ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จุฬาราชมนตรี"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{รอการตรวจสอบ}}
{{รอการตรวจสอบ}}
[[ไฟล์:Aziz_Pitakkhumpol.jpg|thumb|200px|right|นาย[[อาศิส พิทักษ์คุมพล]] <br>[[จุฬาราชมนตรี]]คนปัจจุบัน]]
'''จุฬาราชมนตรี''' เป็นตำแหน่งฝ่าย[[มุสลิม]]ให้ข้อปรึกษาด้าน[[ศาสนาอิสลาม]]แก่รัฐบาลไทย โดยเฉพาะแก่กรมการศาสนา [[กระทรวงศึกษาธิการ]] มีประวัติมาแต่ครั้ง[[กรุงศรีอยุธยา]] ในทำเนียบศักดินาของ[[สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ]]ทำเนียบตำแหน่ง[[ขุนนาง]] ซึ่งในชั้นหลังเรียกว่า "[[กรมท่าขวา]]" มี "พระจุลาราชมนตรี" เป็นหัวหน้าฝ่ายแขก คู่กับ "หลวงโชฎึกราชเศรษฐี" หัวหน้าฝ่ายจีน
'''จุฬาราชมนตรี''' เป็นตำแหน่งฝ่าย[[มุสลิม]]ให้ข้อปรึกษาด้าน[[ศาสนาอิสลาม]]แก่รัฐบาลไทย โดยเฉพาะแก่กรมการศาสนา [[กระทรวงศึกษาธิการ]] มีประวัติมาแต่ครั้ง[[กรุงศรีอยุธยา]] ในทำเนียบศักดินาของ[[สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ]]ทำเนียบตำแหน่ง[[ขุนนาง]] ซึ่งในชั้นหลังเรียกว่า "[[กรมท่าขวา]]" มี "พระจุลาราชมนตรี" เป็นหัวหน้าฝ่ายแขก คู่กับ "หลวงโชฎึกราชเศรษฐี" หัวหน้าฝ่ายจีน



รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:49, 22 สิงหาคม 2553

ไฟล์:Aziz Pitakkhumpol.jpg
นายอาศิส พิทักษ์คุมพล
จุฬาราชมนตรีคนปัจจุบัน

จุฬาราชมนตรี เป็นตำแหน่งฝ่ายมุสลิมให้ข้อปรึกษาด้านศาสนาอิสลามแก่รัฐบาลไทย โดยเฉพาะแก่กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ มีประวัติมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ในทำเนียบศักดินาของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทำเนียบตำแหน่งขุนนาง ซึ่งในชั้นหลังเรียกว่า "กรมท่าขวา" มี "พระจุลาราชมนตรี" เป็นหัวหน้าฝ่ายแขก คู่กับ "หลวงโชฎึกราชเศรษฐี" หัวหน้าฝ่ายจีน

จุฬาราชมนตรีในยุคประชาธิปไตย

หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง ตำแหน่งจุฬาราชมนตรีได้มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่เคยแต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์และเป็นคนในสายสกุลเฉกอะหมัดที่นับถือนิกายชีอะหฺมาตลอด เปลี่ยนมาเป็นการเลือกตั้งโดยตัวแทนคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดและผู้ที่ได้รับเลือกเป็นผู้นับถือนิกายสุหนี่ซึ่งเป็นชนส่วนใหญ่ของมุสลิมในประเทศไทย

เริ่มแรกในรัฐบาลของนายปรีดี พนมยงค์ ได้รื้อฟื้นตำแหน่งจุฬาราชมนตรีเมื่อ พ.ศ. 2488 โดยให้เป็นที่ปรึกษาราชการขององค์พระมหากษัตริย์ ในด้านกิจการศาสนาอิสลาม จนกระทั่ง พ.ศ. 2491 รัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้เปลี่ยนให้จุฬาราชมนตรีเป็นที่ปรึกษากรมการศาสนาในกระทรวงศึกษาธิการ หลังจากที่พระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลามประกาศใช้ ได้มีการระบุไว้ในกฎหมายนี้ว่า จุฬาราชมนตรีเป็นผู้นำกิจการศาสนาอิสลามในประเทศไทย มีหน้าที่ดังต่อไปนี้

  • ให้คำปรึกษา และความเห็นต่อทางราชการเกี่ยวกับศาสนาอิสลาม
  • แต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อให้คำปรึกษาเกี่ยวกับบัญญัติศาสนาอิสลาม
  • ประกาศผลการดูดวงจันทร์เพื่อกำหนดวันสำคัญทางศาสนา
  • ออกประกาศเกี่ยวกับวินิจฉัยตามบัญญัติแห่งศาสนาอิสลาม

นอกจากนั้น กฎหมายฉบับนี้ ยังให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยที่มีจุฬาราชมนตรีเป็นประธาน ซึ่งจะมีบทบาทในด้านการบริหารองค์กรศาสนาอิสลามมากกว่าสำนักจุฬาราชมนตรี

ต่อมามีการประกาศใช้กฎหมายฉบับใหม่คือ พระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. 2540 นายสวาสดิ์ สุมาลยศักดิ์ ได้รับเลือกให้เป็นจุฬาราชมนตรีเมื่อ พ.ศ. 2540 ขณะมีอายุได้ 82 ปีเศษ เป็นจุฬาราชมนตรีคนแรกที่ได้รับการเลือกตั้งตามกฎหมายฉบับนี้ และเป็นประธานกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยด้วย โดยดำรงตำแหน่งจนถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2553

รายนามจุฬาราชมนตรีในประเทศไทย

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ รายนามจุฬาราชมนตรีของไทย

อ้างอิง

  • เอกราช มูเก็ม. จุฬาราชมนตรี ประวัติศาสตร์ผู้นำไทยมุสลิมจากสมัยอยุธยาถึงยุคทักษิณ. กทม. ร่วมด้วยช่วยกัน. 2549

หน้า 59-65

แหล่งข้อมูลอื่น