ผู้เร่ร่อนดิจิทัล
ผู้เร่ร่อนดิจิทัล (อังกฤษ: digital nomad)[ม 1] คือบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่หาเลี้ยงชีพด้วยธุรกิจออนไลน์ การรับจ้างทำของ หรือทำงานกับนายจ้างของตนซึ่งตั้งอยู่ที่อื่นผ่านทางระบบโทรคมนาคม พร้อมกับเดินทางท่องเที่ยวไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่งคล้ายกับชนเร่ร่อน[1] บุคคลเหล่านี้บางคนอาจเลือกอาศัยเป็นหลักแหล่งในประเทศใดประเทศหนึ่งเป็นถิ่นพำนัก เพื่อใช้เป็นฐานสำหรับทำงานและท่องเที่ยวในประเทศข้างเคียง
โดยมากแล้ว ผู้เร่ร่อนดิจิทัลมักอยู่ในสถานที่ ๆ สามารถสมาคมกับผู้อื่นได้ง่ายและราคาค่าใช้งานไม่แพง อาทิ ห้องสมุดสาธารณะ ร้านกาแฟ หรือสถานสำหรับทำงานร่วมกันและสนทนา และมักเลือกประเทศที่ตนใช้สิทธิ์ยกเว้นใบอนุญาตเข้าเมืองหรือมีค่าธรรมเนียมไม่สูงไปพร้อม ๆ กับได้่คุณภาพชีวิตที่เหมาะแก่เงินที่ต้องจ่ายได้ ยิ่งไปกว่านั้นประเทศหรือเมืองใดที่มีผู้เร่ร่อนดิจิทัลอาศัยมากก็มักจะมีการบอกต่อกันให้มาอยู่อาศัยด้วย ผู้เร่ร่อนดิจิทัลบางคนกล่าวว่า การเดินทางพเนจรไปพร้อมกับการทำงานช่วยเพิ่มความคิดสร้างสรรค์และเพิ่มศักยภาพให้ไม่จำกัดแต่ในกรอบหรือจำกัดด้วยแรงงานท้องถิ่น[2]
ความหมาย
[แก้]คำว่า ดิจิทัลโนแมด หรือผู้เร่ร่อนดิจิทัล นั้น ปรากฏเป็นครั้งแรกในหนังสือของสึงิโอ มะกิโมะโตะ (Tsugio Makimoto) และเดวิด แมนเนอส์ (David Manners) เมื่อปี พ.ศ. 2540[3] หมายถึง บุคคลที่หาเลี้ยงชีพด้วยการค้าออนไลน์ การรับจ้างทำของ (เช่น ทำเว็บไซต์ เขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ออกแบบกราฟิก วิเคราะห์ข้อมูล ออกแบบการสื่อสารการตลาด ฯลฯ) หรือการรับจ้างแรงงานกับนายจ้างซึ่งตั้งอยู่ที่อื่นผ่านทางระบบโทรคมนาคม [4][5]โดยมากมักทำงานตามร้านกาแฟ สำนักงานจัดเฉพาะ พื้นที่ทำงานร่วมกัน หรือสถานที่อื่น[6] พร้อมกันนั้นก็เดินทางท่องเที่ยวหาความบันเทิงอยู่ไม่เป็นหลักแหล่ง ผู้เร่ร่อนดิจิทัลบางคนออกนอกประเทศของตนเพียงเพื่อไม่ต้องชำระภาษีเงินได้ในอัตราสูงในขณะที่จะใช้ชีวิตได้อย่างสบาย มีรายได้สูง การเป็นผู้เร่ร่อนดิจิทัลนั้นมักต้องขายหรือให้เช่าบ้านอันเป็นนิวาสสถานเดิมของผู้นั้นเสียเพื่อไม่ให้เป็นภาระค่าใช้จ่าย อาทิ ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า และค่าภาษีบำรุงท้องที่[7]
