ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ค่าปฏิกรรมสงคราม"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
ลบลิงก์ที่ซ้ำซ้อน wikidata
บรรทัด 35: บรรทัด 35:


[[หมวดหมู่:ผลที่เกิดจากสงคราม]]
[[หมวดหมู่:ผลที่เกิดจากสงคราม]]

[[bg:Репарация]]
[[cs:Válečné reparace]]
[[da:Krigsskadeerstatning]]
[[de:Reparationen]]
[[en:War reparations]]
[[eo:Reparacio]]
[[es:Reparaciones de guerra]]
[[et:Reparatsioon]]
[[fa:غرامت جنگ]]
[[fi:Sotakorvaus]]
[[fr:Indemnité de guerre]]
[[hr:Reparacije]]
[[hy:Ռազմատուգանք]]
[[id:Pampasan perang]]
[[it:Indennità di guerra]]
[[ja:戦争賠償]]
[[kk:Репарации]]
[[lv:Reparācijas]]
[[nl:Herstelbetaling]]
[[no:Krigserstatning]]
[[pl:Reparacje wojenne]]
[[ro:Despăgubiri de război]]
[[ru:Репарации]]
[[sh:Reparacije]]
[[sk:Reparácie (vojna)]]
[[sq:Reparacionet e luftës]]
[[sv:Krigsskadestånd]]
[[tr:Savaş tazminatı]]
[[uk:Репарації]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:58, 8 มีนาคม 2556

ค่าปฏิกรรมสงคราม (อังกฤษ: War reparations) หมายถึง ของมีค่าที่ต้องจ่ายเป็นค่าชดเชยเพื่อให้ครอบคลุมความเสียหายระหว่างสงคราม โดยทั่วไปแล้ว ค่าปฏิกรรมสงคราม หมายถึงเงินหรือสินค้าเปลี่ยนมือ มากกว่าการถ่ายโอนกรรมสิทธิ์ อย่างเช่น การผนวกดินแดน

การวิพากษ์วิจารณ์

ข้อวิพากษ์วิจารณ์หลักของการจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามในประวัติศาสตร์ประกอบด้วย:

  • เป็นการกระทำที่ใช้ลงโทษประชาชนของฝ่ายแพ้สงคราม มากกว่าจะเป็นการกระทำอย่างเท่าเทียมระห่วางคู่สงครามทั้งสองฝ่าย
  • ในหลายกรณี จากผลของการจ่ายค่าปฏิกรรมสงคราม รัฐบาลของฝ่ายที่แพ้สงครามมาก่อนมักจะเป็นผู้เริ่มสงครามในภายหลัง โดยที่ประชาชนของประเทศมีบทบาทน้อยมากต่อการตัดสินใจทำสงครามดังกล่าว รวมไปถึงโทษของค่าปฏิกรรมสงครามส่วนใหญ่เกิดขึ้นกับประชาชนผู้บริสุทธิ์
  • หลังจากสงครามยุติ ประชาชนของฝ่ายแพ้สงครามมักจะประสบกับความยากจนและความขัดสน โทษของค่าปฏิกรรมสงครามจะทำให้ประชาชนยากจนลงไปอีก ซึ่งจะเป็นปัญหาเรื้อรังและอาจเป็นชนวนในระยะยาวของผู้ชนะ

จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ กล่าวว่า ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อเศรษฐกิจโลกจะนำไปสู่ความหายนะ

และยังได้มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่า ค่าปฏิกรรมสงครามนั้นเป็นสาเหตุหลักของสงครามโลกครั้งที่สอง เนื่องจากการจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามของเยอรมนีตามผลของสนธิสัญญาแวร์ซาย ภายหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ก่อให้เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจอย่างหนักในเยอรมนี ทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้ออย่างรุนแรงในสาธารณรัฐไวมาร์ และนำไปสู่การก้าวขึ้นสู่อำนาจของพรรคนาซี

ประสบการณ์จากการกำหนดค่าปฏิกรรมสงครามภายหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งนำไปสู่การแก้ไขปัญหาภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งประเทศผู้ชนะสงครามเรียกเก็บเครื่องจักรและสังหาริมทรัพย์แทนที่จะเป็นเงิน

การจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามในปัจจุบัน

หลังจากสงครามอ่าวเปอร์เซีย อิรักได้ยอมรับมติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ 687 ซึ่งเป็นการประกาศจำนวนเงินที่อิรักจะต้องรับผิดชอบจากการรุกรานคูเวต คณะกรรมการจ่ายค่าชดเชยแห่งสหประชาชาติ (UNCC) ถูกจัดตั้งขึ้น และมีเงินทุนกว่า 350,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล องค์กรและเอกชน ซึ่งจำนวนเงินดังกล่าว 30% ได้มาจากมูลค่าของน้ำมันที่อิรักมอบให้ตามโครงการน้ำมันแลกอาหาร

อ้างอิง

  • John Wheeler-Bennett "The Wreck of Reparations, being the political background of the Lausanne Agreement, 1932", New York, H. Fertig, 1972.
  • Ilaria Bottigliero "Redress for Victims of Crimes under International Law", Martinus Nijhoff Publishers, The Hague (2004).

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น