ผูลัน เทวี
ผูลัน เทวี | |
---|---|
ไฟล์:Non-free picture of Phoolan Devi.jpg | |
สมาชิกโลกสภาเขตมีรซาปุระ | |
ดำรงตำแหน่ง 1996–1998 | |
ก่อนหน้า | วิเรนทระ สิงห์ |
ถัดไป | วิเรนทระ สิงห์ |
ดำรงตำแหน่ง 1999 – 25 กรกฎาคม 2001 | |
ก่อนหน้า | วิเรนทระ สิงห์ |
ถัดไป | ราม รตี พินฑ์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | ผูลัน มัลละห์ 10 สิงหาคม ค.ศ. 1963 ชเลา รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย |
เสียชีวิต | 25 กรกฎาคม ค.ศ. 2001 นิวเดลี ประเทศอินเดีย | (37 ปี)
สาเหตุการเสียชีวิต | ลอบสังหารด้วยอาวุธปืน |
พรรคการเมือง | พรรคสมาชวที |
คู่สมรส |
|
บุพการี |
|
อาชีพ | |
ผูลัน เทวี (อักษรโรมัน: Phoolan Devi, 10 สิงหาคม 1963 – 25 กรกฎาคม 2001) หรือเป็นที่รู้จักในชื่อ แบนดิตควีน (อังกฤษ: Bandit Queen; รานีแห่งเหล่าโจร) เป็นดาคอยต์ (โจร) ที่ต่อมาเป็นนักการเมือง ดำรงตำแหน่งสมาชิกรัฐสภาจนถูกลอบสังหาร เธอเป็นสมาชิกของวรรณย่อยมัลละห์และเติบโตมาในรัฐอุตตรประเทศ ที่ซึ่งครอบครัวของเธอเสียที่ดินไปในข้อพิพาททางกฎหมายซึ่งต่อมานำมาสู่ปัญหามากมาย หลังแต่งงานออกจากเรือนไปเมื่ออายุได้สิบเอ็ดและถูกล่วงละเมิดทางเพศโดยผู้คนมากมาย เธอหันไปเข้าร่วมกับกลุ่มอาชญากรรมดาคอยต์ กลุ่มอาชญากรรมของเธอปล้นสมาชิกของวรรณะที่สูงกว่าและยึดรถไฟกับยานพาหนะต่าง ๆ เมื่อครั้นเธอลงโทษคนที่ข่มขืนเธอในอดีตที่กำลังหลีกหนีการลงโทษโดยทางการ เธอกลายมาเป็นวีรสตรีของวรรณะล่างอื่นซึ่งมองเธอในฐานะบุคคลอย่างโรบิน ฮูด เทวีถูกพิพากษามีความผิด โดยลับหลังจำเลย ในการก่อเหตุฆาตกรรมหมู่ปี 1981 ที่เพหมาอี (Behmai massacre) ที่ซึ่งชายวรรณะฐากุรสิบคนถูกฆาตกรรม โดยที่เธอถูกตั้งข้อหาว่าเป็นผู้บงการ หลังเหตุการณ์ครั้งนั้น มุขยมนตรีรัฐอุตตรประเทศลาออกจากตำแหน่ง และมีการเรียกร้องไปทั่วให้จำกุมเธอ เธอเข้ามอบตัวในสองปีให้หลังภายใต้การเจรจาต่อรองอย่างรอบคอบ ท้ายที่สุดเธอถูกจำคุกสิบเอ็ดปีในควาลิยัรขณะรอการตัดสินจากศาล
ผูลัน เทวี ได้รับการปล่อยตัวจากเรือนจำในปี 1994 หลังข้อหาเธอยกฟ้อง หลังจากนั้นมาเธอลงเล่นการเมืองและชนะตำแหน่งในโลกยสภาในฐานะผู้สมัครของพรรคสมาชวทีในปี 1996 เธอแพ้ในการเลือกตั้งปี 1998 ก่อนจะชนะได้ตำแหน่งคืนมาอีกครั้งในปี เธอดำรงตำแหน่งอยู่จนเสียชีวิตในปี 2001 ที่ซึ่งเธอถูกลอบสังหารโดยเชร์ สิงห์ ราณา ซึ่งถูกตัดสินมีความผิดฐานฆาตกรรมในปี 2014 ตอนที่เสียชีวิต เธอกำลังต่อสู้กับข้อหาอาชญากรรมที่ถูกรื้อฟื้นกลับมาใหม่ หลังการยื่นอุทธรณ์ในปี 1996 ต่อศาลสูงสุดให้ยกฟ้องไม่เป็นผลสำเร็จ ชื่อเสียงระดับโลกของเธอมาหลังจากการเปิดตัวภาพยนตร์ปี 1994 เรื่อง Bandit Queen ซึ่งเป็นที่ถกเถียงอย่างมาก ภาพยนตร์บอกเล่าเรื่องราวชีวิตของเธอในรูปแบบที่เธอไม่ได้ยินยอม ชีวิตของเธอยังเป็นแรงบันดาลใจไปสู่ชีวประวัติ และอัตชีวประวัติที่เธอกำกับการเขียนในชื่อ I, Phoolan Devi เรื่องราวชีวิตของเธอมีการบันทึกไว้หลายรูปแบบเนื่องจากเธอได้บอกเล่ารูปแบบที่ต่างกันตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปตลอดของเธอ
ชีวิตช่วงต้น
[แก้]ผูลัน เทวี เกิดเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 1963 ในหมู่บ้านโครหะ กา ปูรวะ (Gorha Ka Purwa) อำเภอชเลา รัฐอุตตรประเทศ[A][2]: 42 [3] หมู่บ้านที่เธอเกิดและเติบโตมีแม่น้ำยมุนาและจัมพัลตัดผ่าน และในพื้นที่ยังเต็มไปด้วยโกรกธารและหุบเขาลึก ทำให้เป็นสภาพภูมิประเทศที่เหมาะต่อการเป็นดาคอยต์ (โจร)[4]: 244 ครอบครัวของเธอมีฐานะยากจน และมาจากวรรณย่อยมัลละห์ ซึ่งจัดเป็นวรรณะล่าง ๆ ของระบบวรรณะในประเทศอินเดียตามคติศาสนาฮินดู มัลละห์ถือเป็นวรรณะศูทร ซึ่งตามธรรมเนียมจะประกอบอาชีพคนจับปลา[B][2]: 57 [7] ผูลัน เทวี และพี่น้องสาวของเธอทำก้อนอุจจาระตากแห้งเพื่อใช้เป็นแหล่งเชื้อเพลิง ลักษณะเช่นนี้พบได้ทั่วไปในภูมิภาคนี้ ครอบครัวของเธอทำเกษตรเพาะปลูกถั่วลูกไก่, ทานตะวัน และ ลูกเดือย[2]: 32–34, 57 [8][9]
มารดาของผูลัน เทวี มีชื่อว่า มูละ (Moola) และบิดาชื่อว่า เทวิทิน (Devidin) เธอมีพี่น้องผู้หญิงสี่คน เทวิทินมีพี่/น้องชายหนึ่งคนชื่อ พิหารีลาล (Biharilal) ซึ่งมีลูกชายชื่อ ไมยทิน (Maiyadin) พิหารีลาลและไมยทินขโมยที่ดินจากบิดาของผูลัน เทวี ผ่านการส่งส่วยให้แก่ผู้นำหมู่บ้านเพื่อแก้ไขบันทึกที่ดิน ครอบครัวของเธอถูกบังคับต้อนให้อาศัยอยู่ในบ้านหลังเล็กบนชายขอบของหมู่บ้าน ทั้งลุงและลูก ๆ ของลุงยังคงรังควานและขโมยผลผลิตของครอบครัวเธอมาตลอด โดยมีความตั้งใจที่จะขับไล่ให้ครอบครัวเธอออกไปจากหมู่บ้าน[2]: 31 เมื่ออายุได้ 10 ปี เธอเริ่มประท้วงต่อต้านความอยุติธรรมที่เกิดขึ้น เธอและพี่สาว รุขมินี (Rukhmini) ประท้วงโดยการไปนั่งในที่ดินที่เป็นข้อพิพาท และกินถั่วลูกไก่ที่ปลูกบนที่ดินผืนนั้น ระบุว่าที่ดินนี้เป็นของครอบครัวเธอ ไมยทินมีคำสั่งให้เธอออกไปจากที่ดินนี้ และเมื่อเธอปฏิเสธ เธอถูกทุบตีจนหมดสติ หลังจากนั้นผู้นำหมู่บ้านได้ออกประกาศว่าพ่อแม่ของเธอก็สมควรจะถูกทุบตีเช่นกัน[2]: 32–35 [10] ในปี 2018 มารดาของผูลัน เทวี ระบุกับ ดิเอเชียนเอจ ว่า เธอยังคงต่อสู้เพื่อทวงคืนที่ดินที่ไมยทินขโมยไปจากครอบครัวเธออยู่[11]
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ มีชื่ออยู่หลายแบบในเอกสารต่าง ๆ เช่น โครหะ กา ปูรวะ (Gorha Ka Purwa) กับ โครหปูรวะ (Gorhapurwa); วิกรม (ในรูป Vikram และ Vickram); ปุฏฏิ ลาล (Putti Lal) กับ ปุฏฏิลาล (Puttilal)[1]
- ↑ สังคมอินเดียแบ่งออกเป็นสี่วรรณะหรือชนชั้นทางสังคม จากบนลงล่างได้แก่ พรหมิณ (นักบวช), กษัตริยะ (นักรบ), ไวษยะ (คนค้าขาย) และ ศูทร (คนใช้แรงงาน)[5]: 194 ข้างใต้ต่อสี่วรรณะนี้คือทลิตหรือผู้ที่มิอาจแตะต้องสัมผัสได้[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อSzurlej
