ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มอสเฟต"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Muro Bot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: simple:Mosfet
CarsracBot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต แก้ไข: ko:MOSFET
บรรทัด 47: บรรทัด 47:
[[it:MOSFET]]
[[it:MOSFET]]
[[ja:MOSFET]]
[[ja:MOSFET]]
[[ko:MOSFET]]
[[ko:금속 산화막 반도체 전계효과 트랜지스터]]
[[lt:MOP tranzistorius]]
[[lt:MOP tranzistorius]]
[[nl:MOSFET]]
[[nl:MOSFET]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 00:38, 18 เมษายน 2552

ทรานซิสเตอร์แบบมอสเฟต( metal–oxide–semiconductor field-effect transistor MOSFET) เป็นทรานซิสเตอร์ ที่ใช้อิทธิพลสนามไฟฟ้าในการควบคุมสัญญาณไฟฟ้า โดยใช้ออกไซด์ของโลหะในการทำส่วน GATE นิยมใช้ในวงจรดิจิตอล โดยนำไปสร้างลอจิกเกตต่างๆเพราะมีขนาดเล็ก

โครงสร้างของ MOSFET

โครงสร้างของ MOSFET

MOSFET ประกอบด้วยสามส่วน คือ

  • GATE เป็นส่วนที่ทำมาจากออกไซด์ของโลหะ โดยสร้างให้เกิดความต่างศักย์ตกคร่อมระหว่างแผ่นสองแผ่นเพื่อ สร้างสนามไฟฟ้าเพื่อควบคุมการเข้าออกของสัญญาณไฟฟ้า
  • SORCE เป็นส่วนขาเข้าของสัญญาณ
  • DRAIN เป็นส่วนขาออกของสัญญาณ

ประเภทของ MOSFET

สัญลักษณ์แทน MOSFET

สัญลักษณ์ในทางดิจิตอล

สัญลักษณ์ดิจิตอลของ MOSFET
สัญลักษณ์ดิจิตอลของ MOSFET

MOSFET ในทางดิจิตอลถูกมองว่าเป็นสวิตซ์ โดย nMOS จะเป็นสวิตซ์ที่เมื่อสัญญาณเข้าเป็น "1" สวิตซ์ก็จะปิด ถ้าไม่สวิตซ์ก็ยังเปิดอยู่(normal opened switch) ส่วน pMOS จะเป็นสวิตซ์ที่เมื่อสัญญาณเข้าเป็น "1" สวิตซ์ก็จะเปิด ถ้าไม่สวิตซ์ก็จะปิดอยู่(normal closed switch) และสัญลักษณ์ทั่วไปจะมีสามขา ขากลางเป็น gate ส่วนอีกสองขาคือ sorce และ drain โดยใช้ใน nMOS เป็นหลักเพื่อสื่อสัญลักษณ์เดียวกับทรานซิสเตอร์ทั่วไปคือ ไฟขา base ไหล ขา Collector จะต่อกับ Emittor ส่วน pMOS ก็จะใส่ bubble ที่ขา gate


การทำงานของ MOSFET

  • nMOS เมื่อปล่อยความต่างศักย์สูง จะเกิดสนามไฟฟ้าในทิศลงอย่างแรง โฮลใน p-type จะถูกผลักลงมาอยู่ด้านล่าง(ตามรูปที่ประกอบข้างบน) ประกอบกับมีอิเล็กตรอนอิสระบางส่วนถูกดูดขึ้นไปด้านบน ส่งผลให้บริเวณด้านบนมีอิเล็กตรอนอิสระมากจนเป็น n-type ได้เรียกว่า channel สัญญาณไฟฟ้าก็จะไหลผ่านช่วง channel นี้ซึ่งเป็น n-type เหมือนกับ drain และ sorce ได้โดยใช้อิเล็กตรอนอิสระเป็นพาหะ
  • pMOS จะทำงานกลับกับ nMOS โดยเมื่อปล่อยความต่างศักย์ต่ำ(โดยมากมักจะติดลบ) จะเกิดสนามไฟฟ้าในทิศขึ้นอย่างแรง อิเล็กตรอนอิสระใน n-type จะถูกผลักลงมาอยู่ด้านล่าง ประกอบกับมีโฮลบางส่วนถูกดูดขึ้นไปด้านบน ส่งผลให้บริเวณด้านบนมีโฮลมากจนเป็น p-type ได้เรียกว่า channel สัญญาณไฟฟ้าก็จะไหลผ่านช่วง channel นี้ซึ่งเป็น p-type เหมือนกับ drain และ sorce ได้โดยใช้โฮลเป็นพาหะ

ดูเพิ่ม