ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การลงทุนแบบเน้นคุณค่า"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
MerlIwBot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต ลบ: nl:Value beleggen (missing)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{ต้องการอ้างอิง}}
{{ต้องการอ้างอิง}}
'''การลงทุนแบบเน้นคุณค่า''' หรือ '''การลงทุนตามมูลค่า''' ({{lang-en|value investing}}) เป็นแนวทาง[[การลงทุน]]ที่ริเริ่มและพัฒนาขึ้นโดย [[เบนจามิน เกรแฮม]] และต่อมาถูกนำมาใช้โดย[[วอเรน บัฟเฟต]] เป็นแนวทางการลงทุนที่เน้นลงทุนในกิจการที่ผู้ลงทุนมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง
'''การลงทุนแบบเน้นคุณค่า''' หรือ '''การลงทุนตามมูลค่า''' ({{lang-en|value investing}}) เป็นแนวทาง[[การลงทุน]]ที่ริเริ่มและพัฒนาขึ้นโดย [[เบนจามิน เกรแฮม]] และต่อมาถูกนำมาใช้โดย[[วอเรน บัฟเฟต]] เป็นแนวทางการลงทุนที่เน้นลงทุนในกิจการที่ผู้ลงทุนเชื่อว่ามีราคาหุ้นต่ำกว่ามูลค่าพื้นฐานโดยการวิเคราะห์มูลค่าทางบัญชีหรือสัดส่วนทางการเงินแบบต่างๆ เช่นมูลค่าหุ้นตามบัญชี (book value) สัดส่วนราคาหุ้นต่อกำไร (price-to-earning ratios) สัดส่วนราคาหุ้นต่อมูลค่าตามบัญชี (price-to-book ratios) หรือสัดส่วนเงินปันผล (dividend yields) อย่างไรก็ตาม คำว่า "มูลค่าพื้นฐาน" นี้ยังถูกตีความในแบบต่างๆและยังเป็นข้อถกเถียงกันอยู่ในวงวิชาการ


==หลักการลงทุนแบบเน้นคุณค่า==
==หลักการลงทุนแบบเน้นคุณค่า==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:17, 4 มีนาคม 2555

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า หรือ การลงทุนตามมูลค่า (อังกฤษ: value investing) เป็นแนวทางการลงทุนที่ริเริ่มและพัฒนาขึ้นโดย เบนจามิน เกรแฮม และต่อมาถูกนำมาใช้โดยวอเรน บัฟเฟต เป็นแนวทางการลงทุนที่เน้นลงทุนในกิจการที่ผู้ลงทุนเชื่อว่ามีราคาหุ้นต่ำกว่ามูลค่าพื้นฐานโดยการวิเคราะห์มูลค่าทางบัญชีหรือสัดส่วนทางการเงินแบบต่างๆ เช่นมูลค่าหุ้นตามบัญชี (book value) สัดส่วนราคาหุ้นต่อกำไร (price-to-earning ratios) สัดส่วนราคาหุ้นต่อมูลค่าตามบัญชี (price-to-book ratios) หรือสัดส่วนเงินปันผล (dividend yields) อย่างไรก็ตาม คำว่า "มูลค่าพื้นฐาน" นี้ยังถูกตีความในแบบต่างๆและยังเป็นข้อถกเถียงกันอยู่ในวงวิชาการ

