ปัจจัยกระทบ
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
ปัจจัยกระทบ (อังกฤษ: impact factor) ปกติใช้คำย่อว่า IF หมายถึงการวัดการได้รับการอ้างอิงของวารสารวิชาการสาขาวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ เพื่อใช้เป็นตัวแทนที่บ่งชี้ความสำคัญและความน่าเชื่อถือของวารสารในสาขาวิชาการนั้นๆ
ภาพรวมโดยสังเขป
[แก้]ปัจจัยกระทบคิดค้นขึ้นโดยยูยีน การ์ฟิลด์ ผู้ก่อตั้ง สถาบันสารสนเทศวิทยาศาสตร์ (Institute for Scientific Information หรือ ISI) ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ บริษัททอมสันวิทยาศาสตร์ ซึ่งจะทำการคำนวณหาปัจจัยผลกระทบการอ้างอิงของวารสารวิชาการสาขาวิทยาศาสตร์ที่บริษัททอมสันเป็นผู้จัดทำดัชนีประจำทุกปี โดยจะตีพิมพ์ปัจจัยและตัวชี้วัดใน "รายงานการอ้างอิงเอกสารวิชาการ" (Journal Citation Reports) ค่าที่เกี่ยวข้องบางตัวก็จะถูกคำนวณและตีพิมพ์โดยทอมสันเช่นกันใน:
- ดัชนีข้างเคียง (immediacy index) : ตัวเลขเฉลี่ยการอ้างอิงของบทความวิชาการในปีนั้นๆ
- วาระครึ่งชีวิตของวารสารที่ได้รับการอ้างอิง: ได้แก่อายุช่วงกึ่งกลางของบทความที่ถูกอ้างอิงใน รายงานการอ้างอิงวารสารวิชาการ ในแต่ละปี ตัวอย่างเช่น ถ้าวารสารมีวาระครึ่งชีวิตในปี พ.ศ. 2548 เท่ากับ 5 หมายความว่า การถูกอ้างอิงจากปี พ.ศ. 2544-2548 เท่ากับ 50% ของการถูกอ้างอิงทั้งหมดของวารสารนั้นในปี พ.ศ. 2548
- ปัจจัยกระทบแบบกลุ่มรวมสำหรับประเภทวิชา: คำนวณโดยการนำเอาตัวเลขการถูกอ้างอิงทั้งหมดของวารสารตามประเภทวิชามานับร่วมกับจำนวนของบทความจากวารสารทุกฉบับในประเภทวิชานั้นๆ
การคำนวณ
[แก้]การคำนวณปัจจัยกระทบสำหรับวารสารวิชาการใช้ฐาน 3 ปี และสามารถพิจารณาให้เป็นตัวเลขเฉลี่ยจำนวนครั้งเป็นเวลาได้ถึง 2 รอบปีหลังจากที่บทความได้รับการตีพิมพ์ (รวมทั้งปีปฏิทินที่บทความนั้นได้รับการตีพิมพ์) ตัวอย่างเช่น ปัจจัยกระทบของปี พ.ศ. 2546 ของวารสารฉบับหนึ่งสามารถคำนวณได้ดังนี้
A = จำนวนครั้งที่วารสารที่ตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2544-45 ได้ถูกอ้างอิงในวารสารวิชาการอื่นที่อยู่ในดัชนีระหว่างปี พ.ศ. 2546
B = จำนวนของ "รายการที่สามารถอ้างอิงได้" (ปกติได้แก่บทความ ปริทัศน์ รายงานการประชุมวิชาการ (proceedings) หรือบันทึกทางวิชาการ ไม่ใช่บทบรรณาธิการหรือจดหมายถึงบรรณาธิการ) ที่ตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2443-44
ปัจจัยกระทบ ปี พ.ศ. 2546 = A/B (โปรดสังเกตว่าปี พ.ศ. 2546 ปัจจัยกระทบได้รับการตีพิมพ์จริงๆ ในปี พ.ศ. 2547 เนื่องการคำนวณไม่สามารถทำได้จนกว่าจะได้รับบทความที่ตีพิมพ์ในปี พ.ศ. แล้วทั้งหมด)
