ข้ามไปเนื้อหา

พายุฟ้าคะนอง

บทความนี้เป็นบทความแปลของพนักงานดีแทคในความร่วมมือกับวิกิพีเดีย คลิกเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พายุฝนฟ้าคะนองตรงแบบเหนือทุ่ง

พายุฝนฟ้าคะนอง เป็นพายุชนิดหนึ่งที่ถูกจัดลักษณะโดยปรากฏการณ์จากผลกระทบของ แสง และ เสียง บนบรรยากาศของโลก ที่รู้จักกันในชื่อ ฟ้าร้อง[1] อุตุนิยมวิทยาได้กำหนดชนิดของ เมฆ ที่เกี่ยวข้องกับพายุฝนฟ้าคะนองว่าเป็นคิวมูโลนิมบัส ปกติแล้วพายุฝนฟ้าคะนองจะมาพร้อมกับลมแรง, ฝนตกหนัก และบางครั้งมี หิมะ ฝนหิมะ ลูกเห็บ หรืออาจไม่ตกลงสู่พื้นดินเลยก็ได้ ทั้งหมดนั้นอาจเป็นสาเหตุให้เกิดลูกเห็บตกซึ่งเรียก พายุลูกเห็บ พายุฝนฟ้าคะนองอาจจะตกหนักเป็นหย่อม ๆ หรือตกหนักแบบกระจายตัวที่เรียก ซูเปอร์เซลล์ ก็ได้ พายุฝนฟ้าคะนองอย่างหนักหรือรุนแรงอาจเกิดการหมุนตัวซึ่งเรียกว่าเปอร์เซลล์ ในขณะที่พายุฝนฟ้าคะนองส่วนใหญ่เคลื่อนที่ด้วยแรงลมปกติผ่านชั้นบรรยากาศโทรโพสเฟียร์ ที่มันสถิตย์อยู่ เมื่อเกิดแรงลมพัดเฉือนในแนวตั้งเกิดขึ้นจะก่อให้เกิดการหันเหเบี่ยงเบนในทิศทางที่ลมพัดเฉือนนั้นพัดมาเป็นสาเหตุให้พายุเคลื่อนตัว

ผลของพายุฝนฟ้าคะนองที่เกิดจากการเคลื่อนตัวขึ้นลงอย่างรวดเร็วของอากาศที่อุ่นและชื้น มันก่อให้เกิดมวลอากาศที่อุ่นและชื้นขึ้นภายในและด้านหน้าของกลุ่มพายุฝนฟ้าคะนองนั้น ในขณะที่มวลอากาศอุ่นและชื้นเคลื่อนตัวขึ้นลงนั้น มันเกิดความเย็น,กลั่นตัวจนควบแน่นและก่อตัวเป็นกลุ่มก้อนเมฆที่แผ่ตัวต่ำปกคลุมทั่วท้องฟ้าจนมาถึงความสูงเกิน 20 กม. ในขณะที่อากาศซึ่งลอยตัวสูงขึ้นจนมาถึงจุดที่กลั่นตัวเป็นหยดน้ำ, เม็ดหยดน้ำและน้ำแข็งก่อตัวและเริ่มตกลงครอบคลุมระยะทางไกลผ่านก้อนเมฆแล้วจึงตกลงสู่ผืนโลก ในขณะที่เม็ดฝนตกลงมานั้นมันปะทะกันกับเม็ดฝนอื่นและเริ่มใหญ่ขึ้นๆ เม็ดฝนที่ตกลงมายังเบื้องล่างก่อให้เกิดอากาศเย็นและชื้นซึ่งแผ่กระจายบนพื้นผิวโลก ก่อให้เกิดลมพัดแรงซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับพายุฝนฟ้าคะนองและเกิดหมอกบ้างในบางโอกาส

พายุฝนฟ้าคะนองโดยทั่วไปสามารถก่อตัวและพัฒนาในพื้นที่เฉพาะทางภูมิศาสตร์บางพื้นที่ บางครั้งพื้นที่ที่เกิดพายุฝนฟ้าคะนองถี่มักอยู่แถบเส้นละติจูดกลาง ที่ซึ่งอากาศอุ่นชื้นมักปะทะกับอากาศที่เย็นกว่า [2] พายุฝนฟ้าคะนองก่อให้เกิดการพัฒนาและก่อตัวของปรากฏการณ์สภาวะอากาศที่รุนแรงมากมาย พายุฝนฟ้าคะนองและปรากฏการณ์ซึ่งเกิดขึ้นตามมาก่อให้เกิดความเสี่ยงและอันตรายอย่างใหญ่หลวงต่อประชากรโลกและสภาพภูมิประเทศ ความเสียหายซึ่งเป็นผลลัพธ์จากพายุฝนฟ้าคะนองสร้างความเจ็บปวดและสูญเสียโดยตรงทั้งโดยลมกระโชกรุนแรง, ลูกเห็บขนาดใหญ่ และ น้ำท่วมฉับพลัน ซึ่งมีสาเหตุมาจากฝนถล่มหนัก พายุฝนฟ้าคะนองที่หนักกว่าสามารถก่อให้เกิด ทอร์นาโด และ พายุหมุน การศึกษาในปี 1953 พบว่าพายุฝนฟ้าคะนองโดยเฉลี่ยที่เกิดเกินหลายชั่วโมงก่อให้เกิดพลังงานเทียบเท่าระเบิดอะตอมมิคบอมบ์ 50 ลูก ที่ถูกทิ้งระเบิดที่เมืองฮิโรชิม่า ประเทศญี่ปุ่นระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง [3]