หลักการลงทุนแบบเน้นคุณค่า

ตามหลักการลงทุนแบบเน้นคุณค่า นักลงทุนจะประเมินมูลค่าบริษัทและหุ้นของบริษัทด้วยปัจจัยพื้นฐาน เมื่อได้มูลค่าที่เหมาะสมแล้วจึงพิจารณาราคาในตลาดหลักทรัพย์ หากพบว่าราคาของหลักทรัพย์ทั้งหมดต่ำกว่า ก็จะเข้าซื้อหุ้น ทั้งนี้เพราะเชื่อว่าราคาในตลาดจะวิ่งไปหามูลค่าที่เหมาะสมในระยะยาว อันที่จริง หลักการลงทุนทุกรูปแบบยกเว้นแบบเทคนิคอล จะเลือกซื้อหุ้นเมื่อพบว่าราคาหลักทรัพย์ต่ำกว่ามูลค่าตามปัจจัยพื้นฐาน (หลักการทางเศรษฐศาสตร์ก็บอกเช่นกันว่า ให้ลงทุนในโครงการที่มี Abnormal Profit หรือ Economic Profit) ดังนั้น การเลือกหุ้นที่ราคาต่ำกว่าปัจจัยพื้นฐาน จึงมิไม่เป็นหลักการเฉพาะของการลงทุนแบบคุณค่าแต่อย่างใด ที่หลักการการลงทุนแบบคุณค่าแตกต่างกับวิธีการการลงทุนแบบอื่นๆก็คือ การลงทุนแบบคุณค่าเชื่อว่าอัตราส่วนทางบัญชี เช่น P/E และ P/BV ที่ต่ำ สามารถบ่งบอกว่าราคาหุ้นต่ำกว่ามูลค่าพื้นฐาน ในขณะที่การลงทุนแบบอื่น อาทิ แบบ Growth เชื่อว่าอัตราเติบโตเร็วบ่งบอกว่ามูลค่าพื้นฐานของหุ้นนั้นสูงกว่าราคาปัจจุบัน (ซึ่งก็แปลว่า ราคาหุ้นต่ำกว่ามูลค่าพื้นฐานเช่นกัน นั่นเอง) สาเหตุที่หุ้นที่ P/E และ P/BV ต่ำมักจะมีราคาต่ำกว่าปัจจัยพื้นฐาน งานวิจัยบางส่วนบ่งบอกว่าเกิดจากปัจจัยทางจิตวิทยา โดยนักลงทุนส่วนใหญ่ประเมินหุ้นที่มีผลการดำเนินงานช่วงหลังๆไม่ค่อยดี หรือว่าหุ้นที่มีอัตราการเติบโตต่ำ ต่ำกว่าที่ควรจะเป็น ผลตรงนี้สนับสนุนความเชื่อของ เบนจามิน เกรแฮม

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าการวิจัยพบว่าการลงทุนแบบเน้นคุณค่าจะให้ผลตอบแทนสูงกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดในระยะยาว ก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ในวงวิชาการว่า สาเหตุของกำไรเกิดจากอะไร ฝ่ายหนึ่งดังที่กล่าวไปแล้ว เชื่อว่าสาเหตุเกิดจากผลทางจิตวิทยา (Behavioural Finance) นำโดยศาสตราจารย์ ริชาร์ด ทาเลอร์ เดเนียล คาห์เนมาน (โนเบล 2004) ฯลฯ โดยการงานวิจัยทางจิตวิทยาสนับสนุนในขณะที่อีกฝ่ายเชื่อว่าสาเหตุเกิดจากการที่หุ้นที่มีอัตราส่วนทางบัญชีต่ำนั้นมีความเสี่ยงสูงกว่าหุ้นโดยทั่วไป ซึ่งค่ายนี้นำโดย ยูจีน ฟามา มาร์ค รูบินสไตน์ ฯลฯ โดยมีหลักฐานชี้ว่า หากมีการปรับ Asset Pricing Model โดยพิจารณาความเสี่ยงที่เกิดจากอัตราส่วนบัญชีเข้าไปด้วย การลงทุนแบบเน้นคุณค่านั้นไม่ได้ให้ผลตอบแทนสูงกว่าการลงทุนแบบทั่วไปแต่อย่างใด กำไรที่สูงกว่าเกิดขึ้นจากความเสี่ยงที่มากกว่าเท่านั้นเอง (ข้อมูลเพิ่มเติม: Fama and French (1996))

ปัจจุบันได้มีหนังสือที่ออกมาเกี่ยวกับแนวทางดังกล่าวหลายเล่ม ที่ยอมรับนับถือว่าเป็นคัมภีร์ของนักลงทุนก็เช่น Security Analysis และ The Intelligent Investor โดยเบนจามิน เกรแฮม

