ผูลัน เทวี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ผูลัน เทวี
ไฟล์:Non-free picture of Phoolan Devi.jpg
สมาชิกโลกสภาเขตมีรซาปุระ
ดำรงตำแหน่ง
1996–1998
ก่อนหน้าวิเรนทระ สิงห์
ถัดไปวิเรนทระ สิงห์
ดำรงตำแหน่ง
1999 – 25 กรกฎาคม 2001
ก่อนหน้าวิเรนทระ สิงห์
ถัดไปราม รตี พินฑ์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
ผูลัน มัลละห์

10 สิงหาคม ค.ศ. 1963(1963-08-10)
ชเลา รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย
เสียชีวิต25 กรกฎาคม ค.ศ. 2001(2001-07-25) (37 ปี)
นิวเดลี ประเทศอินเดีย
สาเหตุการเสียชีวิตลอบสังหารด้วยอาวุธปืน
พรรคการเมืองพรรคสมาชวที
คู่สมรส
  • ปุฏฏิลาล
  • อุเมท สิงห์
บุพการี
  • เทวิทิน (บิดา)
  • มูละ เทวี (มารดา)
อาชีพ

ผูลัน เทวี (อักษรโรมัน: Phoolan Devi, 10 สิงหาคม 1963 – 25 กรกฎาคม 2001) หรือเป็นที่รู้จักในชื่อ แบนดิตควีน (อังกฤษ: Bandit Queen; รานีแห่งเหล่าโจร) เป็นดาคอยต์ (โจร) ที่ต่อมาเป็นนักการเมือง ดำรงตำแหน่งสมาชิกรัฐสภาจนถูกลอบสังหาร เธอเป็นสมาชิกของวรรณย่อยมัลละห์และเติบโตมาในรัฐอุตตรประเทศ ที่ซึ่งครอบครัวของเธอเสียที่ดินไปในข้อพิพาททางกฎหมายซึ่งต่อมานำมาสู่ปัญหามากมาย หลังแต่งงานออกจากเรือนไปเมื่ออายุได้สิบเอ็ดและถูกล่วงละเมิดทางเพศโดยผู้คนมากมาย เธอหันไปเข้าร่วมกับกลุ่มอาชญากรรมดาคอยต์ กลุ่มอาชญากรรมของเธอปล้นสมาชิกของวรรณะที่สูงกว่าและยึดรถไฟกับยานพาหนะต่าง ๆ เมื่อครั้นเธอลงโทษคนที่ข่มขืนเธอในอดีตที่กำลังหลีกหนีการลงโทษโดยทางการ เธอกลายมาเป็นวีรสตรีของวรรณะล่างอื่นซึ่งมองเธอในฐานะบุคคลอย่างโรบิน ฮูด เทวีถูกพิพากษามีความผิด โดยลับหลังจำเลย ในการก่อเหตุฆาตกรรมหมู่ปี 1981 ที่เพหมาอี (Behmai massacre) ที่ซึ่งชายวรรณะฐากุรสิบคนถูกฆาตกรรม โดยที่เธอถูกตั้งข้อหาว่าเป็นผู้บงการ หลังเหตุการณ์ครั้งนั้น มุขยมนตรีรัฐอุตตรประเทศลาออกจากตำแหน่ง และมีการเรียกร้องไปทั่วให้จำกุมเธอ เธอเข้ามอบตัวในสองปีให้หลังภายใต้การเจรจาต่อรองอย่างรอบคอบ ท้ายที่สุดเธอถูกจำคุกสิบเอ็ดปีในควาลิยัรขณะรอการตัดสินจากศาล

