ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิกิพีเดีย:คู่มือการเขียน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
The ilovewasa (คุย | ส่วนร่วม)
The ilovewasa (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 95: บรรทัด 95:
ชื่อทีมกีฬาที่ประกอบด้วยชื่อเมืองและตามด้วยชื่อทีม เขียนเว้นวรรคระหว่างชื่อเมืองและชื่อทีม สำหรับการอ้างอิง
ชื่อทีมกีฬาที่ประกอบด้วยชื่อเมืองและตามด้วยชื่อทีม เขียนเว้นวรรคระหว่างชื่อเมืองและชื่อทีม สำหรับการอ้างอิง
* [[ชาล็อต บ็อบแคทส์]] (Charlotte Bobcats)
* [[ชาล็อต บ็อบแคทส์]] (Charlotte Bobcats)
* [[แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด]] (Manchester United)
* [[แมนเชสเตอร์ ซิตี้]] (Manchester City)


== เครื่องหมาย==
== เครื่องหมาย==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:21, 18 เมษายน 2549

"ข้อมูลที่ถูกต้องและการเขียนโดยไม่ลำเอียงมีความสำคัญมากกว่ารูปแบบที่ถูกต้อง"

คู่มือในการเขียน (Manual of Style) ในวิกิพีเดียเป็นแนวทางในการเขียน ให้ผู้อ่านสามารถอ่านในรูปแบบที่เข้าใจได้ง่าย พึงนึกเสมอว่า หลักการตั้งชื่อนี้เป็นแนวทางในการตั้งชื่อเพื่อให้ชื่อบทความง่ายต่อการเข้าใจ ซึ่งไม่ใช่กฎเหล็ก โดยเมื่อวิกิพีเดียโตได้ระดับหนึ่ง ข้อแนะนำต่างๆ ที่ไม่เป็นที่นิยม อาจจะลดหายไป ก่อนอื่นเนื่องจากวิกิพีเดียคือสารานุกรม ลองอ่านที่ นโยบาย และ อะไรที่ไม่ใช่วิกิพีเดีย เมื่อมีข้อสงสัยให้ตั้งตามบทความต่อไปนี้

ชื่อบทความ

ดูบทความหลักที่ วิกิพีเดีย:หลักการตั้งชื่อบทความ

ชื่อบทความควรจะเป็นภาษาไทยที่เป็นคำนาม สำหรับชื่อเฉพาะ ชื่อคน ชื่อสถานที่ หรือชื่อสิ่งของ ให้ใช้ชื่อที่เป็นชื่อนิยม เพราะเชื่อว่าเป็นชื่อที่คนอื่นจะค้นหาเป็นอันดับแรก

ชื่อบทความที่ปรากฏในส่วนเนื้อหาครั้งแรกให้ทำตัวเน้น และเว้นวรรคระหว่างชื่อกับเนื้อหาหนึ่งครั้ง '''ชื่อบทความ'''

  • เช่น คู่มือในการเขียน ในวิกิพีเดียเป็นแนวทางในการเขียนให้ผู้อ่านสามารถอ่านในรูปแบบที่เข้าใจได้ง่าย ถึงแม้ว่าชื่อบทความจะเป็นชื่อย่อของเนื้อหานั้น ให้เน้นชื่อเต็มทั้งหมด เช่นบทความ ไอแซก นิวตัน
  • เช่น เซอร์ไอแซก นิวตัน นักคณิตศาสตร์ นักดาราศาสตร์ นักปรัชญา และนักเล่นแร่แปรธาตุชาวอังกฤษ

สำหรับบทความที่มีสองชื่อ ซึ่งอาจจะเป็นบทความที่แปลมาจากภาษาอื่น ให้ทำตัวเน้น ชื่อทั้งสองของบทความ

