ปลาหลด
ปลาหลด | |
---|---|
ปลาหลดจุด (M. siamensis) | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Actinopterygii |
อันดับ: | Synbranchiformes |
วงศ์: | Mastacembelidae |
สกุล: | Macrognathus Lacepède, 1800 |
ชนิดต้นแบบ | |
Ophidium aculeatum Bloch, 1786 | |
ชนิด | |
| |
ชื่อพ้อง | |
|
ปลาหลด เป็นชื่อปลานํ้าจืดทุกชนิดในสกุลปลากระดูกแข็งจำพวกหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Macrognathus จัดอยู่ในอันดับปลาไหลนา (Synbranchiformes) วงศ์ปลากระทิง (Mastacembelidae)
ปลาหลดมีรูปร่างเพรียวยาว ลำตัวแบนข้าง หัวและตามีขนาดเล็ก มีจุดเด่นคือ ปากเล็กและมีจะงอยปากแหลมยาว มีลักษณะทั่วไปคล้ายปลาในสกุล Mastacembelus หรือปลากระทิง แต่ทว่ามีขนาดและรูปร่างเล็กกว่ากันมาก มีสีสันและลวดลายน้อยกว่า[1] โดยเฉลี่ยแล้วจะมีความยาวประมาณไม่เกิน 1 ฟุต และมีครีบหางแยกออกจากครีบหลังและครีบท้องชัดเจน ก้านครีบเดี่ยวของครีบหลังเป็นหนามสั้น ๆ ปลายแหลมประมาณ 12-31 ก้าน ปลายจะงอยปากที่จมูกคู่หน้าแยกออกเป็นติ่งเนื้อเล็ก ๆ 4 หรือ 6 ติ่ง เกล็ดมีขนาดเล็กมากมีพฤติกรรมความเป็นอยู่และการหากินคล้าย ๆ กัน โดยอาจจะพบได้ในลำธารน้ำตกบนภูเขาหรือในป่าดิบชื้นด้วย[2]
พบกระจายพันธุ์ในอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีความสำคัญต่อมนุษย์ในแง่ของการเป็นอาหาร ตกปลา และเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม
การจำแนก
[แก้]สกุลปลาหลดปัจจุบันแบ่งออกได้เป็น 23 ชนิด[3] ชนิดที่มีชื่อภาษาไทยเป็นชนิดที่พบในประเทศไทย
- Macrognathus aculeatus (Bloch, 1786)
- Macrognathus aral (Bloch & J. G. Schneider, 1801)
- Macrognathus aureus Britz, 2010
- Macrognathus caudiocellatus (Boulenger, 1893)
- Macrognathus circumcinctus (Hora, 1924) — ปลาหลดภูเขา
- Macrognathus dorsiocellatus Britz, 2010
- Macrognathus fasciatus Plamoottil & Abraham, 2014[3]
- Macrognathus guentheri (Day, 1865)
- Macrognathus keithi (Herre, 1940)
- Macrognathus lineatomaculatus Britz, 2010 — ปลาหลดภูเขาลายจุด
- Macrognathus maculatus (Cuvier, 1832)
- Macrognathus malabaricus (Jerdon, 1849)
- Macrognathus meklongensis Roberts, 1986 — ปลาหลดแม่กลอง
- Macrognathus morehensis Arunkumar & Tombi Singh, 2000
- Macrognathus obscurus Britz, 2010
- Macrognathus pancalus Hamilton, 1822
- Macrognathus pavo Britz, 2010
- Macrognathus pentophthalmos (Gronow, 1854)
- Macrognathus semiocellatus Roberts, 1986 — ปลาหลดหลังจุด, ปลาหลดลายจุด
- Macrognathus siamensis (Günther, 1861) — ปลาหลดจุด
- Macrognathus taeniagaster (Fowler, 1935)
- Macrognathus tapirus Kottelat & Widjanarti, 2005 — ปลาหลดลายเฉียง
- Macrognathus zebrinus (Blyth, 1858) — ปลาหลดม้าลาย
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ความหมายของคำว่า หลด ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542
- ↑ สมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์. สาระน่ารู้ ปลาน้ำจืดไทย เล่ม ๒. กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, 2547. 257 หน้า. หน้า 118. ISBN 974-00-8738-8
- ↑ 3.0 3.1 Plamoottil, M. & Abraham, N.P. (2014): Macrognathus fasciatus (Synbranchiformes; Mastacembelidae) - a new fish species from Kerala, India. Journal of Experimental Zoology, India, 17 (1): 49-54.