ข้ามไปเนื้อหา

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอลังการ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอลังการ
พระวรวงศ์เธอ ชั้น 2
พระองค์เจ้าชั้นตรี
องคมนตรี
ดำรงตำแหน่ง19 กันยายน พ.ศ. 2435[1]
ประสูติ19 พฤษภาคม พ.ศ. 2404
สิ้นพระชนม์13 มีนาคม พ.ศ. 2480 (75 ปี)
หม่อม6 คน
พระบุตร18 คน
ราชสกุลมาลากุล
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์
พระมารดาหม่อมทรัพย์
รับใช้กองทัพบกสยาม
ชั้นยศ พันตรี

มหาอำมาตย์ตรี[2] นายพันตรี พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอลังการ (19 พฤษภาคม พ.ศ. 2404 - 13 มีนาคม พ.ศ. 2480) เป็นพระโอรสใน สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์ ประสูติแต่ หม่อมทรัพย์

พระประวัติ

[แก้]

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอลังการ พระนามเดิม หม่อมเจ้าอลังการ อดีตองคมนตรี อธิบดีกรมส่วย รัฐมนตรี ปลัดทูลฉลองกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ สภานายกรัฐมนตรี บังคับการกรมพระคชบาล และข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลปราจีนบุรี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระสุพรรณบัฏ สถาปนาขึ้นเป็น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอลังการ ถือศักดินา 3000 เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2443 เนื่องในวันฉัตรมงคล[3] เครื่องยศในเวลารับพระสุพรรณบัฏ หีบหมากเสวยไม้แดงหุ้มทองคำลงยา ตราครุฑ 1 หีบ[4] เป็นผู้ให้กำเนิดวงการภาพยนตร์ไทย โดยจัดให้มีการละเล่น ซีนีมาโตแครฟ จากกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ณ โรงละครหม่อมเจ้าอลังการ ข้างประตูสามยอด ถือเป็นครั้งแรกที่มีการจัดการฉายในประเทศไทย และเป็นวิวัฒนาการใหม่ในโลกขณะนั้น[5]

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอลังการ สิ้นพระชนม์ เมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2479 (แบบปัจจุบันคือ พ.ศ. 2480) ที่ปราจีนบุรี ด้วยโรคลมอัมพาต ปัจจุบันคือเส้นโลหิตแตก ประชวรไม่กี่วันก็สิ้นพระชนม์

พระโอรส-พระธิดา

[แก้]

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอลังการ เสกสมรสกับหม่อมเล็ก จ.จ.[6] หม่อมเจิม หม่อมผาด หม่อมนวล หม่อมทรัพย์ และหม่อมถนอม มีพระโอรส-พระธิดา จำนวน 18 คน ดังนี้

ในหม่อมเล็ก

  • หม่อมราชวงศ์ณัฐสฤษดิ์ สมรสกับบุญช่วย มีธิดา 2 คน
  • หม่อมราชวงศ์ฐิตะไชย
  • หม่อมราชวงศ์ไขฉวี สมรสกับนาวาเอก หลวงประพรรดิ์จักรกิจ ราชนาวี (แสวง หาสตะนันทน์) มีบุตร-ธิดา 8 คน
  • หม่อมราชวงศ์ศรีธวัช สมรสกับทองอยู่ ทัพชูวงศ์ มีบุตร-ธิดา 5 คน และถมยา มั่นมณี มีบุตร 3 คน
  • หม่อมราชวงศ์พัฒนา สมรสกับเหมย เดี่ยวเด่น มีบุตร-ธิดา 5 คน, ละม้าย ภูเดช มีบุตร-ธิดา 7 คน และเที่ยง บ้านกลาง มีบุตร-ธิดา 6 คน
  • หม่อมราชวงศ์บรรจง สมรสกับสุดจิตต์ เตมียสูตย์ มีธิดา 2 คน และกับนายแพทย์โพธิ์ นาคะเสถียร มีบุตร-ธิดา 2 คน

ในหม่อมเจิม

  • หม่อมราชวงศ์จรูญรัตน์ สมรสกับสวัสดิ์ (สกุลเดิม หทยานนท์) มีบุตร-ธิดา 2 คน

ในหม่อมผาด

  • หม่อมราชวงศ์ประเทือง สมรสกับละออ มีบุตร-ธิดา 6 คน และสุภาพ มีธิดา 1 คน

ในหม่อมนวล

  • หม่อมราชวงศ์แฉล้ม สมรสกับพันตรี นายแพทย์ หลวงฉัตรพลรักษ์ (ฉัตร พงศ์ศักดิ์) มีบุตร 1 คน

ในหม่อมทรัพย์

  • หม่อมราชวงศ์ชลอ มาลากุล

ในหม่อมถนอม

  • หม่อมราชวงศ์แข สมรสกับรัตน เชื้อสุวรรณ มีธิดา 1 คน
  • หม่อมราชวงศ์ประยูร สมรสกับสว่าง (สกุลเดิม วรรณมิตร) มีธิดา 1 คน, สีนวล มีบุตร-ธิดา 4 คน และอุทัย มีบุตร 1 คน
  • หม่อมราชวงศ์สมพงษ์ สมรสกับประทุม (สกุลเดิม ศรีใหม่) มีบุตร-ธิดา 7 คน
  • หม่อมราชวงศ์สมถวิล สมรสกับประธาน เขียวลายเลิศ มีธิดา 1 คน
  • หม่อมราชวงศ์เจริญ สมรสกับสำเนียง (สกุลเดิม เปรมสมิทธ์) มีบุตร-ธิดา 9 คน
  • หม่อมราชวงศ์ขจิตร์ สมรสกับร้อยตรีเดชา เจริญชื่น มีบุตรธิดา 2 คน
  • หม่อมราชวงศ์ละเวียด สมรสกับศิริ ปานไหล่ มีบุตรธิดา 3 คน

พระเกียรติยศ

[แก้]

พระอิสริยยศ

[แก้]
  • หม่อมเจ้าอลังการ (19 พฤษภาคม พ.ศ. 2404 – 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2443)
  • พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอลังการ (25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2443 – 13 มีนาคม พ.ศ. 2479)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
เชิงอรรถ

  1. การพระราชพิธีศรีสัจปานกาล พระราชทานพระชัยวัฒน์ องค์เล็ก แลเครื่องราชอิสริยาภรณ์ แลตั้งองคมนตรี (หน้า ๒๐๑)
  2. ประกาศพระบรมราชโองการ ประกาศพระราชทานยศแก่ข้าราชการ กระทรวงมหาดไทย (หน้า ๙๙๔)
  3. "สถาปนาพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอลังการ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-08-15. สืบค้นเมื่อ 2021-04-17.
  4. เครื่องยศที่ได้รับพระราชทานเวลารับพระสุพรรณบัตร แลสุพรรณบัตร
  5. ธำรงศักดิ์ อายุวัฒนะ. ราชสกุลจักรีวงศ์ และราชสกุลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2544. 490 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-222-648-2
  6. จตุตถจุลจอมเกล้า
  7. ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ
  8. พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 10 หน้า 417
  9. พระราชทานตราเครื่องราชอิสริยยศ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 1 หน้า 542
  10. "พระราชทานเหรียญราชินี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. หน้า 15 (ตอน 26): หน้า 283. 25 กันยายน ร.ศ. 117. สืบค้นเมื่อ 17 มีนาคม พ.ศ. 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)