ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สุมาลี จาติกวณิช"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 24: บรรทัด 24:


== เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ==
== เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ==
{{ท.จ.ว.}}

{{ป.ช.}}
* [[ไฟล์:Order_of_Chula_Chom_Klao_-_2nd_Class_upper_ (Thailand) _ribbon.png|80px]] [[เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า]] ชั้น[[ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ]] ฝ่ายใน (ท.จ.ว.)
{{ป.ม.}}
{{ป.ภ.|2546}}


== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:17, 8 ตุลาคม 2558

ท่านผู้หญิงสุมาลี จาติกวณิช (6 มิถุนายน พ.ศ. 2474 - ) ประธานกิตติมศักดิ์ มูลนิธิราชประชาสมาศัยในพระบรมราชูปถัมภ์และรองประธานกรรมการมูลนิธิสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก , อดีตประธานสภาสตรีแห่งชาติคนที่ 10

ประวัติ

ท่านผู้หญิงสุมาลี จาติกวณิช เกิดเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พุทธศักราช 2474 ท่านผู้หญิงสุมาลี (ยุกตะเสวี) จาติกวณิชสมรสกับศาสตราจารย์นายแพทย์กษาน จาติกวณิช อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดลมีบุตรสาวคือ คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา อดีตปลัดกระทรวงศึกษาธิการและเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ประวัติการศึกษา

สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาจากโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย และสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในแผนกวิทยาศาสตร์ เมื่อปีพุทธศักราช 2489 และด้วยความสนใจภาษาอังกฤษเป็นอย่างมาก ทำให้เป็นผู้ที่แตกฉานทั้งการฟัง-พูด-อ่านและเขียนภาษาอังกฤษมาตั้งแต่เยาว์วัย

การทำงาน

ท่านผู้หญิงสุมาลี จาติกวณิช ดำรงตำแหน่งที่สำคัญในองค์กรภาครัฐและเอกชน ทั้งภายในและต่างประเทศมากมาย อาทิเช่น ประธานคณะกรรมการบริหารมูลนิธิราชประชาสมาศัยในพระบรมราชูปถัมภ์ ประธานคณะกรรมการมูลนิธิอนุเคราะห์คนพิการ ประธานสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ กรรมการบริหารมูลนิธิสายใจไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ ฯลฯ เฉพาะอย่างยิ่งท่านผู้หญิงสุมาลี จาติกวนิช เป็นผู้ที่มีคุณูปการอย่างยิ่งต่อมหาวิทยาลัยมหิดลในการสนับสนุน ให้คำแนะนำและให้ความช่วยเหลือกิจกรรมต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน รวมทั้งการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งต่าง ๆ อาทิเช่น กรรมการบริหารศิริราชมูลนิธิ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสภามหาวิทยาลัยมหิดล รองประธานกรรมการมูลนิธิสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกฯ สำหรับเกียรติประวัติของท่านในระดับนานาชาติ ท่านผู้หญิงสุมาลี จาติกวนิช ได้รับเลือกเป็นเอกฉันท์จากสมาชิกสมาคมสตรีภาคพื้นแปซิฟิกและเอเชียอาคเนย์รวม 19 ประเทศ ให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานสมาคมระหว่างประเทศ ถึงสองสมัย ตั้งแต่พุทธศักราช 2530 ถึงพุทธศักราช 2537 ชื่อเสียงของท่านผู้หญิงสุมาลี จาติกวนิช เป็นที่ยอมรับนับถือไปทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ด้วยเหตุนี้เมื่อองค์การสหประชาชาติประกาศการประชุมระดับโลกว่าด้วยเรื่องสตรี ครั้งที่ 4 ณ กรุงปักกิ่ง เมื่อปีพุทธศักราช 2538 คณะกรรมการจัดเตรียมการประชุมฯ จึงได้เชิญให้เป็นผู้ประสานงานภาคเอกชนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งสามารถปฏิบัติภารกิจได้อย่างดีเยี่ยม จนกระทั่งได้รับการยกย่องในที่ประชุมฯ ในการเป็นแบบอย่างของการประสานงานที่มีประสิทธิภาพอย่างดียิ่ง นอกจากนี้ยังได้รับมอบหมายให้เป็นผู้แทนประเทศไทยประจำองค์การ ESCAP (Economics SocialCommission for Asia Pacific) อีกด้วย

เกียรติคุณ

การปฏิบัติหน้าที่ของท่านผู้หญิงสุมาลี จาติกวณิช ด้วยความวิริยะ อุตสาหะ เปี่ยมด้วยคุณธรรม ความรู้และความสามารถ อันยังประโยชน์อย่างยิ่งต่อสังคมส่วนรวมและประเทศชาติมาโดยตลอดนั้น ทำให้ได้รับรางวัลเกียรติยศมากมาย อาทิเช่น ในปีพุทธศักราช 2504 ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จตุตถจุลจอมเกล้าฝ่ายใน จึงมีคำนำหน้านามเป็น “คุณหญิง” ตั้งแต่อายุ 30 ปี และได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เป็นลำดับมาจนถึงพุทธศักราช 2533 ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษฝ่ายใน จึงได้คำนำหน้านามว่า “ท่านผู้หญิง” นับแต่นั้นมา รวมทั้งรางวัลนักสังคมสงเคราะห์ดีเด่น สาขาบริหารงานสังคม จากมูลนิธิศาสตราจารย์ปกรณ์ อังศุสิงห์ และกรมประชาสงเคราะห์ รางวัลโล่ทองคำประกาศเกียรติคุณมนุษยสัมพันธ์ยอดเยี่ยมจากมนุษยสัมพันธ์สมาคมแห่งประเทศไทย ฯลฯ แม้กระนั้นก็ยังสามารถปฏิบัติภารกิจของครอบครัวได้อย่างสมบูรณ์จนได้รับประกาศเกียรติคุณ “แม่ดีเด่นกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2550” จากกรุงเทพมหานคร

ปริญญากิตติมศักดิ์

  • ปริญญาสังคมศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ 2550

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง