ข้ามไปเนื้อหา

ปีเย-นัวร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เปีย-นัวร์
ประชากรทั้งหมด
1959: 1.4 ล้านคน[1] (13% ของประชากรประเทศแอลจีเรีย)
2012: 3.2 ล้านคน[2] (ในประเทศฝรั่งเศส)
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ
แอลเจียร์, ออราน, กงส์ต็องตีน
ภาษา
ฝรั่งเศส, สเปน, อุตซิตา, อาหรับมัฆริบ
ศาสนา
โรมันคาทอลิก, โปรเตสแตนต์, ยูดาห์

เปีย-นัวร์ (ฝรั่งเศส: Pied-Noir, พหุพจน์: Pieds-Noirs, เสียงอ่านภาษาฝรั่งเศส: [pje nwaʁ] แปลว่า 'เท้าดำ') เป็นบุคคลที่มีต้นกำเนิดจากชาวฝรั่งเศสและชาวยุโรปประเทศอื่นในประเทศแอลจีเรียสมัยการปกครองของฝรั่งเศสใน ค.ศ. 1830 ถึง 1962 หลังแอลจีเรียประกาศเอกราชหรือไม่กี่เดือนต่อมา มีประชากรจำนวนมากอพยพไปยังประเทศฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่หรือคอร์ซิกา[3][4]

หลังการรุกรานของฝรั่งเศสในวันที่ 18 มิถุนายน ค.ศ. 1830 จนกระทั่งได้รับเอกราช แอลจีเรียกลายเป็นเขตบริหารหนึ่งของฝรั่งเศส โดยประชากรจากยุโรปถูกเรียกเป็นแอลจีเรียหรือ colons (อาณานิคม) ส่วนมุสลิมในแอลจีเรีนถูกเรียกเป็นชาวอาหรับ, มุสลิม หรือชนพื้นเมือง ศัพท์ "เปีย-นัวร์" เริ่มถูกใช้ก่อนสิ้นสุดสงครามแอลจีเรียใน ค.ศ. 1962 เพียงไม่นาน จากสำมะโนสุดท้ายในแอลจีเรียที่ปกครองโดยฝรั่งเศส ซึ่งจัดตั้งในวันที่ 1 มิถุนายน ค.ศ. 1960 มีพลเมืองที่ไม่ใช่มุสลิม (ส่วนใหญ่นับถือคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก แต่รวมชาวแอลจีเรียเชื้อสายยิว 130,000 คน) ในแอลจีเรีย 1,050,000 คน เท่ากับร้อยละ 10 ของประชากรประเทศ[5]

ในช่วงสงครามแอลจีเรีย กลุ่ม เปีย-นัวร์ สนับสนุนการปกครองของฝรั่งเศสในแอลจีเรียอย่างมากและต่อต้านกลุ่มชาตินิยมแอลจีเรีย เช่น Front de libération nationale (FLN) และ Mouvement national algérien (MNA) ความขัดแย้งเกิดจากความไม่เท่าเทียมกันทางการเมืองและเศรษฐกิจที่มองว่าเป็น "ความแตกแยก" จากการปกครองของฝรั่งเศส ตลอดจนความต้องการตำแหน่งผู้นำสำหรับชนเบอร์เบอร์, อาหรับ และวัฒนธรรมและกฎเกณฑ์อิสลามที่มีอยู่ก่อนการพิชิตฝรั่งเศส ความขัดแย้งเหล่านี้มีส่วนต่อการล่มสลายของสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 4 และการอพยพของชาวยุโรปและแอลจีเรียเชื้อสายยิวไปยังฝรั่งเศส[4][6]

หลังจากแอลจีเรียเป็นเอกราชใน ค.ศ. 1962 เปีย-นัวร์ ที่มีสัญชาติฝรั่งเศสประมาณ 800,000 คนอพยพไปยังฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ ในขณะที่ประมาณ 200,000 คนยังคงในประเทศแอลจีเรีย ภายหลังลดจำนวนลงถึงประมาณ 100,000 คนใน ค.ศ. 1965 และประมาณ 50,000 คนในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1960[7]

อ้างอิง

[แก้]
  1. De Azevedo, Raimondo Cagiano (1994) Migration and development co-operation.. Council of Europe. p. 25. ISBN 92-871-2611-9.
  2. Le vote pied-noir 50 ans après les accords d’Evian เก็บถาวร 2015-11-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Sciences Po, January 2012
  3. "pied-noir". Oxford English Dictionary, 2nd Edition. Vol. XI. Oxford, United Kingdom: Clarendon Press. 1989. pp. 799. ISBN 978-0-19-861223-0.
  4. 4.0 4.1 Naylor, Phillip Chiviges (2000). France and Algeria: A History of Decolonization and Transformation. University Press of Florida. pp. 9–23, 14. ISBN 978-0-8130-3096-8.
  5. Cook, Bernard A. (2001). Europe since 1945: an encyclopedia. New York: Garland. pp. 398. ISBN 978-0-8153-4057-7.
  6. Smith, Andrea L. (2006). Colonial Memory And Postcolonial Europe: Maltese Settlers in Algeria And France. Indiana University Press. pp. 4–37, 180. ISBN 978-0-253-21856-8.
  7. "Pieds-noirs": ceux qui ont choisi de rester, La Dépêche du Midi, March 2012

ข้อมูล

[แก้]
  • Ramsay, R. (1983) The Corsican Time-Bomb, Manchester University Press: Manchester. ISBN 0-7190-0893-X.