อย่างไรก็ตาม ด้วยวิวัฒนาการในการลงทุน จึงมีแนวคิดอื่นเช่นการลงทุนในหุ้นโตเร็ว และปัจจัยทางการบริหารจัดการ ฟิล ฟิชเชอร์เป็นเจ้าของแนวคิดดังกล่าว ท่านเป็นนักลงทุนอีกท่านในยุคนั้นที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก และได้แต่งหนังสือชื่อ Common Stock and Uncommon Profit ขึ้นมา ในหนังสือนี้จะสอนให้นักลงทุนพิจารณาปัจจัยทางคุณภาพมากกว่า ปัจจัยทางปริมาณซึ่งหลักการนี้ต่างจากหลักการของเกรแฮมที่สอนให้นักลงทุนศึกษาปัจจัยทางปริมาณ

ปัจจุบันมีแนวคิดและหลักการต่างๆ ประยุกต์และแตกแขนงออกไปจากหลักการพื้นฐาน แต่ทุกแนวคิดก็ยังต้องอิงกับปัจจัยทางปริมาณ และปัจจัยทางคุณภาพ ร่วมกันเพื่อประเมินมูลค่าหุ้นที่เหมาะสม

การประเมินมูลค่ากิจการ

การลงทุนแบบคุณค่านั้นมีหลายแนวทางอยู่ที่การตีความ วิธีประเมินมูลค่าตามแบบของการลงทุนแบบเน้นคุณค่าของ ตามหนังสือ Value Investing from Graham to Buffett and Beyond ของ Greenwald และคณะ ได้แสดงไว้ 3 วิธี

  1. วิธีต้นทุนทดแทน (Replacement Cost)คือการหาว่าหากต้องการสร้างกิจการนี้ขึ้นมาใหม่ จะต้องใช้เงินเท่าไหร่ วิธีนี้จะแก้ไขการใช้มูลค่าทางบัญชี ซึ่งไม่ได้รวมต้นทุนการสร้างกิจการไว้ทั้งหมด เช่นค่าลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร แบรนด์ ความนิยมหรือใบอนุญาตประกอบกิจการเฉพาะ
  2. ความสามารถในการทำกำไร (Earning Power Value)พิจารณามูลค่ากิจการจากความสามารถในการสร้างเงินสด และ/หรือกำไรจากผลประกอบการ
  3. การเติบโต (Growth) พิจารณาความเติบโตของผลกำไร

การใช้อัตราส่วนต่างๆเพื่อหามูลค่า

อัตราส่วนราคาต่อกำไร(P/E) หรือมูลค่าทางบัญชี(P/B) นำมาใช้ประเมินมูลค่าแบบคร่าวๆ ได้ เช่น

  1. P/E ของกิจการใดต่ำกว่า P/E เฉลี่ยของกิจการอื่นที่ทำธุรกิจเดียวกันและมีขนาดใกล้เคียงกัน ทั้งที่ไม่มีปัญหาอะไร ย่อมถือว่า เป็นหุ้นที่ถูกกว่า ตลาดอาจจะให้มูลค่าผิดไปในบางช่วงเวลา และราคาจะกลับมาที่ควรจะเป็นได้
  2. P/B ที่ต่ำกว่า 1 หมายถึงราคาตลาดของหุ้นต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชี โดยหลักการทางบัญชีแล้ว หากการบันทึกราคาครอบคลุมทั้งสินทรัพยที่มีและไม่มีตัวตนเป็นไปอย่างสมบูรณ์ P/B ควรจะเท่ากับ 1 ที่ P/B ต่ำกว่า 1 อาจจะเป็นไปได้จากหลายสาเหตุ อาทิ การบันทึกมูลค่าสินทรัพย์ไม่ได้ปรับราคาตามความเป็นจริง (เช่นที่ดิน เครื่องจักร มูลค่าแบรนด์ ลิขสิทธิ์ หรือมูลค่าโอกาสทางธุรกิจในอนาคต) หรือหากเป็นตามความเชื่อของการลงทุนแบบคุณค่าก็คือ นักลงทุนในตลาดประเมินมูลค่าหุ้นต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง หากเป็นกรณีนี้ นักลงทุนก็จะมีโอกาสทำกำไรหากราคาหุ้นกลับเข้ามาสู่มูลค่าที่เหมาะสม

