ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัดยาง (บางจาก)"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 3: บรรทัด 3:


==ประวัติความเป็นมา==
==ประวัติความเป็นมา==
'''วัดยางบางจาก''' สร้างขึ้นในสมัย[[รัชกาลที่ 3]] เมื่อ [[พ.ศ. 2383]] โดยได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ [[พ.ศ. 2388]] โดยที่มาของชื่อวัด เนื่องจากที่หลังคาพระอุโบสถมักจะมี[[นกเกรียง]]มาเกาะอยู่เสมอ และในบริเวณมีการปลูก[[ต้นยาง]] รวมทั้งด้านทิศใต้ของวัดติด[[คลองบางจาก]] จึงได้ชื่อว่า"วัดยางบางจาก"
'''วัดยางบางจาก''' สร้างขึ้นในสมัย[[รัชกาลที่ 3]] เมื่อ [[พ.ศ. 2383]] โดยได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ [[พ.ศ. 2388]] โดยที่มาของชื่อวัด เนื่องจากที่หลังคาพระอุโบสถมักจะมี[[นกเกรียง]]มาเกาะอยู่เสมอ และในบริเวณวัดมีการปลูก[[ต้นยาง]] รวมทั้งด้านทิศใต้ของวัดติด[[คลองบางจาก]] จึงได้ชื่อว่า"วัดยางบางจาก"

==อาณาบริเวณวัด==
==อาณาบริเวณวัด==
[[ไฟล์:Khlong-Bang-Chak.jpg|175px|thumbnail|คลองบางจาก]]
[[ไฟล์:Khlong-Bang-Chak.jpg|175px|thumbnail|คลองบางจาก]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:46, 10 มีนาคม 2559

ไฟล์:Watyang-Temple.jpg
พระอุโบสถวัดยางบางจาก

วัดยางบางจาก เป็นวัดเก่าแก่แห่งหนึ่งในฝั่งธนบุรี ติดคลองบางจาก ปัจจุบันตั้งอยู่เลขที่ 128 ซอยเพชรเกษม 28 ถนนเพชรเกษม แขวงคูหาสวรรค์ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร สังกัดมหานิกาย

ประวัติความเป็นมา

วัดยางบางจาก สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2383 โดยได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. 2388 โดยที่มาของชื่อวัด เนื่องจากที่หลังคาพระอุโบสถมักจะมีนกเกรียงมาเกาะอยู่เสมอ และในบริเวณวัดมีการปลูกต้นยาง รวมทั้งด้านทิศใต้ของวัดติดคลองบางจาก จึงได้ชื่อว่า"วัดยางบางจาก"

อาณาบริเวณวัด

ไฟล์:Khlong-Bang-Chak.jpg
คลองบางจาก
  • ทิศเหนือ ติดกับซอยเพชรเกษม 28 แยก 21
  • ทิศตะวันออก ติดกับซอยเพชรเกษม 28
  • ทิศใต้ ติดกับคลองบางจาก
  • ทิศตะวันตก ติดกับที่ดินของเอกชน

สิ่งก่อสร้างและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในวัด

วิหารหลวงพ่อนพเก้า
ไฟล์:LuangPorNoppakao-WatYang.jpg
หลวงพ่อนพเก้า

อาคารเสนาสนะและปูชนียวัตถุของวัด พระอุโบสถเป็นแบบก่ออิฐถือปูน ไม่มีช่อฟ้าใบระกาประดับ เนื่องจากในสมัยรัชกาลที่ 3 ประเทศไทยมีการค้าขายทางเรือสำเภากับประเทศจีน วัดในสมัยนั้นจึงได้รับอิทธิพลทางสถาปัตยกรรมจากจีนมาด้วย ภายในพระอุโบสถมีพระพุทธรูปปางตรัสรู้ มีพุทธลักษณะงดงามมาก สร้างด้วยศิลาแลงก่ออิฐถือปูน นอกจากนี้ยังมีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์สมัยอยุธยาคือ หลวงพ่อนพเก้า สร้างด้วยศิลาแลงก่ออิฐถือปูนลงรักปิดทองปางสมาธิ ขนาดหน้าตักกว้าง 84 นิ้ว สูง 95 นิ้ว มีพุทธลักษณะงดงามมาก โดยเฉพาะที่มาของชื่อองค์หลวงพ่อคือ มีนิ้วเท้าจำนวน 9 นิ้ว กล่าวขานกันว่าท่านมีเมตตามหานิยม และให้โชคลาภแก่ชาวบ้านและผู้ที่มากราบไหว้เป็นประจำ

รายชื่อเจ้าอาวาส

(อยู่ระหว่างการสืบค้นข้อมูล)

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

https://www.facebook.com/Glutengear/albums/134207123283177/