วิธีง่ายๆ สำหรับคิดในเรื่องนี้ก็คือ วารสารวิชาการที่ถูกอ้างอิง 1 ครั้ง โดยเฉลี่ยสำหรับแต่ละบทความที่ตีพิมพ์แล้วจะมีค่า IF หรือปัจจัยกระทบเท่ากับ 1 ในสูตรข้างต้น
มีความแตกต่างเพียงเล็กน้อยในเรื่องนี้คือ: ISI แยกเอาบทความบางประเภท (เช่นประเภทข่าว การโต้ตอบและการแก้คำผิด) ออกจากตัวส่วน (ตัวหาร) วารสารใหม่ๆ ที่ถูกจัดเข้าดัชนีตั้งแต่ฉบับแรกที่ออก จะได้รับปัจจัยกระทบหลังจากเมื่อการเข้าระบบดัชนีครบเวลา 2 ปี ในกรณีเช่นนี้ การถูกอ้างอิงก่อนเล่มที่ 1 และจำนวนบทความที่ลงพิมพ์ในปีก่อนเล่มที่ 1 ถือว่ามีค่าเป็นศูนย์ วารสารที่เข้าระบบดัชนีโดยเริ่มที่เล่มที่นอกเหนือจากเล่มแรกจะไม่ได้รับการเผยแพร่ปัจจัยกระทบจนกว่าข้อมูลสมบูรณ์ทั้ง 3 ปีจะเป็นที่รับรู้ก่อน วารสารรายปีและวารสารรายผิดปกติอื่นๆ ซึ่งบางครั้งไม่มีบทความที่นับได้จะไม่มีผลต่อการนับ ปัจจัยกระทบสำหรับบางช่วงเวลาเฉพาะที่บางครั้งมีสาระตรงกับบางสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ เช่น ชีววิทยาโมเลกุล แต่ก็ไม่เข้าข่ายสำหรับวิชานั้นที่มีวาระการออกวารสารช้า เช่น สาขานิเวศวิทยา และสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์ส่วนใหญ่ มีความเป็นไปได้ที่จะคำนวณปัจจัยกระทบสำหรับช่วงเวลาที่ต้องการบางช่วงและใช้เว็บไซต์แนะวิธีการ รายงานการอ้างอิงวารสาร (Journal Citation Reports) จะมีตารางบอกความสัมพันธ์ของลำดับปัจจัยกระทบของวารสารในแต่ละสาขาวิชาทางวิทยาศาสตร์ เช่น อินทรียเคมี หรือ จิตเวชศาสตร์
ข้อโต้เถียง
[แก้]บางครั้งก็มีประโยชน์ที่ทำการเปรียบเทียบวารสารวิชาการและกลุ่มงานวิจัยที่ต่างประเภทกัน ตัวอย่างเช่น ผู้อุปถัมภ์งานวิจัยอาจประสงค์ที่จะเปรียบเทียบผลเพื่อประเมินผลิตภาพของโครงการวิจัย ในกรณีเช่นนี้ มาตรการเชิงวัตถุวิสัยในความสำคัญของวารสารที่ต่างประเภทกันย่อมมีความจำเป็น และปัจจัยกระทบ (หรือจำนวนการตีพิมพ์) ย่อมเป็นแหล่งเผยแพร่เพียงแหล่งเดียว อย่างไรก็ดี เราพึงต้องจดจำให้ดีว่าสาขาวิชาการที่แตกต่างกันย่อมมีความเป็นไปได้ที่จะมีความแตกต่างกันได้มากในแนวปฏิบัติที่ใช้ในการอ้างอิงและการเผยแพร่ ซึ่งจะมีผลกระทบไม่เพียงจำนวนการถูกอ้างอิงเท่านั้นแต่ยังมีผลต่อความรวดเร็วอีกด้วย บทความส่วนใหญ่ในสาขาวิชาต่างๆ จะอยู่มีช่วงที่ถูกอ้างอิงมากที่สุดหลังการตีพิมพ์ไม่นาน ในเกือบทุกกรณี การพิจารณาจัดลำดับของวารสารให้ตรงตามประเภทของผู้รู้เสมอกัน (peers) ที่ทำการตรวจแก้จะมีความเหมาะสมกว่าการใช้ปัจจัยกระทบที่ยัง "ดิบ" อยู่
การนำไปใช้ในทางที่ผิด
