ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มั่น ภูริทัตโต"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 11: บรรทัด 11:
::[[หลวงปู่แหวน สุจิณโณ]]
::[[หลวงปู่แหวน สุจิณโณ]]
::[[หลวงปู่ฝั้น อาจาโร]]
::[[หลวงปู่ฝั้น อาจาโร]]
::[[หลวงปู่ขาว]]
::[[หลวงปู่ขาว อนาลโย]]
::[[หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย]]
::[[หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย]]
::[[หลวงตามหาบัว|หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน]] เป็นต้น
::[[หลวงตามหาบัว|หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน]] เป็นต้น

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:43, 8 เมษายน 2551

ไฟล์:หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต.jpg
หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต กำเนิดในสกุล แก่นแก้ว กำเนิด 20 มกราคม พ.ศ. 2413 สถานที่เกิด บ้านคำบง อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี

อุปสมบท

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต อุปสมบท ณ วัดเลียบ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี ในวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2436 โดยมีพระอริยกวี เป็นพระอุปัชฌาย์ ก่อนหน้านี้หลวงปู่ได้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่ออายุได้ 15 ปี ณ วัดบ้านคำบง เมื่อบวชได้ 2 ปี ท่านจำต้องสึกตาม ความประสงค์ของบิดา พออายุได้ 22 ปี หลวงปู่จึงได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ และได้เข้าฝึกปฏิบัติธรรม ในสำนักวิปัสสนากับ ท่านพระอาจารย์เสาร์ กันตสีโล ณ วัดเลียบ จ.อุบลราชธานี

อาจารย์สอนธรรม

หลวงปู่เป็นอาจารย์สอนธรรมทางวิปัสสนากรรมฐานที่มีชื่อเสียงมีผู้เคารพนับถือมาก หลวงปู่มีศิษยานุศิษย์ที่เป็นพระเถระซึ่งเป็นที่เคารพของผู้คนทั้งประเทศ อาทิเช่น

หลวงปู่ดูลย์ อตุโล
หลวงปู่แหวน สุจิณโณ
หลวงปู่ฝั้น อาจาโร
หลวงปู่ขาว อนาลโย
หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย
หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน เป็นต้น
ไฟล์:พระมหาเถราจารย์.jpg
ภาพศิษยานุศิษย์หลวงปู่มั่น

หลวงปู่ได้รับ การเรียกขานจากบรรดาศิษย์ว่า "พระอาจารย์ใหญ่" เป็นผู้มีประวัติงดงาม เป็นฐานที่พึ่งอันมั่นคงตลอดจนเป็นที่ยึดเหนี่ยวทางใจของเหล่าศิษยานุศิษย์ทั้งหลาย ตลอดเวลาในเพศบรรพชิต หลวงปู่ปฏิบัติตนจนกระทั่งเป็น แบบอย่างที่ดี อันจะหาผู้ใดเสมอเหมือนได้ยากยิ่ง

หลวงปู่มรณภาพ เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492 อายุ 80 ปี 56 พรรษา

คำสอน

"ธรรมชาติของดีทั้งหลายนั้น ย่อมเกิดมาแต่ของไม่ดี มีอุปมาดังดอกปทุมชาติอันสวยงาม ก็เกิดขึ้นมาจาก โคลนตม อันเป็นของสกปรก ปฏิกูล น่าเกลียด

แต่ว่า ดอกบัวนั้นเมื่อขึ้นพ้นโคลนตมแล้วย่อมเป็นสิ่งสะอาด เป็นที่ทัดทรงของพระราชา อุปราช อำมาตย์ เสนาบดี เป็นต้น และดอกบัวนั้นก็มิกลับคืนไปยังโคลนตมอีก

-ดีใดไม่มีโทษ ดีนั้นชื่อว่าดีเลิศ -

ได้สมบัติทั้งปวงไม่เท่าได้ตน เพราะตัวตนนั้นเป็นที่เกิดแห่ง สมบัติทั้งปวง"

ดูเพิ่ม

อ้างอิง