แม้ว่าศัพท์ ผู้เร่ร่อนดิจิทัล จะปรากฏไม่นานมานี้ แต่พฤติกรรมการเร่ร่อนก็มีมาก่อนหน้านั้นแล้ว โดยมีหลักฐานในปี พ.ศ. 2526 สตีฟส์ โรเบิตส์ (Steve Roberts) ขี่รถจักรยานเอนหลัง (recumbent bicycle) ตามที่ปรากฏในนิตยสาร ป็อปปูลาร์คอมพิวติง (Popular Computing) สองปีถัดมา ระบบโมโตแซต (Motosat) ถูกติดตั้งบนรถทำให้สามารถใช้อินเทอร์เน็ตได้ และสามารถติดต่อสื่อสารในการทำงานได้ไม่ยาก ยิ่งในปัจจุบันมีเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตไร้สาย ทำให้บุคคลอายุน้อยจำนวนมากต้องการออกจากงานในสำนักงานมาทำงานไปพร้อม ๆ กับท่องเที่ยว ใช้ชีวิตแบบเร่รอนได้ตามความปรารถนาของตน ช่วงหลัง พ.ศ. 2557 ได้มีเว็บไซต์หนึ่งทำหน้าที่จัดอันดับประเทศและเมืองที่ควรพักอาศัย ทำให้การเป็นผู้เร่ร่อนดิจิทัลเป็นที่นิยมมากขึ้น[3] [8][9] ยิ่งไปกว่านั้น จำนวนผู้เร่ร่อนดิจิทัลที่มีมากก่อให้เกิดการประชุมระหว่างชาติสำหรับคนกลุ่มนี้ (เช่น DNX) เป็นประจำทุกปี[10][11][12][13][14][15]
เป้าหมายของผู้เร่ร่อนดิจิทัล
[แก้]จากข้อมูลหลายแหล่ง จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย และเกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย เป็นสถานที่ ๆ ผู้เร่ร่อนดิจิทัลมักเลือกเป็นฐานในการพักอาศัย ทำงาน และท่องเที่ยวในประเทศรอบข้าง ในส่วนของประเทศไทยนั้น คนกลุ่มนี้ให้เหตุผลว่ามีค่าครองชีพที่ไม่แพงและคุณภาพชีวิตดี ส่วนประเทศอินโดนีเซียมีธรรมชาติที่สวยงามและมีนโยบายยกเว้นการตรวจลงตราแบบไม่จำกัด[16] [17][18] ผู้เร่ร่อนดิจิทัลบางคนเลือกอาศัยในเมืองค่าครองชีพปานกลางด้วยเหตุผลด้านความสะดวกปลอดภัย อาทิ สิงคโปร์ ออสโล[17] บริสตอล เบอร์มิงแฮม ไบรตัน ฯลฯ [19]
ประเด็นทางกฎหมาย
[แก้]ผู้เร่ร่อนดิจิทัลนั้นบางทัศนะถือว่าไม่ได้เป็นนักท่องเที่ยวโดยบริสุทธิ์ใจ เนื่องจากมีการทำงานให้เกิดรายได้เป็นส่วนประกอบสำคัญ แต่บางทัศนะถือว่าเป็นนักท่องเที่ยว เพราะงานที่คนเหล่านั้นทำไม่ได้รบกวนตำแหน่งงานของคนพื้นถิ่น ซึ่งหากต้องใช้คนต่างชาติจะต้องขอใบอนุญาตทำงาน ข้อนี้เป็นประเด็นถกเถียงทางกฎหมายพอสมควร บางประเทศ อาทิ ออสเตรเลีย[20] นิวซีแลนด์ ไทย (เฉพาะสัญชาติออสเตรเลียและนิวซีแลนด์)[21] จัดโครงการตรวจลงตราประเภทท่องเที่ยวพร้อมทำงาน ผู้ได้รับตรวจลงตราประเภทนี้สามารถท่องเที่ยวไปพร้อมกับทำงานในตำแหน่งลูกจ้างชั่วคราวของบริษัทห้างร้านได้นอกเหนือจากการทำงานออนไลน์ ข้อเสียของโครงการเหล่านี้คือ บุคคลทีเข้าร่วมโครงการต้องมีการศึกษาอย่างน้อยปริญญาตรี เป็นโสด และอายุไม่เกิน 30 ปี ในอนาคตคาดว่าหลายประเทศจะได้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายตรวจลงตราให้ครอบคลุมถึงการเข้ามาท่องเที่ยวพร้อมกับประกอบอาชีพอิสระแต่ไม่ทำงานในห้างร้านมากขึ้น