[แก้]- ผู้ทบทวนหรือตรวจแก้ทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการประเมินอย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะสถาบันที่สอนระดับระดับปริญญาเอกมักนิยมใช้รายชื่อปัจจัยกระทบของ ISI มาใช้ในการตัดสินผลทางวิชาการที่ออกมา ซึ่งวิธีนี้ก่อให้เกิดความลำเอียงที่ทำให้งานวิจัยบางประเภทได้รับการประเมินค่าต่ำกว่าความเป็นจริงโดยอัตโนมัติ และยังเป็นการบิดเบือนบทบาทโดยรวมของคณาจารย์ในภาควิชาที่เป็นผู้ให้การปรึกษาแนะนำมาโดยตลอด
- ค่าสัมบูรณ์ของปัจจัยกระทบไม่มีความหมายในวิชาจุลชีววิทยา ในขณะที่มีความหมายมากในสาขาวิชาสมุทรศาสตร์ ค่าดังกล่าวบางครั้งถูกนำไปโฆษณาโดยสำนักพิมพ์ด้านวิทยาศาสตร์
- การเปรียบเทียบปัจจัยกระทบระหว่างสาขาวิชาที่ต่างกันเป็นสิ่งที่ทำไม่ได้ แต่ก็ปรากฏว่ามีการเปรียบเทียบในลักษณะนี้อย่างกว้างขวางอยู่ ไม่เฉพาะวารสารวิชาการ ยังมีการใช้เปรียบเทียบนักวิทยาศาสตร์และสถาบันการศึกษาหรือสถาบันวิจัยอีกด้วย ตัวอย่างเช่น เป็นไปไม่ได้ที่จะกล่าวว่าภาควิชาที่เป็นเจ้าของวารสารวิชาการที่ได้ค่าปัจจัยกระทบ 2 ซึ่งต่ำนั้น ต่ำตามไปด้วย ซึ่งกรณีดังกล่าวนี้ใช้ไม่ได้เลยกับสาขาวิศวกรรมเครื่องกลซึ่งมีวารสารที่ได้ปัจจัยกระทบต่ำเพียง 2 ฉบับที่ได้ค่าต่ำที่ 2
- นอกสาขาวิทยาศาสตร์ ปัจจัยกระทบมีความเหมาะสมก็เฉพาะสาขาที่มีรูปแบบหรือแนวการตีพิมพ์วารสารคล้ายกัน (เช่น สาขาเศรษฐศาสตร์) ซึ่งการตีพิมพ์งานวิจัยเกือบทั้งหมดอยู่ในรูปของบทความทางวิชาการที่อ้างอิงบทความในวารสารวิชาการอื่น ปัจจัยผลกระทบโดยนัยดังกล่าวจึงใช้ไม่ได้กับสาขาวรรณคดีซึ่งเป็นการตีพิมพ์ในรูปของหนังสือที่อ้างหนังสือด้วยกัน ดังนั้น ISI จึงไม่ตีพิมพ์และเผยแพร่ปัจจัยกระทบในสาขามนุษยศาสตร์
การพลิกแพลงและบิดเบือน
[แก้]วารสารวิชาการบางวารสารอาจยอมรับและใช้นโยบายบรรณาธิการของวารสารวิชาการที่ค่าของปัจจัยกระทบกำลังเพิ่มสูงขึ้น นโยบายบรรณาธิการของวารสารฉบับดังกล่าวอาจไม่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงคุณภาพของงานวิทยาศาสตร์ที่ตีพิมพ์นั้นเลยก็เป็นได้ บางครั้งวารสารอาจตีพิมพ์บทความวิชาการในจำนวนร้อยละที่มากขึ้นก็ได้ ทั้งๆ ที่บทความวิจัยไม่ได้ถูกอ้างอิงมามากกว่า 3 ปี บทความที่ได้ผ่านการทบทวนโดยผู้รู้เสมอกันเกือบทั้งหมดได้ถูกอ้างอิงอย่างน้อย 1 ครั้งภายในเวลา 3 ปีที่ได้รับการตีพิมพ์ ดังนั้นบทความต่างๆ ที่ผ่านการทบทวนก็จะทำให้ค่าปัจจัยกระทบของวารสารสูงขึ้น เว็บไซต์ของทอมสันไซแอนติฟิก ได้ให้แนวทางสำหรับใช้ถอนวารสารดังกล่าวออกจากสายการจำหน่าย นักวิชาการประเภทที่กล่าวนี้ได้ชัดเจน[1]
