ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แกร็ด"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
MerlIwBot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: yi:גראד (ווינקל)
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
ลบลิงก์ที่ซ้ำซ้อน wikidata
บรรทัด 22: บรรทัด 22:
{{เรียงลำดับ|กแร็ด}}
{{เรียงลำดับ|กแร็ด}}
[[หมวดหมู่:หน่วยมุม]]
[[หมวดหมู่:หน่วยมุม]]

[[af:Desimale graad]]
[[ar:غراد]]
[[ast:Grau centesimal]]
[[bg:Град (ъгъл)]]
[[ca:Grau centesimal]]
[[cs:Grad]]
[[da:Nygrad]]
[[de:Gon]]
[[en:Gradian]]
[[eo:Graduso]]
[[es:Grado centesimal]]
[[fa:گرادیان (زاویه)]]
[[fi:Gooni]]
[[fr:Grade (angle)]]
[[he:גראד (זווית)]]
[[hu:Gradián]]
[[is:Nýgráða]]
[[it:Grado centesimale]]
[[ja:グラード (単位)]]
[[ko:그레이드]]
[[nl:Decimale graad]]
[[no:Gradian]]
[[pl:Grad (kąt)]]
[[pt:Grado (ângulo)]]
[[ro:Grad centezimal]]
[[ru:Град, минута, секунда]]
[[sl:Grad (enota)]]
[[sr:Град (математика)]]
[[sv:Gon (vinkelenhet)]]
[[tr:Grad]]
[[uk:Град (міра кута)]]
[[yi:גראד (ווינקל)]]
[[zh:百分度]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:57, 10 มีนาคม 2556

แกร็ด (อังกฤษ: grad) คือหน่วยวัดมุมชนิดหนึ่งบนระนาบ เทียบเท่ากับ 1/400 ของรูปวงกลม ซึ่งแบ่งมุมฉากออกเป็น 100 ส่วน หรือกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า มุมรอบรูปวงกลมเท่ากับ 400 แกร็ด ชื่ออื่นของแกร็ดได้แก่ ก็อน (gon) เกรด (grade) และแกรเดียน (gradian) ซึ่งไม่ควรสับสนกับเกรดของความชัน (grade of a slope) เกรเดียนต์ (gradient) และเรเดียน (radian) มุมหนึ่งแกร็ดจะมีขนาดเท่ากับ 9/10 องศา หรือ π/200 เรเดียน

หน่วยมุมนี้เริ่มมีการใช้ในประเทศฝรั่งเศสในชื่อ เกรด โดยแบ่งส่วนลงตัวตามระบบเมตริก (100) แต่เนื่องจากความสับสนกับหน่วย เกรด (grad(e)) ที่มีอยู่แล้วทางตอนเหนือของยุโรป จึงได้เปลี่ยนไปเป็น ก็อน ในประเทศเยอรมนีเรียกหน่วยมุมนี้ว่า นิวแกร็ด (Neugrad) แปลว่า องศาใหม่

ข้อดีของหน่วยแกร็ดคือทำให้ง่ายต่อการคำนวณการบวกและการลบในมุมฉากได้ในใจ ตัวอย่างเช่น บุคคลหนึ่งเดินทางไปทางทิศ 117 แกร็ด (นับจากทิศเหนือไปตามเข็มนาฬิกา) ดังนั้นทิศทางที่อยู่ทางซ้ายของเขาคือมุม 17 แกร็ด ทางขวาคือ 217 แกร็ด และข้างหลังคือ 317 แกร็ด แต่ข้อเสียของมุมชนิดนี้อยู่ที่มุมทั่วไป 30° และ 60° เมื่อแปลงเป็นหน่วยแกร็ดจะกลายเป็นเศษส่วน ซึ่งได้ 33 1/3 แกร็ดและ 66 2/3 แกร็ดตามลำดับ หรือในกรณีเดียวกัน ในหนึ่งชั่วโมง โลกจะหมุนไป 15° ซึ่งเท่ากับ 16 2/3 แกร็ด

สัญลักษณ์มาตรฐานที่ใช้กับหน่วยแกร็ดทุกวันนี้ใช้ "gon" (ดูเพิ่มใน ISO 31-1) สัญลักษณ์อื่นที่มีใช้ในอดีตก็มีทั้ง "gr", "grd", "g" ซึ่งต่อมาก็เขียนในรูปแบบตัวยกให้คล้ายกับเครื่องหมายองศาเช่น 50g = 45° ในเครื่องคิดเลขวิทยาศาสตร์ปัจจุบัน มีทั้งองศา เรเดียน และแกร็ด ให้เลือกใช้

อ้างอิง

  • AJ Metric Handbook, 3rd edition 1969, Architectural Press, London.

แหล่งข้อมูลอื่น