ในประเทศไทย คนชาติบางประเทศสามารถใช้สิทธิ์ยกเว้นการตรวจลงตราหรือใบอนุญาตเข้าเมืองได้ 30 วัน หรือ ผ.30 (ต่ออายุไม่ได้และจำกัดจำนวนต่อปี) หรือใช้ใบอนุญาตเข้าเมืองประเภทนักท่องเที่ยวจำนวน 60 วัน ซึ่งขยายเวลาได้หนึ่งครั้งจำนวน 30 วัน เมื่อครบกำหนด 90 วัน (นับวันที่ 1 ที่เข้าประเทศไทย) จะต้องเดินทางออกไปก่อนทำใบอนุญาตเข้าเมืองเข้ามาใหม่ ทำให้เป็นที่ต้องสงสัยของเจ้าหน้าที่ว่าทำงานผิดกฎหมายหรือไม่จนเป็นเหตุปฏิเสธไม่ให้เข้าเมือง[22] รัฐบาลไทยได้ยกเลิกใบอนุญาตเข้าเมืองประเภทเข้าได้สองและสามครั้งลงเมื่อ พ.ศ. 2558 ก่อนเปลี่ยนเป็นประเภทเข้าได้หลายครั้งภายใน 6 เดือน[23] ถึงกระนั้นก็ยังไม่ตอบโจทย์ของผู้เร่ร่อนดิจิทัล เนื่องจากค่าธรรมเนียมที่สูงเกินไป การจำกัดสัญชาติ และการที่ต้องออกนอกประเทศทุก ๆ 60 วัน
ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2561 รัฐบาลไทยออกวีซ่าระยะยาวซึ่งเดิมคาดว่าจะทำให้กับคนเร่ร่อนดิจิทัล แต่ต่อมาได้มีการกำหนดกลุ่มบุคคลที่จะขอวีซ่าดังกล่าวไว้ดังนี้[24]
- นักลงทุนในอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยี โดยมีเงินลงทุนไม่น้อยกว่า 20 ล้านบาท
- ผู้บริหารที่มีประสบการณ์ 10 ปีขึ้นไปพร้อมปริญญาตรีหรือสูงกว่า หรือเป็นผู้ทรงคุณวุฒิและความเชี่ยวชาญ ได้รับเงินเดือนไม่น้อยกว่า 200,000 บาท (ถือเป็นจำนวนที่มากแม้จะเป็นประเทศสหรัฐอเมริกาหรือประเทศที่เจริญแล้วก็ตาม)
- ผู้มีเงินทุน 600,000 บาท ต้องการสร้างกิจการในประเทศไทย
วีซ่าข้างต้นลักษณะคล้ายกับ Tech Visa หรือ Passeport Talent (ปัสปอร์ตาลอง) ของประเทศฝรั่งเศส[25] จึงถือว่ายังไม่เหมาะนักสำหรับคนเร่ร่อนดิจิทัล
ดูเพิ่ม
[แก้]- งานที่ไม่ขึ้นกับสถานที่ (location independence)
- เทเลคอมมิวเตอร์
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ ยังไม่มีศัพท์บัญญัติภาษาไทย แต่คำ nomad (เอกพจน์) หมายถึงสมาชิกแห่งชนเผ่าเร่ร่อนหรือคนเร่ร่อนที่อยู่ไม่เป็นหลักแหล่ง ตามพจนานุกรมศัพท์รัฐศาสตร์ของราชบัณฑิตยสภา เก็บถาวร 2017-07-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ใช้ ชนร่อนเร่ ส่วนพจนานุกรมศัพท์ประชากรศาสตร์ฯ ใช้ ผู้เร่ร่อน หรือ คนพเนจร การใช้ ผู้เร่ร่อนดิจิทัล หรือ คนเร่ร่อนดิจิทัล จึงเหมาะสมมากกว่าทับศัพท์โดยตรง
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Mohn, Tanya. "How To Succeed At Becoming A Digital Nomad".