การอ้างอิงตนเอง
[แก้]มีหลายวิธี โดยไม่นับวิธีจงใจอย่างเลวร้ายที่มีอยู่ ที่บทความวิชาการอ้างอิงวารสารฉบับเดียวกันเพื่อจงใจทำให้ค่าของปัจจัยกระทบเพิ่มขึ้น
บทบรรณาธิการไม่ถือเป็นบทความในวารสาร แต่เมื่ออ้างอิงถึง ซึ่งมักเป็นบทความในวารสารเดียวกัน จำนวนครั้งของการอ้างอิงก็จะเพิ่มจำนวนการถูกอ้างของบทความนั้นๆ และปรากฏการณ์ลักษณะนี้ยากต่อการประเมินเนื่องจากข้อแตกต่างระหว่างการวิพากษ์วิจารณ์ในบทบรรณาธิการกับบทความสั้นดั้งเดิมมีน้อยมาก "จดหมายถึงบรรณาธิการ" อาจเป็นได้ทั้งสองประเภท
บรรณาธิการวารสารอาจแนะนำให้ผู้เขียนบทความอ้างบทความในวารสารเดียวกันกับที่ตนเป็นผู้เขียน ระดับของการปฏิบัติในลักณะนี้มีผลต่อการคำนวณค่าของปัจจัยกระทบรวมทั้งที่ปรากฏในรายงานการอ้างอิงในวารสารซึ่งก็ควรได้รับการตรวจสอบด้วย การอภิปรายเกี่ยวกับผลกระทบของการอ้างอิงตนเองสามารถดูได้จากเว็บไซต์ของ ISI ซึ่งจะบอกวิธีการแก้ไขไว้ให้ด้วยถ้าต้องการ อย่างไรก็ดี การอ้างอิงบทความในวารสารเดียวกันดังกล่าวกลับมีมากในวารสารที่เป็นสาขาวิชาพิเศษที่เฉพาะมากๆ ไม่ถือว่าเสียหายมากนัก แต่ถ้าเป็นการตั้งใจทำ ผลก็จะปรากฏให้เห็นได้ชัดเจนเอง เมื่อ 1) วารสารวิชาการฉบับนั้นเป็นวารสารที่มีปัจัยกระทบค่อนข้างต่ำ และ 2) วารสารนั้นตีพิมพ์บทความเพียงไม่กี่เรื่องต่อปี
ความเบ้ (skewness)
[แก้]บทบรรณาธิการของวารสารเนเจอร์แถลงไว้ว่า
- "...ตัวอย่างเช่น เราได้วิเคราะห์การอ้างอิงของบทความต่างๆ แต่ละเรื่องใน เนจอร์ พบว่า 89% ของตัวเลขเมื่อปีที่แล้วเกิดจากการอ้างอิงของบทความของเราเพียง 25% บทความที่ถูกอ้างอิงใน เนเจอร์ จากปี พ.ศ. 2445-46 ส่วนใหญ่เกี่ยวกับเรื่องจีโนมของหนูซึ่งตีพิมพ์ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2545 บทความดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงการถึงจุดสุดยอดของการทุ่มเททำงานวิจัยอันยิ่งใหญ่ แต่กลับเป็นประเด็นสำคัญของการประชุมทางวิชาการมากกว่าที่จะเป็นการแสดงออกถึงการเข้าถึงอย่างลึกซึ้งที่ไม่ธรรมดา ถึงขณะนี้ บทความเรื่องนี้ได้ถูกอ้างอิงมากกว่า 1,000 ครั้ง ภายในช่วงปีแจงนับของ พ.ศ. 2545 ปีเดียว บทความนี้ได้รับการนำไปอ้างอิงมากถึง 522 รายการ บทความของเราที่ถูกอ้างอิงจากปี พ.ศ. 2545-46 ที่มากเป็นลำดับถัดมา (บทความเกี่ยวกับได้แก่การจัดองค์หน้าที่ของโปรโนมยีสต์) ได้รับการอ้างอิง 351 รายการในปีนั้น มีอ้างอิงเพียง 50 จาก 1,800 รายการที่ตีพิมพ์ในช่วง 2 ปีดังกล่าว ที่ได้รับการอ้างอิงในปี พ.ศ. 2547 บทความเกือบทั้งหมดของเราได้รับการอ้างอิงน้อยกว่า 20 รายการ..."
