ผีเสื้อหนอนหนามกะทกรก
ผีเสื้อหนอนหนามกะทกรก | |
---|---|
ด้านบน เบงกอลตะวันตก อินเดีย | |
ด้านข้าง โกโมโด อินโดนีเซีย | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | Eukaryota |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Arthropoda |
ชั้น: | Insecta |
อันดับ: | Lepidoptera |
วงศ์: | Nymphalidae |
สกุล: | Acraea |
สปีชีส์: | A. terpsicore |
ชื่อทวินาม | |
Acraea terpsicore (Linnaeus, 1758) | |
ชื่อพ้อง | |
Acraea violae (Fabricius, 1775) |
ผีเสื้อหนอนหนามกะทกรก (อังกฤษ: tawny coster) (ชื่อวิทยาศาสตร์: Acraea terpsicore)[1] เป็นผีเสื้อขนาดเล็ก (53-64 มิลลิเมตร) ในวงศ์ผีเสื้อขาหน้าพู่ (Nymphalidae) พบได้ทั่วไปทุ่งหญ้าและพุ่มไม้เตี้ย ลักษณะการบินดูไม่มั่นคง ผู้ล่าแมลงส่วนใหญ่มักหลีกเลี่ยงการล่าผีเสื้อชนิดนี้ สายพันธุ์นี้และผีเสื้อหนอนหนามปีกเหลือง (Acraea issoria) เป็นผีเสื้อเพียงสองชนิดในเผ่า Acraeini ที่พบในอินเดียขณะที่ส่วนใหญ่พบในแอฟริกา[2] โดยพบได้ตั้งแต่ อินเดีย ศรีลังกา มัลดีฟส์ ไปจนถึง พม่า ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม บังคลาเทศ สิงคโปร์[3] [4] และรวมถึง ออสเตรเลีย ในปัจจุบัน[5]
อนุกรมวิธาน
[แก้]มีการถกเถียงกันมานานในหมู่นักอนุกรมวิธานว่าชื่อที่ถูกต้องของสายพันธุ์นี้คือ Acraea terpsicore Linnaeus, 1758[6] [7] หรือ Acraea violae Fabricius,[8] โดยปิแอร์และเบอร์โนด์ระบุว่าได้ตรวจสอบสองชนิดนี้ในสมาคมลินเนียนแห่งลอนดอน และถือว่า A. terpsicore กับ A. violae เป็นสายพันธุ์เดียวกัน[1] Bulletin de la Société entomologique de France. 102 (5): 405–412 – via Le site des Acraea de Dominique Bernaud.</ref> แต่ฮันนี่และสคอเบิลได้แย้งว่าตัวอย่างทั้งสองถูกเพิ่มเข้ามาในสมาคมลินเนียนในภายหลังโดย เจมส์ เอ็ดเวิร์ด สมิธ ที่เป็นผู้ซื้อตัวอย่างของลินเนียน ซึ่งเมื่อไม่มีตัวอย่างต้นแบบที่แท้จริงและยังไม่ถูกระบุลักษณะชัดเจน จึงมีโอกาสที่สองชนิดนี้อาจเป็นเพียงคำพ้องความหมายกัน[9]
มีการสับสน A. terpsicore กับสายพันธุ์แอฟริกา A. eponina Cramer, 1780.[10] ปิแอร์และเบอร์โนด์ได้ศึกษาปัญหานี้และนำชื่อเดิมว่า Acraea serena กลับมาใช้กับ A. eponina[11] [12]
ลักษณะ
[แก้]ปีกบนและปีกล่างมีสีพื้นเป็นสีส้มในตัวผู้และสีน้ำตาลอ่อนในตัวเมีย มีแถบและจุดดำประปราย ท้ายสุดของปีกล่างมีแต้มสีขาวเรียงขนานบนแถบสีดำ[13]
การกระจายพันธ์ุ และถิ่นที่อยู่
[แก้]ผีเสื้อหนอนหนามกะทกรกเป็นผีเสื้อที่บินไม่สูง โดยบินอยู่ในระยะ 3 เมตรเหนือพื้นดิน และมักจะเกาะบนต้นพืชในระยะ 1 เมตรเหนือพื้นดิน พบเห็นได้มากในบริเวณที่มีพืชที่เป็นอาหารตัวอ่อน (สกุลกะทกรก) ตัวเต็มวัยมักจะอยู่ตามพื้นที่เปิดโล่งบนพืชหลากหลายชนิด และมักหลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีพงหญ้าหนาแน่นและพื้นที่ร่ม