ชื่อเรียก

แนะนำให้ใช้ ตัวเอน สำหรับชื่อเรียกของ เพื่อแยกส่วนเนื้อหาบทความกับชื่อเรียกนั้น

  • เช่น ในปี พ.ศ. 2534 วินนิงอีเลฟเวนได้เริ่มวางจำหน่าย โดยในปัจจุบันเป็นรุ่นที่ 9
  • เกมคอมพิวเตอร์และวิดีโอเกม
  • ขบวนรถไฟโดยสารที่มีชื่อเฉพาะ
  • คดีในศาลยุติธรรม
  • คำประพันธ์หรือร้อยกรองขนาดยาว/มหากาพย์
  • งานประพันธ์ดนตรีสำหรับวงดุริยางค์
  • ชิ้นงานทัศนศิลป์
  • บทละคร
  • ภาพยนตร์
  • ภาพยนตร์ชุดทางโทรทัศน์
  • ยานอวกาศ
  • เรือ
  • หนังสือ
  • หนังสือรายคาบ (หนังสือพิมพ์ วารสาร และนิตยสาร)
  • อัลบัมดนตรี

ตัวเอนจะใช้กับชื่องานขนาดยาว หากเป็นงานขนาดสั้น ควรล้อมชื่อเรียกด้วยเครื่องหมายอัญประกาศคู่ ("...") แทน งานขนาดสั้นได้แก่:-

  • คำประพันธ์หรือร้อยกรองขนาดสั้น
  • ตอนของภาพยนตร์ชุดทางโทรทัศน์
  • บทความ ความเรียง หรือบทความวิชาการ
  • บทหรือองก์ของงานขนาดยาว
  • ประติมากรรม
  • เพลง
  • เรื่องสั้น

มีบางกรณีที่ชื่อเรียกไม่ควรใช้ทั้งตัวเอนหรืออัญประกาศ ได้แก่:-

  • คัมภีร์ทางศาสนา
  • รัฐธรรมนูญและกฎหมาย
  • รูปเคารพทางศาสนา

วันเดือนปี

  • เขียนปีในรูปแบบของ พ.ศ. โดยเว้นวรรคหนึ่งครั้งระหว่างคำย่อและตัวเลข เช่น
  • สำหรับปี ค.ศ. ที่มีความสำคัญ ในทางความหมาย ให้เขียนกำกับในวงเล็บด้านหลัง หรือเขียนเฉพาะปี ค.ศ. เช่น
  • ทศวรรษ เขียนระหว่าง พุทธทศวรรษ และ คริสต์ทศวรรษ โดยไม่มีคำว่า "ที่" ตามหลัง เช่น
  • ศตวรรษ เขียนระหว่าง พุทธศตวรรษ และ คริสต์ศตวรรษ โดยตามหลังด้วยคำว่า "ที่" เช่น

ตัวเลข

  • ตัวเลขให้ใช้เลขอารบิก(0 1 2 3..9) เป็นหลัก
  • สำหรับเอกสารต้นฉบับที่ยกมาไว้ในเครื่องหมายคำพูด และไม่มีการจัดรูปแบบหรือเขียนใหม่ สามารถอ้างอิงเลขไทย (o ๑ ๒ ๓..๙) ไว้

ประเทศ ภาษา บุคคล

ชื่อ ภาษา และชื่อบุคคล จากต่างประเทศให้ใช้ชื่อตามชื่อประเทศ เช่น ชาวสวีเดน (ไม่ใช้ ชาวสวีดิช) ภาษาสวีเดน (ไม่ใช้ ภาษาสวีดิช) หรือ ชาวเวลส์ (ไม่ใช้ ชาวเวลช์) ยกเว้นชื่อที่มีการใช้มานาน ได้แก่ เยอรมัน กรีก ไอริช ดัตช์ สวิส อังกฤษ และ อเมริกัน

รูปแบบการจัดหน้า

ดูบทความหลักที่ รูปแบบการจัดหน้า

การออกเสียงคำ

การเขียนตัวอักษรคำ ให้ใช้สัญลักษณ์ของ IPA โดยอาจจะเขียนคำไทยที่เสียงใกล้เคียงกำกับ สำหรับภาษาจีนให้ใช้ พินอิน และภาษาญี่ปุ่นให้ใช้ โรมะจิ กำกับเพิ่ม เช่น