แถลงการณ์ข้างต้นเป็นการเน้นให้เห็นว่า ปัจจัยกระทบหมายอ้างอิงถึงจำนวนการถูกอ้างอิงโดยเฉลี่ยของแต่ละบทความ และนี่ไม่ใช่การกระจายแบบเกาส์เซียน แต่เป็นการกระจายแบบแบรดฟอร์ด บทความทางวิชาการเกือบทั้งหมดที่ตีพิมพ์ในวารสารที่มีปัจจัยกระทบสูงกลับได้รับการอ้างอิงน้อยกว่าที่ปัจจัยกระทบอาจส่อให้เห็น และบางบทความก็ไม่ได้ถูกนำไปอ้างอิงเลย ดังนั้น จึงไม่ควรถูกนำปัจจัยกระทบของวารสารที่เป็นแหล่งไปใช้แทนการวัดปัจจัยกระทบของตัวบทความในวารสาร
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอเนียร์ได้ประมาณว่าเมื่อนักวิทยาศาสตร์เขียนงานของตนและอ้างอิงบทความวิชาการของผู้อื่น มีเพียง 20% เท่านั้นที่อ่านบทความนั้นจริงๆ
การใช้ในการจ้างงานทางวิทยาศาสตร์
[แก้]แม้การสร้างปัจจัยกระทบเดิมนั้นจะทำขึ้นเพื่อใช้วัดความมีชื่อเสียงของวารสารวิชาการเชิงวัตถุวิสัย แต่ในปัจจุบันได้นำมาประยุกต์กับการวัดผลิตภาพของนักวิทยาศาสตร์ที่มาสมัครงานกันมากขึ้นเป็นลำดับ วิธีที่กำลังใช้อยู่ในขณะนี้ก็คือการใช้ตรวจสอบปัจจัยกระทบของวารสารที่ตีพิมพ์บทความของนักวิทยาศาสตร์ผู้สมัครงาน วิธีนี้เป็นที่นิยมของผู้บริหารวิชาการ เพราะโดยทั่วไปแล้วผู้บริหารมักไม่รู้จักสาขาวิชาที่ผู้สมัครลึกซึ้งพอ และไม่รู้ว่าวารสารที่ตีพิมพ์บทความของผู้สมัครงานดีจริงหรือไม่ ปัจจัยกระทบจึงสามารถช่วยการพิจารณาตัดสินใจจ้างได้
มาตรการอื่นที่ใช้ในการวัด
[แก้]ขั้นตอนวิธีการเพจแรงก์
[แก้]เมื่อปี พ.ศ. 2519 กาเบรียล ปินสกี และ ฟรานซิส นารินแนะให้ใช้ปัจจัยกระทบเวียนกลับ (recursive impact factor) สำหรับบทความวิชาการที่มีปัจจัยกระทบที่มีน้ำหนักมาก ปัจจัยกระทบเวียนกลับดังกล่าวคล้ายคลึงกับขั้นตอนวิธีเพจแรงก์ (PageRank algorithm) ที่ใช้กับโปรแกรมค้นหาของกูเกิล แม้บทความดั้งเดิมของปินสกี และ นารินจะใช้การเข้าถึงปัญหาด้วยการใช้ "ดุลการค้า" ที่ว่าวารสารที่มีค่าปัจจัยกระทบสูงสุดก็เพราะถูกอ้างอิงมากที่สุด แต่วารสารนั้นเองกลับอ้างอิงวารสารอื่นน้อยมากหรือเกือบไม่มีเลย ผู้เขียนบทความขยายผลที่ต่อเนื่องจากบทความที่ได้ปัจจัยกระทบสูงสุดดังกล่าวจำนวนหลายคน ได้เสนอให้ใช้วิธีการเข้าสู่การวางอันดับวารสารวิชาการให้มีความสัมพันธ์กันด้วย เมื่อ พ.ศ. 2549 โยฮาน โบลเลน มาร์โก เอ. โรดิเกสและเฮอร์เบิร์ต แวน เดอ โซมเพลในแนะให้ใช้ขั้นตอนวิธีเพจแรงก์เช่นกัน บทความของกลุ่มนี้เป็นดังตารางข้างล่างนี้:
ปัจจัยกระทบ ISI | เพจแรงก์ | รวม | ||||
---|---|---|---|---|---|---|