ตัวเต็มวัยบินช้า ๆ ด้วยการกระพือปีกที่ดูเหมือนไม่มั่นคง เมื่อผีเสื้อชนิดนี้ถูกโจมตีจะแสดงพฤติกรรมเหมือนตายและปล่อยของเหลวสีเหลืองกลิ่นฉุนที่ทำให้ผู้ล่าเกิดอาการคลื่นไส้จากต่อมในข้อต่อ โดยผีเสื้อทุกชนิดที่มีกลไกลการป้องกันตัวลักษณะนี้จะมีโครงร่างแข็งภายนอกที่แข็งแรง ช่วยให้ตัวเต็มวัยสามารถอยู่รอดต่อไปหลังถูกนกจิกสองสามครั้งหรือหลังถูกกิ้งก่ากัด โดยเมื่อปล่อยทิ้งไว้ผีเสื้อจะเริ่มออกบินต่อไปโดยไม่สนใจผู้ล่า
ผีเสื้อชนิดนี้มักจะเกาะกินน้ำหวานบนดอกไม้ดอกเดียวกันเป็นเวลานานก่อนเปลี่ยนดอก เวลาเกาะจะกางหรือหุบปีก ขณะหุบปีกพื้นที่ปีกหน้าส่วนใหญ่จะถูกปีกหลังคลุม และบางครั้งผีเสื้อไม่ได้ทิ้งตัวลงบนดอกไม้ขณะเกาะกินอาหาร เพียงแต่เกาะพักบนดอกไม้ด้วยการกระพือปีกหน้า และกางปีกหลังไว้นิ่ง ๆ เพื่อรักษาสมดุล
ในไทยมีรายงานการพบพี่เสื้อชนิดนี้ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2523 คาดว่าตัวอ่อนติดมากับพรรณไม้จากอินเดียหรือศรีลังกา[14] โดยพบได้ในทุกภาคของประเทศ[13]
ตุ่มสืบพันธุ์
[แก้]ผีเสื้อหนอนหนามกะทกรกเป็นหนึ่งในกลุ่มผีเสื้อที่ตัวเมียมีลักษณะตุ่มสืบพันธุ์ (sphragis) ซึ่งเกิดขึ้นหลังการผสมพันธุ์ โดยหลังจากที่ตัวผู้ผลิตอสุจิแล้ว พวกมันจะหลั่งสารคล้ายขี้ผึ้งเพิ่มเติมจากต่อม ซึ่งจะไหลออกจากช่องสืบพันธุ์ของตัวเมีย กลายเป็นตุ่มสืบพันธุ์ที่จะแข็งตัวภายในไม่กี่ชั่วโมงเพื่อป้องกันการผสมพันธุ์ซ้ำ
วงจรชีวิต
[แก้]ผีเสื้อผสมพันธุ์กันบนพืชในวงศ์กันเกราและพืชในสกุลกะทกรก ซึ่งหลายชนิดมีสารพิษที่หนอนผีเสื้อจะสะสมไว้ และยังมีข้อสังเกตว่าพวกมันกินใบของ Hybanthus enneaspermus ในรัฐเบงกอล[15] และ บานเช้าสีเหลือง (Turnera ulmifolia) ในรัฐมหาราษฏระ[16]
ไข่
[แก้]ไข่จะถูกวางเป็นชุด ชุดละ 20 ถึง 100 ฟอง ไข่มีสีเหลือง ค่อนข้างยาว สูง และมีลายตามขวาง[17]
ตัวอ่อน
[แก้]ตัวหนอนที่โตเต็มมีความยาว 21 มิลลิเมตร ด้านหลีงมีสีน้ำตาลแดง ด้านท้องมีสีขาวอมเหลือง แต่ละปล้องมีหนามสีดำเรียงรอบปล้อง[14] หนามแต่ละก้านแตกแขนงออกเป็นก้อนย่อย หัวมีสีแดง ตัวหนอนแต่ละกลุ่มมีแนวโน้มที่จะกินอาหารกันเป็นกลุ่มและกินเนื้อเยื่ออ่อนของต้นพืชอาศัยได้ทั้งหมด ทำให้พวกมันเป็นศัตรูพืชสำคัญต่อต้นกะทกรกนอกจากนี้ตัวออ่อนยังมีสารพิษป้องกันตัวที่แปรรูปมากจากสารจากต้นกระทกรกเช่นเดียวกับตัวเต็มวัย[17]
ดักแด้
[แก้]ดักแด้มีความยาว 17 มิลลิเมตร มีสีต้องห้ามแสดงอย่างชัดเจน เพื่อบ่งบอกว่าวัตถุนี่ไม่เหมาะกับการกิน โดยจะมีสีขาว เส้นสีดำหนา มีจุดและรอยแดงและส้ม[17] ระยะดักแด้ 6 วัน[18]
-
ไข่
-
หนอน
-
ดักแด้
-
ตัวเต็มวัย (มองจากด้านหลัง)
-
ตัวเต็มวัย (มองจากด้านข้าง)
-
ไข่
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Bernaud, D.; Pierre, J. (1997). "Acraea terpsicore (Linné), problèmes de nomenclature et données biologiques (Lepidoptera, Nymphalidae)" (PDF). Bulletin de la Société entomologique de France. 102 (5): 405–412. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-10-01. สืบค้นเมื่อ 2023-12-03 – โดยทาง Le site des Acraea de Dominique Bernaud.
