ข้ามไปเนื้อหา

พจนานุกรมคังซี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พจนานุกรมคังซี
พจนานุกรมคังซี ฉบับตีพิมพ์ครั้งที่ 3 (ค.ศ. 1827)
ชื่อภาษาจีน
ภาษาจีน康熙字典
ชื่อภาษาเวียดนาม
จื๋อโกว๊กหงือKhang Hi tự điển
ฮ้าน-โนม康熙字典
ชื่อภาษาเกาหลี
ฮันกึล
강희자전
ฮันจา
康熙字典
ชื่อภาษาญี่ปุ่น
คันจิ康熙字典
ฮิรางานะこうきじてん
การถอดเสียง
เฮ็ปเบิร์นปรับปรุงKōki Jiten

พจนานุกรมคังซี (จีน: 康熙字典; พินอิน: Kāngxī zìdiǎn) เป็นพจนานุกรมจีนที่ตีพิมพ์ใน ค.ศ. 1716 ในช่วงสมัยราชวงศ์ชิงตอนกลาง ถือเป็นแหล่งอ้างอิงที่เชื่อถือที่สุดสำหรับการเขียนอักษรจีนตั้งแต่ช่วงตีพิมพ์จนถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 จักรพรรดิคังซีมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้รวบรวมในปี ค.ศ. 1710 เพื่อปรับปรุงพจนานุกรมก่อนหน้านี้ และเพื่อส่งเสริมมาตรฐานของระบบการเขียน โดยพจนานุกรมนี้ตั้งชื่อตามนามศักราชขององค์จักรพรรดิ พจนานุกรมนี้เป็นพจนานุกรมแบบดั้งเดิมที่ใหญ่ที่สุดโดยมีอักขระ 47,053 ตัว[1] ประมาณร้อยละ 40 เป็นอักขระรูปแบบต่าง ๆ ในขณะที่ส่วนอื่นเป็นอักขระที่เลิกใช้ โบราณ หรือพบแค่ครั้งเดียวในคลังข้อมูลภาษาจีนคลาสสิก โดยภาษาจีนที่เขียนในปัจจุบันมีการใช้ตัวอักษรในพจนานุกรมน้อยกว่าหนึ่งในสี่ของตัวอักษรทั้งหมด[2]

พจนานุกรมคังซีมีให้บริการในหลายรูปแบบ ตั้งแต่ฉบับบล็อกพิมพ์สมัยราชวงศ์ชิง ฉบับเย็บเล่มแบบจีนดั้งเดิม ฉบับแก้ไขในรูปแบบปกแข็ง ไปจนถึงฉบับดิจิทัล

การรวบรวม

[แก้]

โครงสร้าง

[แก้]
  • คำนำโดยจักรพรรดิคังซี: pp. 1–6 (御製序)
  • หมายเหตุ: pp. 7–12 (凡例)
  • สัทวิทยา: pp. 13–40 (等韻)
  • สารบัญ: pp. 41–49 (總目)
  • รายการตัวอักษร: pp. 50–71 (檢字)
  • เนื้อหาพจนานุกรม: pp. 75–1631
    • เนื้อหาหลัก: pp. 75–1538
    • เนื้อหาบทเพิ่มเติม: pp. 1539–1544 (補遺)
    • ข้อความบทเพิ่มเติม: pp. 1545–1576
    • เนื้อหาภาคผนวก (อักขระที่ไม่มีแหล่งที่มา): pp. 1577–1583 (備考)
    • ข้อความภาคผนวก: pp. 1585–1631
  • บทส่งท้าย: pp. 1633–1635 (後記)
  • การวิจัยเชิงเนื้อหา: pp. 1637–1683 (考證)

อ้างอิง

[แก้]
  1. "重啟康熙字典字頭校對工作 - 康熙字典論壇 - 康熙字典与倉頡之友 - Powered by Discuz!". www.chinesecj.com. สืบค้นเมื่อ 2023-03-28.
  2. Wilkinson (2018), p. 84.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]