ผูลัน เทวี ได้รับการปล่อยตัวจากเรือนจำในปี 1994 หลังข้อหาเธอยกฟ้อง หลังจากนั้นมาเธอลงเล่นการเมืองและชนะตำแหน่งในโลกยสภาในฐานะผู้สมัครของพรรคสมาชวทีในปี 1996 เธอแพ้ในการเลือกตั้งปี 1998 ก่อนจะชนะได้ตำแหน่งคืนมาอีกครั้งในปี เธอดำรงตำแหน่งอยู่จนเสียชีวิตในปี 2001 ที่ซึ่งเธอถูกลอบสังหารโดยเชร์ สิงห์ ราณา ซึ่งถูกตัดสินมีความผิดฐานฆาตกรรมในปี 2014 ตอนที่เสียชีวิต เธอกำลังต่อสู้กับข้อหาอาชญากรรมที่ถูกรื้อฟื้นกลับมาใหม่ หลังการยื่นอุทธรณ์ในปี 1996 ต่อศาลสูงสุดให้ยกฟ้องไม่เป็นผลสำเร็จ ชื่อเสียงระดับโลกของเธอมาหลังจากการเปิดตัวภาพยนตร์ปี 1994 เรื่อง Bandit Queen ซึ่งเป็นที่ถกเถียงอย่างมาก ภาพยนตร์บอกเล่าเรื่องราวชีวิตของเธอในรูปแบบที่เธอไม่ได้ยินยอม ชีวิตของเธอยังเป็นแรงบันดาลใจไปสู่ชีวประวัติ และอัตชีวประวัติที่เธอกำกับการเขียนในชื่อ I, Phoolan Devi เรื่องราวชีวิตของเธอมีการบันทึกไว้หลายรูปแบบเนื่องจากเธอได้บอกเล่ารูปแบบที่ต่างกันตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปตลอดของเธอ

ชีวิตช่วงต้น[แก้]

ผูลัน เทวี เกิดเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 1963 ในหมู่บ้านโครหะ กา ปูรวะ (Gorha Ka Purwa) อำเภอชเลา รัฐอุตตรประเทศ[A][2]: 42 [3] หมู่บ้านที่เธอเกิดและเติบโตมีแม่น้ำยมุนาและจัมพัลตัดผ่าน และในพื้นที่ยังเต็มไปด้วยโกรกธารและหุบเขาลึก ทำให้เป็นสภาพภูมิประเทศที่เหมาะต่อการเป็นดาคอยต์ (โจร)[4]: 244  ครอบครัวของเธอมีฐานะยากจน และมาจากวรรณย่อยมัลละห์ ซึ่งจัดเป็นวรรณะล่าง ๆ ของระบบวรรณะในประเทศอินเดียตามคติศาสนาฮินดู มัลละห์ถือเป็นวรรณะศูทร ซึ่งตามธรรมเนียมจะประกอบอาชีพคนจับปลา[B][2]: 57 [7] ผูลัน เทวี และพี่น้องสาวของเธอทำก้อนอุจจาระตากแห้งเพื่อใช้เป็นแหล่งเชื้อเพลิง ลักษณะเช่นนี้พบได้ทั่วไปในภูมิภาคนี้ ครอบครัวของเธอทำเกษตรเพาะปลูกถั่วลูกไก่, ทานตะวัน และ ลูกเดือย[2]: 32–34, 57 [8][9]

ภาพถ่ายการผลิตก้อนอุจจาระตากแห้งในรัฐอุตตรประเทศ ก้อนอุจจาระตากแห้ง (dung cakes) ถูกนำมาใช้งานเป็นแหล่งเชื้อเพลิงอย่างแพร่หลายในแถบนี้[9]

มารดาของผูลัน เทวี มีชื่อว่า มูละ (Moola) และบิดาชื่อว่า เทวิทิน (Devidin) เธอมีพี่น้องผู้หญิงสี่คน เทวิทินมีพี่/น้องชายหนึ่งคนชื่อ พิหารีลาล (Biharilal) ซึ่งมีลูกชายชื่อ ไมยทิน (Maiyadin) พิหารีลาลและไมยทินขโมยที่ดินจากบิดาของผูลัน เทวี ผ่านการส่งส่วยให้แก่ผู้นำหมู่บ้านเพื่อแก้ไขบันทึกที่ดิน ครอบครัวของเธอถูกบังคับต้อนให้อาศัยอยู่ในบ้านหลังเล็กบนชายขอบของหมู่บ้าน ทั้งลุงและลูก ๆ ของลุงยังคงรังควานและขโมยผลผลิตของครอบครัวเธอมาตลอด โดยมีความตั้งใจที่จะขับไล่ให้ครอบครัวเธอออกไปจากหมู่บ้าน[2]: 31  เมื่ออายุได้ 10 ปี เธอเริ่มประท้วงต่อต้านความอยุติธรรมที่เกิดขึ้น เธอและพี่สาว รุขมินี (Rukhmini) ประท้วงโดยการไปนั่งในที่ดินที่เป็นข้อพิพาท และกินถั่วลูกไก่ที่ปลูกบนที่ดินผืนนั้น ระบุว่าที่ดินนี้เป็นของครอบครัวเธอ ไมยทินมีคำสั่งให้เธอออกไปจากที่ดินนี้ และเมื่อเธอปฏิเสธ เธอถูกทุบตีจนหมดสติ หลังจากนั้นผู้นำหมู่บ้านได้ออกประกาศว่าพ่อแม่ของเธอก็สมควรจะถูกทุบตีเช่นกัน[2]: 32–35 [10] ในปี 2018 มารดาของผูลัน เทวี ระบุกับ ดิเอเชียนเอจ ว่า เธอยังคงต่อสู้เพื่อทวงคืนที่ดินที่ไมยทินขโมยไปจากครอบครัวเธออยู่[11]

