ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รำแพรวากาฬสินธุ์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Phonpalakorn (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
 
บรรทัด 19: บรรทัด 19:
# [[ฉาบ]]
# [[ฉาบ]]
# [[กลองยาว]]
# [[กลองยาว]]
# [[ปิ่ภูไท]]
# [[ปี่ภูไท]]
[[หมวดหมู่:การแสดงพื้นบ้านภาคอีสาน]]
[[หมวดหมู่:การแสดงพื้นบ้านภาคอีสาน]]

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 13:21, 20 กันยายน 2559

รำแพรวากาฬสินธุ์ เป็นการรำเพื่อให้เห็นถึงความงดงามของผ้าไหมแพรวา ซึ่งเป็นงานหัตถกรรมของชาวภูไทในจังหวัดกาฬสินธุ์ ท่ารำจะสื่อให้เห็นวิธีการทอผ้า ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับการฟ้อนสาวไหมของทางภาคเหนือซึ่งแสดงให้เห็นถึงกิริยาการทอผ้าไหมเช่นกัน และท่ารำนี้ยังสื่อให้เห็นความสวยงามของผ้าไหมแพรวา โดยการแต่งกายผู้แสดงจะแต่งกายด้วยการใช้ผ้าแพรวาสีต่างๆ พันอก

รำแพรวากาฬสินธุ์ได้ประดิษฐ์คิดค้นการแสดงโดย คณาจารย์ภาควิชานาฏศิลป์และดุริยางค์ โดยการควบคุมของ นายสิริชัย นักจำรูญ ผู้อำนวยการจากวิทยาลัยนาฏศิลป์กาฬสินธุ์ ในปี พ.ศ. 2534 เนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ มีพระชนมายุครบ 60 พรรษา

การแต่งกาย[แก้]

พันอกด้วยสไบไหมแพรวา พับขึ้นเป็นสายพาดไหล่ด้านขวา แล้วพับเป็นแขนตุ๊กตาที่ไหล่ซ้าย นุ่งผ้าซิ่นไหมมัดหมี่ ผมเกล้ามวยประดับมวยผมด้วยดอกไม้ หรือบางทีอาจเกล้าผมและใช้อุบะห้อยผม แบบปอฝ้ายสีขาวห้อยลงมาแทนดอกไม้ และสวมเครื่องประดับเงิน

เครื่องดนตรี[แก้]

  1. พิณ
  2. โปงลาง
  3. แคน
  4. โหวด
  5. ฉาบ
  6. กลองยาว
  7. ปี่ภูไท