ความความ???*
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Uathanet (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 52: บรรทัด 52:
== ศูนย์บิมสเทค BIMSTEC Center ==
== ศูนย์บิมสเทค BIMSTEC Center ==


ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ BIMSTEC ครั้งที่ 6 ได้เห็นชอบให้จัดตั้งศูนย์สนับสนุนทางวิชาการ BIMSTEC (BIMSTEC Technical Support Facility: BTSF) หรือ BIMSTEC Center เป็นเวลา 2 ปี เพื่อเป็นกลไกประสานงานกลางในการดำเนินกิจกรรมความร่วมมือในภาพรวมของ BIMSTEC รวมถึง กิจกรรมของกลุ่มทำงาน BIMSTEC (BIMSTEC Working Group: BWG) และสภาหอการค้า BIMSTEC (BIMSTEC Chamber of Commerce) โดยไทยได้ให้การสนับสนุนจัดตั้งศูนย์ดังกล่าวเป็นโครงการนำร่อง และจะมีการประเมินผลการดำเนินการและพิจารณารูปแบบการจัดตั้งสำนักเลขาธิการแบบถาวรต่อไป ศูนย์บิมสเทคตั้งอยู่ที่สถาบันยุทธศาสตร์การค้า อาคาร 20 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ซึ่งได้มีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2547 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศไทย
ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ BIMSTEC ครั้งที่ 6 ได้เห็นชอบให้จัดตั้งศูนย์สนับสนุนทางวิชาการ BIMSTEC (BIMSTEC Technical Support Facility: BTSF) หรือ BIMSTEC Center เป็นเวลา 2 ปี เพื่อเป็นกลไกประสานงานกลางในการดำเนินกิจกรรมความร่วมมือในภาพรวมของ BIMSTEC รวมถึง กิจกรรมของกลุ่มทำงาน BIMSTEC (BIMSTEC Working Group: BWG) และสภาหอการค้า BIMSTEC (BIMSTEC Chamber of Commerce) โดยไทยได้ให้การสนับสนุนจัดตั้งศูนย์ดังกล่าวเป็นโครงการนำร่อง และจะมีการประเมินผลการดำเนินการและพิจารณารูปแบบการจัดตั้งสำนักเลขาธิการแบบถาวรต่อไป ศูนย์บิมสเทคตั้งอยู่ที่สถาบันยุทธศาสตร์การค้า อาคาร 20 [[มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย]] ซึ่งได้มีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2547 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศไทย


ศูนย์บิมสเทค
ศูนย์บิมสเทค

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:08, 14 กุมภาพันธ์ 2562

ประเทศในโครงการบิมสเทค

ความริเริ่มแห่งอ่าวเบงกอลสำหรับความร่วมมือหลากหลายสาขาทางวิชาการและเศรษฐกิจ (อังกฤษ: Bay of Bengal Initiative Multi-Sectoral Technical and Economic Cooperation)

ประวัติ

ความร่วมมือภายใต้กรอบ BIMSTEC ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2540 ภายใต้การริเริ่มและผลักดันของไทยโดยใช้ชื่อว่า Bangladesh-India-Sri Lanka-Thailand Economic Cooperation หรือ BIST-EC ซึ่งในช่วงเริ่มต้นนี้มีสมาชิกเพียง 4 ประเทศ คือ บังคลาเทศ ศรีลังกา อินเดีย และไทย สำหรับ ประเทศพม่าได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกในกรอบความร่วมมือนี้อย่างเป็นทางการในวันที่ 22 ธันวาคม 2540 และเปลี่ยนชื่อกรอบความร่วมมือเป็น Bangladesh-India-Myanmar-Sri Lanka-Thailand Economic Cooperation หรือ BIMST-EC ต่อมาเมื่อเดือนธันวาคม 2546 ประเทศเนปาลและภูฎานได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกกรอบความร่วมมือนี้ ทำให้ในปัจจุบัน ความร่วมมือภายใต้กรอบ BIMSTEC มีสมาชิกรวม 7 ประเทศ คือ บังคลาเทศ ศรีลังกา อินเดีย ไทย พม่า เนปาล และภูฏาน ซึ่งภายหลังจากการประชุมระดับผู้นำกลุ่มประเทศ BIMSTEC หรือ BIMSTEC Summit ครั้งที่ 1 ได้มีมติเปลี่ยนแปลงชื่อกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจนี้ใหม่เป็น Bay of Bengal Initiative for Multi-Sectoral Technical and Economic Cooperation หรือ BIMSTEC ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายและสมาชิกของกลุ่มมากขึ้น

ทั้งนี้ ในการประชุมรัฐมนตรีครั้งที่ 8 ที่ประชุมมีมติประกาศให้วันที่ 6 มิถุนายนของทุกปีเป็นวัน BIMSTEC โดยส่งเสริมให้สมาชิกจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ BIMSTEC ในช่วงเวลาดังกล่าวตามที่เห็นเหมาะสม