อย่างไรก็ตามการใช้อัตราส่วนทั้ง P/E และ P/B ก็มีข้อจำกัดหลายอย่างเช่น

  1. มาตรฐานการบันทึกมูลค่าทางบัญชีของแต่ละบริษัทต่างกัน จึงไม่สามารถเทียบกันได้อย่างสมบูรณ์
  2. วิธีการทำบัญชีของแต่ละประเทศต่างกัน
  3. บอกความเสี่ยงของกิจการได้ไม่สมบูรณ์ อันที่จริง หุ้นที่ P/E และ P/B ต่ำนั้น จะมีค่าความเสี่ยงสูงกว่าโดยเฉลี่ย (ข้อมูลเพิ่มเติม ลองอ่าน Fama (1991) และ Fama (1998))
  4. มีความเข้าใจคลาดเคลื่อนว่า P/E ไม่บอกถึงความเติบโตของกิจการ อันที่จริง หุ้นที่มี P/E สูงก็เนื่องจากว่านักลงทุกคาดหมายการเติบโตที่สูงมากนั่นเอง

การลงทุนแบบเน้นคุณค่าในประเทศไทย

[ต้องการอ้างอิง]

ในประเทศไทย ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่ามีการลงทุนแบบเน้นคุณค่าตั้งแต่เมื่อใด หลักฐานการตื่นตัวในการลงทุนแบบเน้นคุณค่าในประเทศไทย เริ่มจากการล่มสลายของตลาดหุ้นในวิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 แต่ยังมีนักลงทุนกลุ่มหนึ่งที่สามารถเอาตัวรอดและทำกำไรในภาวะวิกฤติได้ ในหนังสือ "ตีแตก" ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร เชื่อว่าที่ท่านสามารถเอาตัวรอดได้ในเหตุการณ์นั้น[ต้องการอ้างอิง] ซึ่งหลักการนั้นก็คือหลักการของการลงทุนแบบเน้นคุณค่านั่นเอง การลงทุนแบบเน้นคุณค่านั้นเป็นที่นิยมในหมู่นักลงทุนทั่วไปเนื่องจากใช้วิธีการไม่ซับซ้อน ไม่ต้องอาศัยความรู้แคลคูลัสหรือสถิติซับซ้อนแบบที่ต้องใช้ในทฤษฎีการลงทุนสมัยใหม่

นักลงทุนไทยอีกท่านหนึ่งที่ถือว่าเป็นแนวเน้นคุณค่าก็คือ โกศล ไกรฤกษ์ ผู้ล่วงลับ ท่านเป็นอีกผู้หนึ่งซึ่งสามารถฟื้นตัวหลังจากวิกฤติได้[ต้องการอ้างอิง] แม้จะต้องสูญเสีย บงล.ตะวันออกฟายแนนซ์ ไปกับการสั่งปิดสถาบันการเงินก็ตาม

จุดอ่อนของการลงทุนแบบคุณค่า

การลงทุนแบบคุณค่านั้นไม่ได้รับประกันความสำเร็จในการลงทุนแต่อย่างใด ประการแรกคือ การหามูลค่าที่เหมาะสมเป็นไปได้ยากและขึ้นอยู่กับสมมติฐาน วิธีการการลงทุนแบบเน้นคุณค่านั้นค่อนข้างคลุมเครือและขาดหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ในแง่ของสถิติและคณิตศาสตร์ประกอบ ยิ่งไปกว่านั้น ถึงแม้ว่านักลงทุนจะมีวิธีที่ทำให้แน่ใจได้ว่ามูลค่ายุติธรรมนั้นสูงกว่าราคาตลาดจริง ก็ไม่ได้แปลว่าราคาตลาดจะกลับเข้าสู่ราคายุติธรรมในเวลาอันสั้นแต่อย่างใด นักลงทุนจำนวนมากต้องประสบกับการขาดทุนอย่างหนักเนื่องจากเชื่อมั่นว่าราคาหุ้นควรจะกลับเข้าสู่ราคายุติธรรมในไม่ช้า โดยละเลยวลีคลาสสิคของ จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ "The market can stay irrational longer than you can stay solvent" กรณีตัวอย่างที่น่าสนใจได้แก่ LTCM ที่แม้ว่าจะมีวิธีการทางคณิตศาสตร์ชั้นสูงที่ทำให้สามารถหาส่วนต่างของราคาได้แม่นยำอย่างเหลือเชื่อ ก็ยังต้องพบจุดจบในลักษณะนี้

บทความที่เกี่ยวข้อง

แหล่งข้อมูลอื่น