ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เมดัน"

พิกัด: 3°35′N 98°40′E / 3.583°N 98.667°E / 3.583; 98.667
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
ลบลิงก์ที่ซ้ำซ้อน wikidata
K7L (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 159: บรรทัด 159:
{{คอมมอนส์-หมวดหมู่|เมดาน}}
{{คอมมอนส์-หมวดหมู่|เมดาน}}


*{{Wikitravel}}
*{{wikivoyage|Medan}}
* [http://www.pemkomedan.go.id Official Government website] {{id icon}}
* [http://www.pemkomedan.go.id Official Government website] {{id icon}}
* [http://www.kotamedan.com Medan Tourism] {{en icon}}
* [http://www.kotamedan.com Medan Tourism] {{en icon}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 07:10, 12 มีนาคม 2556

เมดาน

โกตา เมดาน
Medan skyline
Medan skyline
ตราอย่างเป็นทางการของเมดาน
ตรา
คำขวัญ: 
Bekerja sama dan sama- sama bekerja (working together and worked together)
Location of Medan in Indonesia
Location of Medan in Indonesia
เมดานตั้งอยู่ในประเทศอินโดนีเซีย
เมดาน
เมดาน
Location of Medan in Indonesia
พิกัด: 3°35′N 98°40′E / 3.583°N 98.667°E / 3.583; 98.667
ประเทศอินโดนีเซีย
จังหวัดสุมาตราเหนือ
ก่อตั้งขึ้น1 กรกฎาคม 1590
การปกครอง
 • MayorRahudman Harahap (elected by mayor election in 2010)
พื้นที่
 • ทั้งหมด265.10 ตร.กม. (102.36 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2010)
 • ทั้งหมด2,109,330 คน
 • ความหนาแน่น7,957 คน/ตร.กม. (20,610 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+7 (WIB)
รหัสพื้นที่+62 61
เว็บไซต์www.pemkomedan.go.id

เมดาน (อินโดนีเซีย: Kota Medan) เป็นเมืองหลวงของ จังหวัดสุมาตราเหนือ ในประเทศ อินโดนีเซีย ตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งด้านทิศเหนือ ของเกาะสุมาตรา เมดานเป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของประเทศอินโดนีเซีย รองจาก จาการ์ตา สุราบายา และ บันดง และยังเป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่ที่อยู่นอก เกาะชวาด้วย

ประวัติศาสตร์

Kesawan in the 1920s
Governor-General Dirk Fock visiting the Great Mosque, 1925

เมดาน เริ่มต้นเป็นหมู่บ้านที่เรียกว่า กัมปง เมดาน (หมู่บ้านเมดาน ). หมู่บ้านเมดาน ถูกก่อตั้งโดย Guru Patimpus ประมาณปี ค.ศ. 1590 พื้นที่ดั้งเดิมของเมดาน เป็นพื้นที่บริเวณที่ แม่น้ำดีลิ Deli River และ แม่น้ำบาบูรา Babura River มาบรรจบกัน พ่อค้าชาวอาหรับในช่วงต้นศตวรรษที่ 16 มีการบันทึกว่า เมดาน มีที่มาจาก เมดิน่า ซึ่งเป็นชื่อเมืองศักดิ์สิทธิ์ในภาคตะวันตกของซาอุดีอาระเบีย อย่างไรก็ตามมีแหล่งข้อมูลอื่น ที่ระบุว่าชื่อของเมดานที่จริงมาจาก คำในภาษาฮินดี ของอินเดียที่ว่า"Maidan"แปลว่า "พื้นดิน" หรือ "ที่ดิน" ชนพื่นเมื่องดั้งเดิมของเมดาน ย้ายถิ่นฐานมาจากคาบสมุทรมาลายู ประเทศมาเลเซียปัจจุบัน เมดานอยู่ภายใต้การปกครองของ สุลต่านแห่งอาเจะห์ มีการพัฒนาจนเจริญรุ่งเรื่องอย่างมาก และ ในรัชสมัยปีที่สองของสุลต่าน Deli (ระหว่าง 1669-1698) เมดานเกิดมีสงครามขึ้น และมีการสู้รบกับกองทหารม้าจากอาเจะห์ จนทำให้เมดานขาดการเหลียวแลจากอาเจะห์ ไม่มีการพัฒนาเท่าที่ควร จนถึงปีค.ศ. 1860 มีการเข้ามาของชาวดัตช์ มีการริเริ่มเพาะปลูกยาสูบ จนทำให้เมดานเป็นเมืองสำคัญทางด้านเศรษฐกิจในภูมิภาค ในปี 1918 เมดานได้กลายเป็นเมืองหลวงอย่างเป็นทางการของ จังหวัดสุมาตราเหนือ


ประชากร

ประชากรส่วนใหญ่ของเมดาน เป็นเชื้อสายมาเลย์ ประมาณร้อยละ 95 ที่เหลือเป็นอินเดีย อาหรับ จีน และอื่นๆ เนื่องด้วยเป็นเมืองใหญ่จึงมีความหนาแน่นของประชากรอย่างมาก

