ข้ามไปเนื้อหา

พายุไต้ฝุ่นหะลอง (พ.ศ. 2562)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พายุไต้ฝุ่นหะลอง
พายุไต้ฝุ่นรุนแรง (JMA)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 (SSHWS)
พายุไต้ฝุ่นหะลอง ในวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ.2562
พายุไต้ฝุ่นหะลอง ในวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ.2562
พายุไต้ฝุ่นหะลอง ในวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ.2562
ก่อตัว 2 พฤศจิกายน พ.ศ.2562
สลายตัว 8 พฤศจิกายน พ.ศ.2562

(กลายเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อน)

ความเร็วลม
สูงสุด
เฉลี่ยลมใน 10 นาที:
215 กม./ชม. (130 ไมล์/ชม.)
เฉลี่ยลมใน 1 นาที:
285 กม./ชม. (180 ไมล์/ชม.)
ความกดอากาศต่ำสุด 905 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 26.72 นิ้วปรอท)
ผู้เสียชีวิต
ความเสียหาย ไม่ทราบ
พื้นที่ได้รับ
ผลกระทบ
หมู่เกาะมาเรียนา
ส่วนหนึ่งของ
ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2562

พายุไต้ฝุ่นหะลอง (เวียดนาม: Hạ Long) เป็นพายุไต้ฝุ่นทีมีความรุนแรงที่สุดในฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2562 และเป็นพายุหมุนเขตร้อนที่มีความรุนแรงที่สุดในโลกประจำปี พ.ศ. 2562 เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน ระบบตรวจพบบริเวณความกดอากาศต่ำ โดยบริเวณความกดต่ำนั้นได้พัฒนาเป็นพายุพายุดีเปรสชันอย่างรวดเร็ว โดยอยู่ทางหลายร้อยไมล์ทางตะวันออกของหมู่เกาะมาเรียนาเหนือ พายุดีเปรสชันทวีความรุนแรงขึ้นอย่างรวดเร็วและพัฒนาเป็นพายุหมุนเขตร้อนหะลองในวันเดียวกัน พายุยังคงแข็งแกร่งขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงระดับพายุไต้ฝุ่น ไต้ฝุ่นหะลองกลายเป็นซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 ตามมาตราเฮอริเคนแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน ในวันที่ 5 พฤศจิกายน ในวันที่ 6 พฤศจิกายน พายุไต้ฝุ่นหะลองเริ่มที่จะเข้าสู่วัฏจักรการแทนที่กำแพงตาและจากการที่ผิวน้ำทะเลมีอุณภูมิลดลง ส่งผลกระทบต่อระบบและการไหลเวียนอากาศภายในพายุทำให้ได้รับผลกระทบอย่างมากและทำให้อ่อนกำลังลงเป็นไต้ฝุ่นประเภทที่ 4 ตามมาตราเฮอริเคนแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน ในวันที่ 8 พฤศจิกายนพายุหะลองมีความเร็วลดลงและกลายเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อนในเวลาต่อมา

ประวัติทางอุตุนิยมวิทยา

[แก้]
แผนที่แสดงเส้นทาง และความรุนแรงของพายุตามมาตราส่วนแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน
ความรุนแรงของพายุ
  พายุดีเปรสชันเขตร้อน (≤62 กม./ชม.)
  พายุโซนร้อน (63–117 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 1 (118–153 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 2 (154–177 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 3 (178–208 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 4 (209–251 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 5 (≥252 กม./ชม.)
  พายุที่ไม่ทราบความเร็วลม
ประเภทของพายุ
■ พายุหมุนกึ่งเขตร้อน
▲ พายุหมุนนอกเขตร้อน / หย่อมความกดอากาศต่ำที่หลงเหลือ / รบกวนของเขตร้อน / ลมมรสุมพายุดีเปรสชั่นเขตร้อน

ประวัติทางอุตุนิยมวิทยาของพายุไต้ฝุ่นหะลอง[1]

  • วันที่ 2 พฤศจิกายน ตรวจพบบริเวณความกดอากาศต่ำ โดยกำหนดเป็น ระบบที่ 99W และพัฒนาเป็นพายุโซนร้อนในวันเดียวกัน
  • วันที่ 3 พฤศจิกายน พายุหะลองทวีความรุนแรงมากขึ้นและกลายเป็นพายุไต้ฝุ่น
  • วันที่ 4 พฤศจิกายน เวลา 7:35 EDT เครื่องมือวัดภาพรังสีแบบ Moderate Imaging Spectroradiometer หรือ MODIS ที่ติดตั้งบนดาวเทียม Terra ของนาซ่า ใช้แสงอินฟาเรดเพื่อวิเคราะห์ความแข็งแกร่งของพายุ พบว่าเป็นพายุที่แรงที่สุด กินพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นวงรอบศูนย์กลางของพายุ วัดอุณหภูมิยอดเมฆได้ลบ 80 องศาฟาเรนไฮต์ (-62.2 เซลเซียส) หรือน้อยกว่านั้น การวิจัยของนาซ่าพบว่าอุณหภูมิยอดเมฆที่หนาวเย็นแสดงถึงพายุที่รุนแรงพร้อมศักยภาพในการก่อฝนตกหนัก ต่อมาในเวลา 16:00 EDT พายุไต้ฝุ่นหะลองมีลมแรงมากที่สุดใกล้ 80 นอต (92 ไมล์ต่อชั่วโมง หรือ 148 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ตั้งอยู่ใกล้ละติจูด 17.9 องศาเหนือและลองจิจูด 153.1 องศาตะวันออกประมาณ 613 กิโลเมตรทะเลทางตอนใต้ของเกาะมินามิ โทริชิมะ ประเทศญี่ปุ่น โดยพายุกำลังเคลื่อนไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ
  • วันที่ 6 พฤศจิกายน พายุหะลองเริ่มที่จะเข้าสู่วัฏจักรการแทนที่กำแพงตาและผิวน้ำทะเลมีการลดอุณหภูมิ ส่งผลกระทบต่อระบบและการไหลเวียนทำให้อ่อนแอลงเป็นไต้ฝุ่นระดับที่ 4

อ้างอิง

[แก้]
  1. Gutro, Rob (4 November 2019). "NASA provides an infrared analysis of typhoon Halong Hagibis". EurekAlert!.