พายุฝนฟ้าคะนองมี 4 ชนิด: ซิงเกิลเซลล์, กลุ่มก้อน มัลติเซลล์, แถว มัลติเซลล์ และซูปเปอร์เซลล์ พายุฝนฟ้าคะนองแบบซูปเปอร์เซลล์เป็นชนิดที่รุนแรงที่สุดและเกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์สภาวะอากาศรุนแรงและอันตรายที่สุด เมื่อสื่อกลางในการนำพาความร้อนถูกพัดพาเข้ามาร่วมด้วยอย่างเป็นระบบและเหมาะเจาะ เฮอริเคนจะถูกก่อตัวขึ้นจากแรงลมที่พัดเฉือนเข้ามาภายในเขตร้อนและพื้นที่ใกล้เขตร้อนนั้นๆ พายุฝนฟ้าคะนองแบบร้อนชื้นและแห้งซึ่งไม่มีพายุฝนโถมกระหน่ำสามารถก่อให้เกิดไฟป่าด้วยความร้อนที่ถูกสร้างขึ้นจากเมฆฟ้าผ่า มีหลายวิธีที่ถูกใช้เพื่อศึกษาพายุฝนฟ้าคะนอง ตัวอย่างเช่น เรดาร์วัดอุณหภูมิอากาศ, สถานีวัดสภาพอากาศและภาพถ่ายวัดสภาพภูมิอากาศ อารยธรรมที่ผ่านมายึดถือตำนานความเชื่อปรัมปราต่างๆซึ่งล้วนเกี่ยวข้องกับพายุฝนฟาคะนองและวิวัฒนาการจนกระทั่งถึงปลายศตวรรษที่ 18 นอกจากโลกแล้วพายุฟ้าคะนองสามารถเกิดขึ้นบน ดาวพฤหัส, ดาวศุกร์, ดาวเสาร์ และดาวเนปจูนด้วย

อ้างอิง

[แก้]
  1. ช National Weather Service (21 April 2005). "Weather Glossary – T". National Oceanic and Atmospheric Administration. สืบค้นเมื่อ 2006-08-23.
  2. National Severe Storms Laboratory (September 1992). "tornadoes...Nature's Most Violent Storms". A PREPAREDNESS GUIDE. National Oceanic and Atmospheric Administration. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-24. สืบค้นเมื่อ 2008-08-03.
  3. "Thunderstorm Energy Equals 50 A-bombs." Popular Mechanics, January 1953, p. 86, bottom of page

ดูเพิ่ม

[แก้]
  • Burgess, D. W., R. J. Donaldson Jr., and P. R. Desrochers, 1993: Tornado detection and warning by radar. The Tornado: Its Structure, Dynamics, Prediction, and Hazards, Geophys. Monogr., No. 79, American Geophysical Union, 203–221.
  • Corfidi, S. F., 1998: Forecasting MCS mode and motion. Preprints 19th Conf. on Severe Local Storms, American Meteorological Society, มินนีแอโพลิส, Minnesota, pp. 626–629.
  • Davies, J. M., 2004: Estimations of CIN and LFC associated with tornadic and nontornadic supercells. Wea. Forecasting, 19, 714–726.
  • Davies, J. M., and R. H. Johns, 1993: Some wind and instability parameters associated with strong and violent tornadoes. Part I: Helicity and mean shear magnitudes. The Tornado: Its Structure, Dynamics, Prediction, and Hazards (C. Church et al., Eds.), Geophysical Monograph 79, American Geophysical Union, 573–582.
  • David, C. L. 1973: An objective of estimating the probability of severe thunderstorms. Preprint Eight conference of Severe Local Storms. เดนเวอร์, American Meteorological Society, 223–225.
  • Doswell, C.A., III, D. V. Baker, and C. A. Liles, 2002: Recognition of negative factors for severe weather potential: A case study. Wea. Forecasting, 17, 937–954.
  • Doswell, C.A., III, S.J. Weiss and R.H. Johns (1993): Tornado forecasting: A review. The Tornado: Its Structure, Dynamics, Prediction, and Hazards (C. Church et al., Eds), Geophys. Monogr. No. 79, American Geophysical Union, 557–571.
  • Johns, R. H., J. M. Davies, and P. W. Leftwich, 1993: Some wind and instability parameters associated with strong and violent tornadoes. Part II: Variations in the combinations of wind and instability parameters. The Tornado: Its Structure, Dynamics, Prediction and Hazards, Geophys. Mongr., No. 79, American Geophysical Union, 583–590.
  • Evans, Jeffry S.,: Examination of Derecho Environments Using Proximity Soundings. NOAA.gov
  • J. V. Iribarne and W.L. Godson, Atmospheric Thermodynamics, published by D. Reidel Publishing Company, ดอร์เดรชท์, the ประเทศเนเธอร์แลนด์, 1973
  • M. K. Yau and R. R. Rogers, Short Course in Cloud Physics, Third Edition, published by Butterworth-Heinemann, January 1, 1989, EAN 9780750632157 ISBN 0-7506-3215-1

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

แม่แบบ:Meteorological variables