เขตพื้นที่ พื้นที่ (km²) ประชากร (สำรวจปี 2010) ความหนาแน่นของประชากร (/km²)
เมดาน (โกตา) 265.1 2,109,330 7,959
บินใจ (โกตา) 90.2 246,010 2,726
เขตบริหาร ดีลี่ เซอร์ดัง 2,384.62 1,789,243 750.3
รวม 2,739.92 4,144,583 1,512.8

เนื่องจากความเจริญของเมดาน และแรงดึงดูดในการประกอบอาชีพ จึงทำให้มีการอพยพของคนอินโดนีเซีย ทั้งจากเกาะชวา และ ในเกาะสุมาตราเองมายังเมดาน รวมถึงชาวจีน และ อินเดียด้วย จึงมีความหลากหลายของเชื้อชาติในเมดานอย่างมาก มีการพูดภาษาอย่างหลากหลาย แต่ภาษาที่มีการใช้อย่างแพร่หลายคือ ภาษาอินโดนีเซีย และภาษาอังกฤษ ภาษาจีนฮกเกี้ยนมีใช้ในกลุ่มคนจีน

องค์ประกอบของกลุ่มชาติพันธุ์ในเมดานของปี ค.ศ.1930, 1980, 2000
เชื้อชาติ ค.ศ. 1930 ค.ศ. 1980 ค.ศ. 2000
ชาวชวา 24,89% 29,41% 33,03%
ชาวบาตัก 2,93% 14,11% -- (see Note)
ชาวจีน 35,63% 12,8% 10,65%
ชาวเมดาน 6,12% 11,91% 9,36%
ชาวมีนังกาเบา 7,29% 10,93% 8,6%
ชาวมาเลย์ 7,06% 8,57% 6,59%
Karo 0,19% 3,99% 4,10%
ชาวอาเจะห์ -- 2,19% 2,78%
ชาวซุนดา 1,58% 1,90% --
อื่นๆ 14,31% 4,13% 3,95%
Source: 1930 and 1980: Usman Pelly, 1983; 2000: BPS Sumut[1]

ภูมิอากาศ

เมดาน มีคุณลักษณะของสภาพภูมิอากาศป่าฝนเขตร้อน ที่มีฤดูแล้ง อุณหภูมิเฉลี่ยในเมืองประมาณ 27 องศาเซลเซียส


สถานที่สำคัญ

Medan's Great Mosque

มีอาคารเก่าแก่จำนวนมากใน Medan ที่ยังคงรักษาสถาปัตยกรรมของชาวดัตช์เอาไว้ อาคารเหล่านี้รวมถึงศาลากลางจังหวัดเก่า ไปรษณีย์กลาง และอาคาร The Tirtanadi Water Tower ซึ่งเป็นสัญญาลักษณ์ของเมืองเมดานด้วย

การขนส่งและเดินทาง

ในเมืองเมดานยังคงนิยมการโดยสาร รถสามล้อที่เรียกว่า motorized becaks อยู่เนื่องด้วยสามารถพบเห็นอยู่ทั่วไป ราคาถูก และสามารถเจรจาต่อรองราคาได้ด้วย นอกจากนี้ยังมีการขนส่งประเภทอื่น เช่นรถแท็กซี่และมินิบัสที่เรียกว่า sudako มีทางรถไฟจากเมดานเชื่อมต่อไปยังเมืองต่างๆ ทั่วเกาะสุมาตรา และท่าเรือที่มีความสำคัญ เพื่อการขนส่งสินค้า สนามบินนานาชาติโพโลเนีย ตั้งอยู่ใจกลางเมืองเมดาน มีสายการบินทั้งในและต่างประเทศ สามารถเลือกโดยสารได้อย่างมากมาย สายการบินที่เดินทางไปเมดานมี สายการบิน Lion Air,สายการบิน Garuda Indonesia,สายการบิน Air Asia, สายการบิน Malaysia Airlines,สายการบิน Singapore Airlines,สายการบิน SilkAir,สายการบิน Firefly, สายการบิน Merpati,สายการบิน Batavia Air, สายการบิน Valuair

แกลลอรี่รูปภาพ

เมืองพี่เมืองน้อง

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

หนังสือพิมพ์ ท้องถิ่น
  • Harian Analisa – Medan & North Sumatera Newspaper (อินโดนีเซีย)
  • Harian Global – Medan & North Sumatera Newspaper (อินโดนีเซีย) ---> change name to JURNAL MEDAN
  • Harian Medan Bisnis – Medan Business Newspaper (อินโดนีเซีย)
  • Harian Waspada – Medan & North Sumatera Newspaper (อินโดนีเซีย)
  • Posmetro Medan – Medan, Pematang Siantar & North Sumatera Newspaper (อินโดนีเซีย)