ข้ามไปเนื้อหา

ผู้หญิงในสายน้ำ...นิทานลุ้นระทึก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ผู้หญิงในสายน้ำ...นิทานลุ้นระทึก
ไฟล์:Ladyinthewater pos gal.jpg
กำกับเอ็ม. ไนท์ ชยามาลาน
เขียนบทเอ็ม. ไนท์ ชยามาลาน
อำนวยการสร้างแซม เมอร์เซอร์
เอ็ม. ไนท์ ชยามาลาน
นักแสดงนำพอล จิอาแม็ตตี
ไบรซ์ ดัลลาส โฮเวิร์ด
บ็อบ บาลาบาน
เจฟฟรีย์ ไรต์
ซาริตา เคลาฮูรี
ซินดี ชุง
เอ็ม. ไนท์ ชยามาลาน
ผู้บรรยายเดวิด ออกเด็น สไตเออส์
กำกับภาพคริสโตเฟอร์ ดอยด์
ตัดต่อบาร์บารา ทัลลิเวอร์
ดนตรีประกอบเจมส์ นิวตัน โฮเวิร์ด
บริษัทผู้สร้าง
ผู้จัดจำหน่ายวอร์เนอร์บราเธอร์พิกเจอส์
วันฉาย
  • 21 กรกฎาคม ค.ศ. 2006 (2006-07-21)

(สหรัฐอเมริกา)
  • 20 กรกฎาคม ค.ศ. 2006 (2006-07-20)

(ไทย)
ความยาว109 นาที[1]
ประเทศสหรัฐอเมริกา
ภาษาอังกฤษ
ทุนสร้าง70 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[2]
ทำเงิน72,785,169 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[2]

ผู้หญิงในสายน้ำ...นิทานลุ้นระทึก (อังกฤษ: Lady in the Water) ภาพยนตร์ระทึกขวัญแฟนตาซีสัญชาติฮอลลีวู้ด ออกฉายในปี ค.ศ. 2006

เนื้อเรื่องย่อ

[แก้]

คลิฟแลนด์ ฮิพ ผู้ดูแลอพาร์ตเมนต์แห่งหนึ่งที่โคฟ คลิฟแลนด์ต้องประสบกับปัญหาสารพันของบรรดาผู้พักอาศัย คืนหนึ่ง เขาได้พบกับหญิงสาวลึกลับคนหนึ่งที่สระน้ำของอพาร์ทเมนต์ เธอมีชื่อว่า สตอรี่ สตอรี่ไม่ใช่มนุษย์ธรรมดา แต่เธอเป็นนาร์ฟ ซึ่งคล้ายกับตัวนิมฟ์ในนิทานก่อนนอนที่เล่าขานกันมานาน สตอรี่กำลังถูกตามล่าโดยสัตว์ร้ายที่ชื่อ "ทาร์-ทู-ทิค" ที่พยายามกีดกันไม่ให้เธอเดินทางฝ่าอันตราย กลับจากโลกมนุษย์เพื่อไปยังโลกของเธอ พลังพิเศษในการหยั่งรู้ของสตอรี่ ได้เผยชะตาของบรรดาผู้พักอาศัยของคลีฟแลนด์ ซึ่งผูกพันโดยตรงกับชะตาของเธอ และพวกเขาทุกคนจะต้องร่วมกันถอดรหัสที่หลากหลาย ซึ่งจะเป็นกุญแจสู่อิสรภาพของเธอ

นักแสดง

[แก้]
ไฟล์:Lady in the water 2006 teaser.jpg
ทีเซอร์โปสเตอร์ก่อนฉาย

เบื้องหลังและคำวิพากษ์วิจารณ์

[แก้]

Lady in the Water เป็นภาพยนตร์ที่แตกต่างไปจากเรื่องอื่น ๆ ก่อนหน้านี้ของเอ็ม. ไนท์ ชยามาลาน ผู้กำกับฯชาวอเมริกันเชื้อสายอินเดีย ไปโดยสิ้นเชิง โดยไม่มีจุดจบที่หักมุมหรือบรรยายกาศสยองขวัญตามที่คุ้นเคย หากแต่เป็นภาพยนตร์ในแนวแฟนตาซีผสมระทึกขวัญ ซึ่งชยามาลานได้รับเค้าโครงเรื่องมาจากมาจากนิทานก่อนนอนที่เล่าให้ลูก ๆ ฟัง และเป็นเรื่องแรกด้วยที่ได้เปลี่ยนมาสร้างภาพยนตร์กับวอร์เนอร์บราเธอร์พิกเจอร์ส จากเดิมซึ่งเป็นดีสนีย์พิกเจอร์ส ซึ่งได้เริ่มการสร้างเบื้องต้นไว้แล้วด้วยซ้ำ และหนึ่งในนักแสดงที่ทางชยามาลานวางตัวให้รับบทคลิฟแลนด์ ฮิพ คือ เควิน คอสต์เนอร์ ด้วย[3][4][5]

เมื่อเข้าฉายแล้ว เสียงวิจารณ์ที่ออกมาแทบจะเป็นไปทางเดียวกันเลยว่า เช่น ไม่ดี ดูไม่รู้เรื่อง เนื้อเรื่องไม่ชวนให้ติดตามและความสัมพันธ์ของตัวละครแต่ละตัวยังอ่อนอยู่ เป็นต้น และต่อมาภาพยนตร์ได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัลราสเบอรี่ทองคำหรือภาพยนตร์ยอดแย่ถึง 3 รางวัลด้วยกัน ได้แก่ ภาพยนตร์ยอดแย่, ผู้กำกับยอดแย่, นักแสดงประกอบชายยอดแย่ และคว้ารางวัลนักแสดงประกอบชายยอดแย่ไปได้ ด้วยการรับบทเองของ ชยามาลาน ซึ่งเป็นครั้งแรกที่มารับบทเป็นนักแสดงที่มีบทบาทเองแทนที่จะเป็นเพียงตัวประกอบฉากเหมือนอย่างที่ผ่าน ๆ มา ทางผู้ให้รางวัลให้เหตุผลว่า ชยามาลานหลงตัวเองกับความสำเร็จของตัวมากเกินไป ถึงขนาดในเรื่องยกให้ตัวเองเป็นนักเขียนที่กอบกู้โลกเลยทีเดียว [6]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Lady in the Water (PG)". British Board of Film Classification. 2006-07-26. สืบค้นเมื่อ 2011-10-09.
  2. 2.0 2.1 "Lady in the Water (2006)". Box Office Mojo. สืบค้นเมื่อ December 27, 2012.
  3. Brian Lowry, Lady in the Water, Variety, July 16, 2006, Accessed May 10, 2008.
  4. Peter Travers, Lady in the Water เก็บถาวร 2009-05-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Rolling Stone, July 20, 2006, Accessed May 10, 2008.
  5. Sink or Swim เก็บถาวร 2013-08-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Entertainment Weekly, July 7, 2006, accessed May 10, 2008.
  6. The New York Times (July 2006) "Finding Magic Somewhere Under the Pool in Lady in the Water" by Manohla Dargis

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]