ข้ามไปเนื้อหา

พิพิธภัณฑ์รางวัลโนเบล

พิกัด: 59°19′28.70″N 18°04′17.13″E / 59.3246389°N 18.0714250°E / 59.3246389; 18.0714250
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พิพิธภัณฑ์รางวัลโนเบล
ฟาซาดหน้าของพิพิธภัณฑ์เมื่อปี 2019
แผนที่
ชื่อเดิม
Nobel Museum
ก่อตั้งค.ศ. 2001 (2001)
ที่ตั้งเบิชฮูเซท สตอทอรเยียท
กัมลา-สตาน สต็อกโฮล์ม ประเทศสวีเดน
พิกัดภูมิศาสตร์59°19′28.70″N 18°04′17.13″E / 59.3246389°N 18.0714250°E / 59.3246389; 18.0714250
ประเภทNatural sciences and culture
ผู้บริหารสูงสุดErika Lanner
เจ้าของมูลนิธิโนเบล
เว็บไซต์Nobel Prize Museum

พิพิธภัณฑ์รางวัลโนเบล (สวีเดน: Nobelprismuseet; Nobel Prize Museum) หรือชื่อเดิม พิพิธภัณฑ์โนเบล เป็นพิพิธภัณฑ์ในสต็อกโฮล์ม ประเทศสวีเดน ตั้งอยู่ในอดีตอาคารเบิชฮูเซท (Börshuset) บนฝั่งเหนือของสตอรทอรเยียทในย่านเมืองเก่ากัมลา-สตาน ในอาคารหลังเดียวกันนี้ยังเป็นที่ตั้งของสถาบันสวีเดนและหอสมุดโนเบล พิพิธภัณฑ์รางวัลโนเบลจัดแสดงข้อมูลเกี่ยวกับรางวัลโนเบล, ผู้รับรางวัลโนเบล และผู้สถาปนารางวัลโนเบล อัลเฟร็ด โนเบล (1833–1896) นิทรรศการถาวรของพิพิธมีจัดแสดงวัตถุจำนวนมากที่บริจาคให้โดยผู้รับรางวัลโนเบล ควบคู่กับเรื่องราวชีวิตส่วนตัว[1]

ประวัติศาสตร์

[แก้]

พิพิธภัณฑ์โนเบลเปิดตัวในปี 2001 เนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปีของการมอบรางวัลโนเบล ชื่อของพิพิธภัณฑ์เปลี่ยนเป็นพิพิธภัณฑ์รางวัลโนเบลในปี 2019 พร้อมทั้งการขึ้นเป็นผู้อำนวยการของเอรีกา ลันเนอร์ (Erika Lanner)[2]

นิทรรศการ

[แก้]

พิพิธภัณฑ์จัดนิทรรศการ ภาพยนตร์ ละครเวที และการโต้วาทีเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ รวมถึงยังมีร้านอาหารและร้านค้า ของจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์รวมถึงผู้รับรางวัลคนสำคัญ เช่น มารี กูรี, เนลสัน มันเดลา และ วินสตัน เชอร์ชีล[3][4]

พิพิธภัณฑ์ยังจัดนิทรรศการเชิงสร้างสรรค์เช่นกัน เช่นนิทรรศการภาพถ่าย “ภาพร่างแห่งวิทยาการ” (Sketches of science) ซึ่งประกอบด้วยภาพถ่าย 42 ภาพของผู้รับรางวัลโนเบลกับภาพร่างของการค้นพบที่นำไปสู่รางวัลโนเบลของตน นิทรรศการนี้ได้นำไปจัดแสดงในดูไบ และสิงคโปร์ เช่นกัน[5][6]

ในร้านค้าของพิพิธภัณฑ์มีจำหน่ายของที่ระลึกต่าง ๆ โดยชิ้นที่ได้รับความนิยมมากชิ้นหนึ่งคือเหรียญรางวัลโนเบลทำมาจากช็อกโกแลต และขนมสวีเดน "ไดนาไมต์" ซึ่งมีรสของพริกฮาลาเปโญ ในปี 2011 พิพิธภัณฑ์ยังร่วมมือกับศิลปิน อาร์ตัน มันซูรี (Artan Mansouri) ซึ่งสร้างสรรค์ภาพเขียนที่แทนชีวิตของโนเบล สินค้าอื่น ๆ ที่พิพิธภัณฑ์วางขายยังรวมถึงของเล่นเชิงการเรียนรู้และหนังสือเกี่ยวกับและที่เขียนโดยผู้รับรางวัลโนเบล[7][8]

ร้านอาหารของพิพิธภัณฑ์ชื่อ บิสโทรโนเบล (Bistro Nobel) มีวางจำหน่ายช็อกโกแลตโนเบล, เค้กแบบสวีเดน, อาหารเที่ยงและมื้อค่ำ รวมถึงไอสครีมโนเบลซึ่งมีวางขายที่นี่เท่านั้น ส่วนชาโนเบลนั้นมักนำไปเสิร์ฟในมื้ออาหารรางวัลโนเบลประจำปี[9][10]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Stockholm's Free Museums: The Nobel Museum". stockholmonashoestring. สืบค้นเมื่อ November 1, 2017.
  2. "Erika Lanner appointed Director of Nobel Prize Museum". Nobel Prize Museum. 19 February 2019. สืบค้นเมื่อ 15 August 2019.
  3. "Nobelmuseet". routesnorth.com. 5 October 2014. สืบค้นเมื่อ November 1, 2017.
  4. "The Nobel Museum". stockholm.com. สืบค้นเมื่อ November 1, 2017.
  5. ""Sketches of science"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-06-13. สืบค้นเมื่อ 2023-11-05.
  6. "About the Nobel Museum". Nobel Museum. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-02. สืบค้นเมื่อ 2007-03-18.
  7. "Nobel Creations". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-30. สืบค้นเมื่อ 2023-11-05.
  8. "Nobel Museum Gift Shop". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-01. สืบค้นเมื่อ 2023-11-05.
  9. "Bistro Nobel". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-30. สืบค้นเมื่อ 2023-11-05.
  10. "The Nobel Museum". vikingline.com. สืบค้นเมื่อ November 1, 2017.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]