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 Sen, Mala (1995) [1991]. India's Bandit Queen: The true story of Phoolan Devi. London: Pandora. ISBN 978-0-04-440888-8.
- ↑ "Phoolan Devi birth anniversary: An exceptional journey of the Bandit Queen". CNBC TV18 (ภาษาอังกฤษ). 10 August 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 November 2022. สืบค้นเมื่อ 28 November 2022.
- ↑ Arquilla, John (2011). Insurgents, raiders, and bandits. Lanham, Maryland, US: Rowman & Littlefield. ISBN 978-1-56663-832-6. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 January 2023. สืบค้นเมื่อ 3 December 2021.
- ↑ Peacock, J. Sunita (10 January 2014). "Phoolan Devi: The primordial tradition of the Bandit Queen". ใน Dong, Lan (บ.ก.). Transnationalism and the Asian American heroine: Essays on literature, film, myth and media (ภาษาอังกฤษ). Jefferson, North Carolina, US: McFarland & Company. pp. 187–195. ISBN 978-0-7864-6208-7.
- ↑ Rathod, Bharat (2022). "Introduction". Dalit academic journeys: Stories of caste, exclusion and assertion in Indian higher education (ภาษาอังกฤษ) (Ebook ed.). New Delhi: Routledge. pp. 1–31. doi:10.4324/9781003224822-1. ISBN 978-1-003-22482-2. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 December 2022. สืบค้นเมื่อ 21 December 2022.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อTelegraph-obit
- ↑ Moxham, Roy (2010). "Chapter 5". Outlaw: India's Bandit Queen and me (Ebook ed.). London: Rider. ISBN 978-1-84604-182-2.
- ↑ 9.0 9.1 Jeffery, Roger; Jeffery, Patricia; Lyon, Andrew (1989). "Taking dung-work seriously: Women's work and rural development in north India". Economic and Political Weekly. 24 (17): 32–37. ISSN 0012-9976. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 October 2023. สืบค้นเมื่อ 18 October 2023.
- ↑ Weaver, Mary Anne (1 November 1996). "India's Bandit Queen". The Atlantic (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 December 2022. สืบค้นเมื่อ 20 December 2022.
- ↑ Verma, Amita (14 July 2018). "Fight for Phoolan's political legacy". The Asian Age. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 December 2022. สืบค้นเมื่อ 20 December 2022.
แหล่วข้อมูลอื่น
[แก้]- Frain, Irène (1993). Devi (ภาษาฝรั่งเศส). Paris: France loisirs. ISBN 978-2-7242-7375-5.
- Shears, Richard; Gidley, Isobelle (1984). Devi: The Bandit Queen (ภาษาอังกฤษ). London: Allen & Unwin. ISBN 978-0-04-920097-5.