- ↑ Moore, Frederic (1880). The Lepidoptera of Ceylon. London: L. Reeve & co. p. 66.
- ↑ Varshney, R.; Smetacek, P. A Synoptic Catalogue of the Butterflies of India (2015 ed.). New Delhi: Butterfly Research Centre, Bhimtal and Indinov Publishing. p. 222.
- ↑ Inayoshi, Yutaka. "Acraea violae (Fabricius,1775)". Butterflies in Indo-China. สืบค้นเมื่อ 2018-03-31.
- ↑ "Arrival of Tawny Coster butterflies on the East Australian Coast coinciding with the winds of Tropical Cyclone Debbie".
- ↑ Linné, Carl von (1758). Systema naturae : Insecta : Lepidoptera. Halae Magdeburgicae : Typis et sumtibus Io. Iac. Curt. p. 466.
- ↑ "Papilio terpsicore". The Linnean Collections. สืบค้นเมื่อ 2018-04-04.
- ↑ Fabricius, Johann Christian (1775). Systema entomologiae : sistens insectorvm classes, ordines, genera, species, adiectis synonymis, locis, descriptionibvs, observationibvs. Flensbvrgi et Lipsiae. p. 460.
- ↑ Honey, Martin R.; Scoble, Malcolm J. (2001). "Linnaeus's butterflies (Lepidoptera: Papilionoidea and Hesperioidea)". Zoological Journal of the Linnean Society. 132 (3): 277–399. doi:10.1111/j.1096-3642.2001.tb01326.x.
- ↑ Eltringham (1912). Transactions of the Entomological Society of London. Royal Entomological Society of London. p. 239.
- ↑ Bernaud, D.; Pierre, J. (1999). "Acraea serena (Fabricius, 1775) (=A. eponina Cramer, 1780), problème de nomenclature et premiers états (Lepidoptera, Nymphalidae)" (PDF). Bulletin de la Société entomologique de France. 104 (4): 357–364 – โดยทาง Le site des Acraea de Dominique Bernaud.
- ↑ Savela, Markku. "Acraea violae (Fabricius, 1793)". Lepidoptera and Some Other Life Forms. สืบค้นเมื่อ June 30, 2018.
- ↑ 13.0 13.1 เกรียงไกร. 2556. Thailand Butterfly Guide. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ: สารคดี
- ↑ 14.0 14.1 ทัศนัย จีนทอง. 2563 ผีเสื้อหนอนหนามกะทกรก...ผีเสื้อบ้านๆ. พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา Natural History Museum.
- ↑ Das RP; AB Roy; R Polley; G Saha (2010). "A new record of larval host plant of tawny coster Acraea violae (Fabricius)". Journal of the Bombay Natural History Society. 107 (1): 63.
- ↑ Khot, R.; Gaikwad, K. (2011). "An additional record of larval host plant of Tawny Coster Acraea violae (Fabricius 1775)". Journal of the Bombay Natural History Society. 108 (2): 140.
- ↑ 17.0 17.1 17.2 ประโยคก่อนหน้าอย่างน้อยหนึ่งประโยคประกอบด้วยข้อความจากแหล่งข้อมูลนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ: Bingham, Charles Thomas (1907). Fauna of British India. Butterflies Vol. 2. Taylor & Francis. pp. 471–472.
- ↑ โกวิทย์ หวังทวีทรัพย์. 2551. ผีเสื้อหนอนหนามกะทกรก. โครงการอนุรักษ์ธรรมชาติและสัตว์ป่าสวนป่าพระนามาภิไธยภาคใต้.
การอ้างอิงอื่น ๆ
[แก้]- Wynter-Blyth, Mark Alexander (1957). Butterflies of the Indian Region. Bombay, India: Bombay Natural History Society. ISBN 978-8170192329.
- Kunte, Krushnamegh (2000). Butterflies of Peninsular India. India, A Lifescape. Hyderabad, India: Universities Press. ISBN 978-8173713545.