  • ภาษาฝรั่งเศส (ฝรั่งเศส: français, อังกฤษ: French, IPA: fʁɑ̃sɛ) หนึ่งในภาษากลุ่มโรมานซ์ที่สำคัญที่สุด
  • โตเกียว (ญี่ปุ่น: 東京, โรมะจิ: Tōkyō) เป็นเมืองหลวงของประเทศญี่ปุ่น
  • โจว เหวินฟะ (จีน: 周潤發, พินอิน: Zhōu Rùnfā) หนึ่งในสุดยอดนักแสดงฮ่องกงที่ ได้ก้าวเข้าสู่วงการภาพยนตร์นานาชาติ

เว้นวรรคระหว่างคำ ของชื่อจากภาษาต่างประเทศ

คำที่มาจากภาษาต่างประเทศ ถ้ามีการเว้นวรรคระหว่างคำ ให้เขียนติดกันเป็นคำเดียว เช่น

ยกเว้นคำที่เป็นชื่อเฉพาะ โดยขึ้นอยู่กับต้นฉบับของข้อมูล สำหรับคำที่ยังไม่มีการกำหนด ตัดสินว่าถ้าแยกคำแล้วทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้ให้เขียนติดกันเป็นคำเดียว

ชื่อซอฟต์แวร์ และ ชื่อรถ

ชื่อซอฟต์แวร์ และ ชื่อโมเดลรถยนต์ให้เขียน เว้นวรรคระหว่างชื่อผู้ผลิตและชื่อผลิตภัณฑ์ เช่น

เขียน ซีวิค ไทป์อาร์ แยกกัน เนื่องจาก ซีวิค ไทป์อาร์ เป็นรุ่นรถรุ่นย่อยในตระกูลซีวิค

ชื่อทีมกีฬา

ชื่อทีมกีฬาที่ประกอบด้วยชื่อเมืองและตามด้วยชื่อทีม เขียนเว้นวรรคระหว่างชื่อเมืองและชื่อทีม สำหรับการอ้างอิง

เครื่องหมาย

เครื่องหมายจุลภาค

ภาษาไทยไม่ใช้เครื่องหมาย จุลภาค (เครื่องหมายคอมม่า)ระหว่างคำ

  • ตัวอย่างใช้
    • แม่สีหลักประกอบด้วย สีแดง สีน้ำเงิน และสีเหลือง
    • แทนที่ แม่สีหลักประกอบด้วย สีแดง, สีน้ำเงิน, และสีเหลือง
  • ข้อยกเว้นในการใช้ เมื่อการเว้นวรรคคำ อาจทำให้เกิดความสับสนในประโยค

เครื่องหมายมหัพภาค

ภาษาไทยไม่ใช้เครื่องหมาย มหัพภาค (จุด) ที่ท้ายประโยคเช่นเดียวกันเครื่องหมายอัศเจรีย์ หรือเครื่องหมายคำถาม (?)

เครื่องหมายไม้ยมก (ๆ)

ไม่มีนโยบายสำหรับการใช้งานเว้นวรรคในไม้ยมก ว่าจะเว้นวรรคก่อนหน้าและตามหลัง ไม่ว่า "สรุปเร็วๆนะ" "สรุปเร็วๆ นะ" หรือ "สรุปเร็ว ๆ นะ" แต่การเว้นวรรคก่อนหน้าและหลังไม้ยมกไม่ใช่เรื่องสำคัญ ดูเพิ่มที่ ไม้ยมกและการใช้งาน และ [[พูดคุย:วิกิพีเดีย:คู่มือในการเขียน/ไม้ยมก|บทพูดคุยในอดีตเกี่ยวกับการใช้ไม้ยมกในวิกิพีเดีย]]