1 | 52.28 | ANNU REV IMMUNOL | 16.78 | เนเจอร์ (Nature) | 51.97 | เนเจอร์ |
2 | 37.65 | ANNU REV BIOCHEM | 16.39 | วารสารสาขาชีวเคมี | 48.78 | ไซแอนซ์ |
3 | 36.83 | PHYSIOL REV | 16.38 | ไซแอนซ์ (Science) | 19.84 | วารสารการแพทย์นิวอิงแลนด์ |
4 | 35.04 | NAT REV MOL CELL BIO | 14.49 | Proceedings of the National Academy of Sciences | 15.34 | เซลล์ (Cell) |
5 | 34.83 | วารสารการแพทย์นิวอิงแลนด์ | 8.41 | Physical Review Letters | 14.88 | Proceedings of the National Academy of Sciences |
6 | 30.98 | เนเจอร์ | 5.76 | เซลล์ | 10.62 | วารสารสาขาชีวเคมี |
7 | 30.55 | เนเจอร์เมดิซีน (Nature Medicine) | 5.70 | วารสารการแพทย์นิวอิงแลนด์ | 8.49 | Journal of the American Medical Association |
8 | 29.78 | ไซแอนซ์ | 4.67 | วารสารสมาคมเคมีอเมริกัน | 7.78 | The Lancet |
9 | 28.18 | NAT IMMUNOL | 4.46 | J IMMUNOL | 7.56 | NAT GENET |
10 | 28.17 | REV MOD PHYS | 4.28 | Applied Physics Letters | 6.53 | เนเจอร์เมดิซีน |
ตารางข้างต้นแสดงให้เห็นวารสารวิชาการที่อยู่ใน 10 อันดับที่จัดโดยปัจจัยกระทบ ISI, เพจแรงก์ และโดยระบบที่ปรับรวมแล้ว (ข้อมูล พ.ศ. 2546) เนเจอร์ และ ไซแอนซ์ ซึ่งได้รับการนั้น แต่เมื่อเข้าระบบรวมก็จะออกมาที่อันดับสูงสุดดังที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป วารสารการแพทย์นิวอิงแลนด์อาจเป็นตัวอย่างแสดงให้เห็นความแตกต่างของลำดับ คือ 5 และ 7 ในระบบ ISI และเพจแรงก์ตามลำดับ ได้ขึ้นเป็นอันดับ 3 เมื่อคำนวณด้วยระบบรวม
ปัจจัยไอเก็น (Eigenfactor) นับเป็นเพจแรงก์อีกประเภทหนึ่งที่ใช้วัดบทบาทและอิทธิพลของวารสารวิชาการ สามารถดูการจัดอันดับโดยปัจจัยไอเก็นดังกล่าวนี้ได้ที่เว็บไซต์ eigenfactor.org[2]
ดัชนีเอช: ผลกระทบของนักวิทยาศาสตร์รายบุคคล
[แก้]ปัจจัยกระทบเพื่อใช้กับตัวนักวิทยาศาสตร์ได้แก่ ดัชนีเอช (H-index) หรือ "เลขเฮิร์ส" (Hirsch number) ของนักวิทยาศาสตร์และประวัติการถูกอ้างอิง โดยถ้านักวิทยาศาสตร์ตีพิมพ์บทความจำนวน n เรื่องและหลายๆ เรื่องได้รับการอ้างอิงรวมได้ n ครั้ง ดัชนีเอชของนักวิทยาศาสตร์ผู้นั้นจะได้ค่าเท่ากับ n ดัชนีเอชมุ่งไปที่ผลกระทบของตัวนักวิทยาศาสตร์มากกว่าตัววารสาร บทความว่าด้วย ดัชนีเอชได้ปรากฏในวารสารเนเจอร์ฉบับเมื่อเร็วๆ นี้ โปรแกรมออนไลน์ของดัชนีเอชอาจดูได้จาก calculate a scientist's H-index[3]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-11. สืบค้นเมื่อ 2007-09-14.