- ↑ . VOA Thai. 1 August 2017 https://www.voathai.com/a/digital-nomad/3966803.html. สืบค้นเมื่อ 4 January 2018.
{{cite news}}
:|title=
ไม่มีหรือว่างเปล่า (help) - ↑ 3.0 3.1 Gilbert, Christine (September 6, 2013). "A Brief History of Digital Nomading". Almost Fearless. สืบค้นเมื่อ December 8, 2017.
- ↑ Tsugio Makimoto & David Manners (1 January 1997), Digital nomad, Wiley
- ↑ Mike Elgan (1 August 2009), Is Digital Nomad Living Going Mainstream?, Computerworld, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-23, สืบค้นเมื่อ 2018-01-05
- ↑ Colella, Kristin (2016-07-13). "5 'digital nomads' share their stories from around the world" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). TheStreet.com. สืบค้นเมื่อ 2016-07-30.
- ↑ "What is a digital nomad?". Nomad Radar. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-01. สืบค้นเมื่อ November 19, 2017.
- ↑ BBC Capital (22 November 2017), The digital nomads working in paradise, BBC
- ↑ Anna Hart (17 May 2015), Living and working in paradise: the rise of the 'digital nomad', The Telegraph
- ↑ "Marcus & Feli: Work Hard and Travel the World," The Surf Office, January 5, 2015
- ↑ "Nomad Summit" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-19. สืบค้นเมื่อ 2017-09-20.
- ↑ "Digital Nomad Conference". DNX.
- ↑ Steven Melendez (23 March 2015), Work From Anywhere But Home: Startups Emerge to Turn You Into a Globetrotting Digital Nomad, Fast Company
- ↑ Rosie Spinks (16 June 2015), Meet the 'digital nomads' who travel the world in search of fast Wi-Fi, The Guardian
- ↑ Kavi Guppta (25 February 2015), Digital Nomads Are Redefining What It Means To Be Productive, Forbes
- ↑ CNN (27 June 2016), Want to escape the office? Top 10 cities for digital nomads, CNN
- ↑ 17.0 17.1 "Traveling as a Digital Nomad". Scott's Cheap Flights. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-01. สืบค้นเมื่อ November 23, 2017.
- ↑ "Bangkok, A Digital Nomad Hub – Moving Nomads". movingnomads.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2017-12-09.
- ↑ "Living and working in paradise: the rise of the 'digital nomad'". The Telegraph. May 17, 2015. สืบค้นเมื่อ December 19, 2017.
- ↑ "Work and Holiday visa (Subclass 462)". Australian Embassy Thailand. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-01-20. สืบค้นเมื่อ 4 January 2018.
- ↑ "Thailand Working Holiday Visa". Immigration New Zealand.
- ↑ "หลักเกณฑ์ของ สตม. เกี่ยวกับระยะเวลาที่อนุญาตให้พำนักและการขออยู่ต่อในราชอาณาจักร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-01-28. สืบค้นเมื่อ 4 มกราคม 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ "รัฐบาลไทยออกวีซ่าใหม่ นักท่องเที่ยวเข้าออกได้หลายครั้งใน 6 เดือน-กระตุ้นท่องเที่ยว". 23 กันยายน 2558. สืบค้นเมื่อ 4 มกราคม 2561.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ Board of Investment. Thailand's Smart Visa. January 2018
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-15. สืบค้นเมื่อ 2018-02-21.