วัตถุประสงค์

ความร่วมมือภายใต้กรอบ BIMSTEC มีจุดเด่น คือ เป็นเวทีเชื่อมประสานนโยบาย Look East ของกลุ่มประเทศเอเชียใต้ กับนโยบาย Look West ของไทย และเป็นกลไกหนึ่งที่ส่งเสริมโอกาสด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวระหว่างไทยกับภูมิภาคเอเชียใต้ โดยมีวัตถุประสงค์หลัก คือ การสร้างความเจริญทางเศรษฐกิจและสังคมในภูมิภาคที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเท่าเทียมกัน และส่งเสริมผลประโยชน์ร่วมกันทางด้านเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี และความช่วยเหลือระหว่างประเทศสมาชิก ในรูปของการฝึกอบรม รวมถึงการค้นคว้าวิจัย และการกระชับความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อใช้ประโยชน์จากภาคกสิกรรมและอุตสาหกรรม การขยายการค้าและการลงทุน ตลอดจนปรับปรุงการสื่อสารและการคมนาคม เพื่อยกระดับความเป็นอยู่ของประชากรในภูมิภาค และส่งเสริมความร่วมมือที่ใกล้ชิดกับองค์การระหว่างประเทศ

สาขาความร่วมมือของ BIMSTEC

ประเทศสมาชิก BIMSTEC ได้ตกลงทำความร่วมมือใน 14 สาขาหลัก ได้แก่

  1. สาขาการค้าและการลงทุน (บังกลาเทศเป็นประเทศนำ)
  2. สาขาการคมนาคมและการสื่อสาร (อินเดียเป็นประเทศนำ)
  3. สาขาพลังงาน (พม่าเป็นประเทศนำ)
  4. สาขาการท่องเที่ยว (อินเดียเป็นประเทศนำ)
  5. สาขาเทคโนโลยี (ศรีลังกาเป็นประเทศนำ)
  6. สาขาประมง (ไทยเป็นประเทศนำ)
  7. สาขาเกษตร (พม่าเป็นประเทศนำ)
  8. สาขาสาธารณสุข (ไทยเป็นประเทศนำ)
  9. สาขาการลดความยากจน (เนปาลเป็นประเทศนำ)
  10. สาขาการต่อต้านการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติ (อินเดียเป็นประเทศนำ)
  11. สาขาการจัดการสิ่งแวดล้อมและภัยพิบัติ (อินเดียเป็นประเทศนำ)
  12. สาขาวัฒนธรรม (ภูฏานเป็นประเทศนำ)
  13. สาขาปฏิสัมพันธ์ในระดับประชาชน (ไทยเป็นประเทศนำ)
  14. สาขาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (บังกลาเทศเป็นประเทศนำ)

โดยในความร่วมมือในแต่ละสาขาได้แบ่งการดำเนินการออกเป็น 3 ระดับ คือ

  • ความร่วมมือสาขาหลัก (Sector) ซึ่งมีประเทศนำ (Lead Country) ในแต่ละสาขาเป็นผู้รับผิดชอบ
  • ความร่วมมือสาขาย่อย (Sub-Sector) ซึ่งมีประเทศประธาน (Chair Country) เป็นผู้รับผิดชอบ
  • โครงการ (Project) ซึ่งมีประเทศผู้ประสานงานโครงการ (Coordinating Country) เป็นผู้รับผิดชอบ

กลไกการทำงานของ BIMSTEC

โครงสร้างของกลไกการทำงานของ BIMSTEC สามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ กลไกการทำงานของภาครัฐและภาคเอกชน โดยกลไกการทำงานของภาครัฐจะแบ่งการดำเนินการเป็น 5 ระดับได้แก่

