ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปูเขียว"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 17: บรรทัด 17:
}}
}}


'''ปูทะเล''' ([[ภาษาอังกฤษ|อังกฤษ]]: Serrated mud crab, Mangrove crab, Black crab, Giant mud crab; [[ชื่อวิทยาศาสตร์]]: ''Scylla serrata'') เป็น[[ปู]][[สปีชีส์|ชนิด]]หนึ่งที่อาศัยอยู่ใน[[ทะเล]] มีกระดองกลมรีเป็นรูปไข่ สีดำปนแดงหรือสีน้ำตาลเข้ม เป็นสัตว์เศรษฐกิจที่นิยมนำมาปรุงสดเป็นอาหาร
'''ปูทะเล''' ([[ภาษาอังกฤษ|อังกฤษ]]: Serrated mud crabs, Mangrove crabs, Black crabs, Giant mud crabs; [[ชื่อวิทยาศาสตร์]]: ''Scylla serrata'') เป็น[[ปู]][[สปีชีส์|ชนิด]]หนึ่งที่อาศัยอยู่ใน[[ทะเล]] มีกระดองกลมรีเป็นรูปไข่ สีดำปนแดงหรือสีน้ำตาลเข้ม เป็นสัตว์เศรษฐกิจที่นิยมนำมาปรุงสดเป็นอาหาร


== ลักษณะ ==
== ลักษณะ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:40, 31 มกราคม 2560

ปูเขียว
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Arthropoda
ไฟลัมย่อย: Crustacea
ชั้น: Malacostraca
อันดับ: Decapoda
อันดับฐาน: Brachyura
วงศ์: Portunidae
สกุล: Scylla
สปีชีส์: S.  serrata
ชื่อทวินาม
Scylla serrata
(Forsskål, 1775)

ปูทะเล (อังกฤษ: Serrated mud crabs, Mangrove crabs, Black crabs, Giant mud crabs; ชื่อวิทยาศาสตร์: Scylla serrata) เป็นปูชนิดหนึ่งที่อาศัยอยู่ในทะเล มีกระดองกลมรีเป็นรูปไข่ สีดำปนแดงหรือสีน้ำตาลเข้ม เป็นสัตว์เศรษฐกิจที่นิยมนำมาปรุงสดเป็นอาหาร

ลักษณะ

มีลักษณะกระดองกลมรีเป็นรูปไข่ สีดำปนแดงหรือสีน้ำตาลเข้ม ขอบระหว่างนัยน์ตามีหนาม 4 อัน ส่วนด้านข้างนัยน์ตาแต่ละข้างมีหนามข้างละ 8-9 อัน ก้ามจะมีหนามแหลม ส่วนขาอื่น ๆ ไม่มีหนาม ตัวผู้จะมีก้ามขนาดใหญ่แข็งแรงกว่าตัวเมียอย่างเห็นได้ชัด เจริญเติบโตด้วยวิธีการลอกคราบ โดยตรงขอบหลังของกระดองจะเผยออกให้เห็นกระดองใหม่ยังเป็นเนื้อเยื่อบาง ๆ ซึ่งเรียกว่า ปูสองกระดอง ถ้าหากเป็นตัวเมียที่มีความสมบูรณ์เพศจะมีไข่อยู่ในกระดอง ซึ่งพบมากในเดือนพฤศจิกายน ปลายสุดของขาคู่ที่ 2-4 มีลักษณะแหลมเรียกว่า "ขาเดิน" ทำหน้าที่ในการเดินเคลื่อนที่ ส่วนขาคู่ที่ 5 เป็นคู่สุดท้ายเรียกว่า "ขาว่ายน้ำ"ตอนปลายสุดของขาคู่นี้มีลักษณะแบนคล้ายใบพาย ใช้สำหรับว่ายน้ำ

ปูทะเลมีชีวิตในตลาดสดที่ออสเตรเลีย

ปูที่เกิดใหม่ จะใช้เวลาลอกคราบจนกระทั่งกระดองแข็งแรงแล้วออกมาหากินได้ ใช้เวลาประมาณ 7 วัน การเจริญเติบโตจนถึงวัยเจริญพันธุ์ใช้เวลาประมาณ 1.5 ปี ตัวผู้ขนาดโตเต็มที่อาจหนักได้ถึง 3.5 กิโลกรัม ขนาดกระดองกว้างกว่า 24 เซนติเมตร

ปูทะเลในบางแหล่งจะมีสีสันที่แตกต่างกันออกไปมากมาย ทั้ง สีเขียวหม่น, สีฟ้า, สีขาวอ่อน ๆ หรือสีเหลือง ซึ่งปูเหล่านี้จะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันออกไปตามแต่ละท้องถิ่น เช่น ปูดำ, ปูทองโหลง, ปูทองหลาง, ปูขาว, ปูหน้าขาว, ปูโด๊ป เป็นต้น[1][2]

การขยายพันธุ์

ฤดูกาลวางไข่ผสมพันธุ์ของปูทะเลอยู่ในช่วงเดือนกันยายน-ธันวาคม แม่ปูจะมีไข่ในระหว่างเดือนกันยายน-ตุลาคม สามารถ วางไข่ได้ตลอดทั้งปี โดยจะวางไข่ชุกชุมในระหว่างเดือนสิงหาคม-ธันวาคม ไข่ของปูทะเลจะมีสีส้มแดง เมื่อไข่แก่ขึ้นจะเป็นสีน้ำตาลเกือบดำ ซึ่งจะถูกปล่อยออกมานอกกระดองบริเวณใต้จับปิ้ง[3]

การกระจายพันธุ์และความสำคัญต่อมนุษย์

พบกระจายพันธุ์อยู่ตามแถบชายฝั่งของแอฟริกา, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้จนถึงออสเตรเลีย โดยอาศัยอยู่ในโคลนตมตามป่าชายเลนหรือปากแม่น้ำที่น้ำท่วมถึง กินอาหารจำพวกสัตว์น้ำขนาดเล็ก ซากพืช ซากสัตว์ต่าง ๆ สำหรับในประเทศไทยพบได้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน

ปูทะเลนั้นมีความสำคัญต่อมนุษย์ในฐานะของสัตว์เศรษฐกิจที่นิยมนำมาปรุงสดเป็นอาหาร เช่น ปูผัดผงกะหรี่, ปูนึ่ง เป็นต้น โดยทางการ ได้แก่ กรมประมง สนับสนุนให้เกษตรกรเพาะเลี้ยง โดยมักจะเลี้ยงในกระชังใกล้กับทะเล

ปูทะเลเป็นที่นิยมรับประทานอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในเวลาที่กำลังลอกคราบเพราะเนื้อปูจะนิ่ม กระดองยังไม่แข็งเท่าไหร่ ซึ่งเรียกว่า "ปูนิ่ม"[4]

อ้างอิง

  1. ปูทะเล
  2. "ทะเลกระบี่ ระบนิเวศดี พบปูหน้าขาวยักษ์". ไอเอ็นเอ็นนิวส์. 26 September 2014. สืบค้นเมื่อ 27 September 2014.
  3. การเพาะเลี้ยงปูทะเล
  4. สารคดีเกษตร ปูนิ่ม