หมายเหตุ[แก้]

  1. มีชื่ออยู่หลายแบบในเอกสารต่าง ๆ เช่น โครหะ กา ปูรวะ (Gorha Ka Purwa) กับ โครหปูรวะ (Gorhapurwa); วิกรม (ในรูป Vikram และ Vickram); ปุฏฏิ ลาล (Putti Lal) กับ ปุฏฏิลาล (Puttilal)[1]
  2. สังคมอินเดียแบ่งออกเป็นสี่วรรณะหรือชนชั้นทางสังคม จากบนลงล่างได้แก่ พรหมิณ (นักบวช), กษัตริยะ (นักรบ), ไวษยะ (คนค้าขาย) และ ศูทร (คนใช้แรงงาน)[5]: 194  ข้างใต้ต่อสี่วรรณะนี้คือทลิตหรือผู้ที่มิอาจแตะต้องสัมผัสได้[6]

อ้างอิง[แก้]

  1. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Szurlej
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 Sen, Mala (1995) [1991]. India's Bandit Queen: The true story of Phoolan Devi. London: Pandora. ISBN 978-0-04-440888-8.
  3. "Phoolan Devi birth anniversary: An exceptional journey of the Bandit Queen". CNBC TV18 (ภาษาอังกฤษ). 10 August 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 November 2022. สืบค้นเมื่อ 28 November 2022.
  4. Arquilla, John (2011). Insurgents, raiders, and bandits. Lanham, Maryland, US: Rowman & Littlefield. ISBN 978-1-56663-832-6. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 January 2023. สืบค้นเมื่อ 3 December 2021.
  5. Peacock, J. Sunita (10 January 2014). "Phoolan Devi: The primordial tradition of the Bandit Queen". ใน Dong, Lan (บ.ก.). Transnationalism and the Asian American heroine: Essays on literature, film, myth and media (ภาษาอังกฤษ). Jefferson, North Carolina, US: McFarland & Company. pp. 187–195. ISBN 978-0-7864-6208-7.
  6. Rathod, Bharat (2022). "Introduction". Dalit academic journeys: Stories of caste, exclusion and assertion in Indian higher education (ภาษาอังกฤษ) (Ebook ed.). New Delhi: Routledge. pp. 1–31. doi:10.4324/9781003224822-1. ISBN 978-1-003-22482-2. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 December 2022. สืบค้นเมื่อ 21 December 2022.
  7. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Telegraph-obit
  8. Moxham, Roy (2010). "Chapter 5". Outlaw: India's Bandit Queen and me (Ebook ed.). London: Rider. ISBN 978-1-84604-182-2.
  9. 9.0 9.1 Jeffery, Roger; Jeffery, Patricia; Lyon, Andrew (1989). "Taking dung-work seriously: Women's work and rural development in north India". Economic and Political Weekly. 24 (17): 32–37. ISSN 0012-9976. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 October 2023. สืบค้นเมื่อ 18 October 2023.
  10. Weaver, Mary Anne (1 November 1996). "India's Bandit Queen". The Atlantic (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 December 2022. สืบค้นเมื่อ 20 December 2022.
  11. Verma, Amita (14 July 2018). "Fight for Phoolan's political legacy". The Asian Age. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 December 2022. สืบค้นเมื่อ 20 December 2022.

แหล่วข้อมูลอื่น[แก้]

  • Frain, Irène (1993). Devi (ภาษาฝรั่งเศส). Paris: France loisirs. ISBN 978-2-7242-7375-5.
  • Shears, Richard; Gidley, Isobelle (1984). Devi: The Bandit Queen (ภาษาอังกฤษ). London: Allen & Unwin. ISBN 978-0-04-920097-5.