  1. การประชุมระดับผู้นำ (BIMSTEC Summit) เป็นกลไกสำคัญที่จะส่งเสริมให้กรอบความร่วมมือมีความก้าวหน้าอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งเป็นการสร้างเจตนารมณ์ทางการเมืองและเป็นการสนับสนุนตามกระบวนการ Top-down เพื่อผลักดันกรอบความร่วมมือ BIMSTEC ในระดับนโยบายของประเทศ โดยการประชุมระดับผู้นำครั้งแรกเกิดขึ้นที่ประเทศไทย เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2547 ซึ่งการประชุมครั้งที่สองนั้น จะมีขึ้นในวันที่ 12-13 พฤศจิกายน 2551 ที่ประเทศอินเดีย
  2. การประชุมระดับรัฐมนตรี (Ministerial Meeting) โดยที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจ/การค้า พิจารณากำกับดูแลความคืบหน้าของการดำเนินงานในสาขาการค้าและการลงทุน และนโยบายเขตการค้าเสรี ส่วนที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ เป็นกลไกด้านกำหนดนโยบายสูงสุดสำหรับการประชุมผู้นำ ทั้งนี้ ในอดีต การประชุมสูงสุดของ BIMSTEC อยู่ในระดับรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศเท่านั้น แต่ในการประชุม ครั้งที่ 5 ที่กรุงโคลัมโบ เมื่อเดือนธันวาคม 2545 ได้มีการยกระดับเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นครั้งแรก การประชุมระดับรัฐมาตรีครั้งถัดไปจะมีขึ้นในวันที่ 12 พฤศจิกายน 2551 ที่ประเทศอินเดีย
  3. การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโส แบ่งเป็น 2 ด้าน คือ ด้านการค้าและเศรษฐกิจ (Senior Trade / Economic Official Meeting: STEOM) และด้านต่างประเทศ (Senior Official Meeting: SOM)โดยมีระดับปลัดกระทรวงเศรษฐกิจ/การค้าและกระทรวงการต่างประเทศ เป็นหัวหน้าคณะผู้แทน ตามลำดับ ทำหน้าที่พิจารณากรอบการค้าเสรี การดำเนินงานสาขาการค้าและการลงทุน และ15 สาขาย่อย และรายงานต่อที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจ/การค้า ส่วนระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านต่างประเทศ ทำหน้าที่พิจารณาการดำเนินการของสาขาต่างๆ ที่เหลือและของคณะทำงาน และรายงานต่อที่ประชุมระดับรัฐมนตรี
  4. การประชุมคณะทำงาน ที่กรุงเทพฯ (Bangkok Working Group: BWG) เป็นการประชุมร่วมระหว่างอธิบดีกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ และเอกอัครราชทูตของประเทศสมาชิกประจำประเทศไทยประชุมทุกเดือน ที่กรุงเทพฯ เพื่อติดตามและผลักดันให้การดำเนินงานในสาขาความร่วมมือต่างๆ มีความก้าวหน้า นอกจากนี้ ยังมีการพิจารณาในเรื่องแนวทางและนโยบายของความร่วมมือก่อนเสนอต่อที่ประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส
  5. การประชุมรายสาขาและสาขาย่อย ประเทศนำ (Lead Country) ของความร่วมมือทั้ง 6 สาขาหลักและ 15 สาขาย่อย จะเป็นเจ้าภาพจัดให้มีการประชุมผู้เชี่ยวชาญสาขาปีละ 1 ครั้ง และรายงานผลการประชุมให้คณะทำงานที่กรุงเทพฯทราบผ่านทางสถานเอกอัครราชทูตของประเทศนำนั้นๆประจำประเทศไทย เพื่อนำเสนอต่อที่ประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสพิจารณาต่อไป

ในส่วนกลไกการทำงานของภาคเอกชนนั้น จะมีการจัดการประชุม BUSINESS FORUM ปีละ 1 ครั้ง ซึ่งจะหมุนเวียนการเป็นเจ้าภาพ และนำเสนอผลการประชุมดังกล่าวต่อที่ประชุม ECONOMIC FORUM ซึ่งเป็นการประชุมร่วมระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน นอกจากนี้ภาคเอกชนยังจะต้องมีการจัดการประชุม BIMSTEC Chamber of Commerce & Industry ปีละ 1 ครั้งเช่นกัน

ศูนย์บิมสเทค BIMSTEC Center

ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ BIMSTEC ครั้งที่ 6 ได้เห็นชอบให้จัดตั้งศูนย์สนับสนุนทางวิชาการ BIMSTEC (BIMSTEC Technical Support Facility: BTSF) หรือ BIMSTEC Center เป็นเวลา 2 ปี เพื่อเป็นกลไกประสานงานกลางในการดำเนินกิจกรรมความร่วมมือในภาพรวมของ BIMSTEC รวมถึง กิจกรรมของกลุ่มทำงาน BIMSTEC (BIMSTEC Working Group: BWG) และสภาหอการค้า BIMSTEC (BIMSTEC Chamber of Commerce) โดยไทยได้ให้การสนับสนุนจัดตั้งศูนย์ดังกล่าวเป็นโครงการนำร่อง และจะมีการประเมินผลการดำเนินการและพิจารณารูปแบบการจัดตั้งสำนักเลขาธิการแบบถาวรต่อไป ศูนย์บิมสเทคตั้งอยู่ที่สถาบันยุทธศาสตร์การค้า อาคาร 20 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ซึ่งได้มีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2547 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศไทย

ศูนย์บิมสเทค

สถาบันยุทธศาสตร์การค้า

แหล่งข้อมูลอื่น