- ↑ http://www.eigenfactor.org/
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-01-20. สืบค้นเมื่อ 2007-09-16.
- Eugen Garfield (June 1998). "Der Impact Faktor und seine richtige Anwendung". Der Unfallchirurg 101 (6) : 413-414.
- P.O. Seglen. Why the impact factor of journals should not be used for evaluating research. (1997) BMJ 314 (7079) :498-502. Entrez PubMed 9056804.
- S.A. Marashi. On the identity of “citers”: are papers promptly recognized by other investigators? (2005) Med. Hypotheses 65, 822. Entrez PubMed 15990244.
- a b Fassoulaki A, Papilas K, Paraskeva A, Patris K (2002). "Impact factor bias and proposed adjustments for its determination". Acta anaesthesiologica Scandinavica 46 (7) : 902-5. DOI:10.1034/j.1399-6576.2002.460723.x. PMID 12139549.
- Richard Monastersky. "The Number That's Devouring Science", The Chronicle of Higher Education, October 14 2005.
- (2005) "Not-so-deep impact" (editorial). Nature 435 (7045) : 1003-4. DOI:10.1038/4351003a. PMID 15973362.
- M. V. Simkin and V. P. Roychowdhury (2003). "Read before you cite!". Complex Syst. 14: 269.
- Gabriel Pinski and Francis Narin (1976). "Citation influence for journal aggregates of scientific publications: Theory with application to literature of physics". Information Processing & Management 12: 297-312.
- S. J. Liebowitz and J. P. Palmer. (1984). "Assessing the relative impacts of economics journals". Journal of Economic Literature 22: 77-88.
- I. Palacios-Huerta and O. Volij (2004). "The measurement of intellectual influence". Econometrica 72: 963-977.
- Y. K. Kodrzycki and P. D. Yu (2006). "New approaches to ranking economics journals". B. E. Journal of Economics Analysis and Policy 5.
- Johan Bollen, Marko A. Rodriguez, and Herbert Van de Sompel. (December 2006). "Journal Status". Scientometrics 69 (3).
- C. T. Bergstrom. (May 2007). "Eigenfactor: Measuring the value and prestige of scholarly journals". C&RL News 68 (5).
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย เก็บถาวร 2007-09-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
- ปัจจัยกระทบ, จากเว็บไซต์ Thomson ISI
- The ASIS&T SIGMETRICS list เก็บถาวร 2008-05-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เวทีหลักสำหรับการอภิปรายเกี่ยวกับการจัดดัชนีปัจจัยกระทบ
- รายชื่อลำดับและค่าของปัจจัยกระทบโดย Sci-Bytes
- H-index calculator for an individual scientist's impact เก็บถาวร 2007-05-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Estimated impact of publication venues in Computer Science
- Charles Jennings (1998). "Citation data: the wrong impact?". en:Nature Neuroscience. 1 (8): 641–642. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-06-20. สืบค้นเมื่อ 2007-09-13.
{{cite journal}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|month=
ถูกละเว้น (help) - Somnath Saha, Sanjay Saint, and Dimitri A. Christakis (2003). "Impact factor: a valid measure of journal quality?". Journal of the Medical Library Association. 91 (1): 42–46. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-05-08. สืบค้นเมื่อ 2007-09-13.
{{cite journal}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|month=
ถูกละเว้น (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - Per O Seglen (1997). "Impact factor: a valid measure of journal quality?". en:British Medical Journal. 314: 497.
{{cite journal}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|month=
ถูกละเว้น (help)
- C. Judson King et al (2006-07-27). "Scholarly Communication: Academic values and sustainable models".
- Philip Ball. "Prestige is factored into journal ratings". Nature 439, p.770-771.
- Publish or Perish การคำนวณสถิติต่างๆ รวมทั้ง H-index และ g-index โดยใช้ข้อมูลของ Google Scholar