ปลาหมอแคระ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปลาหมอแคระฮองสลอย (Apistogramma hongsloi) ในสกุล Apistogramma พบในทวีปอเมริกาใต้
ปลาหมอแคระโตมาซี่ (Anomalochromis thomasi) จัดเป็นปลาเพียงชนิดเดียวในสกุล Anomalochromis[1] พบในทวีปแอฟริกา

สำหรับปลาในวงศ์อื่น ดูที่: วงศ์ปลาหมอแคระ

ปลาหมอแคระ (อังกฤษ: Dwarf cichlid) เป็นชื่อเรียกปลาในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) กลุ่มหนึ่ง ที่มีขนาดลำตัวเล็กกว่าปลาในวงศ์เดียวกันสกุลอื่น ๆ ทั่วไป โดยจะมีความยาวลำตัวจรดหางเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 2 นิ้ว หรือ 12-15 เซนติเมตร

โดยมากแล้วนิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงามในตู้กระจก ที่มีการปลูกพืชจำพวกไม้น้ำควบคู่ไปด้วย ซึ่งปลาหมอแคระหลายสกุล หลายชนิดสามารถเพาะขยายพันธุ์กันได้ในที่เลี้ยง เป็นปลาที่มีประวัติการเลี้ยงมายาวนาน และจากการเพาะขยายพันธุ์เอง ที่ทำให้มีสายพันธุ์ที่หลากหลาย มีสีสันและลวดลายที่แตกต่างไปจากปลาที่พบในธรรมชาติ

ปลาหมอแคระสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ ปลากลุ่มที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาใต้ และปลาที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา มักอาศัยในน้ำที่มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างระหว่าง 4-7 (pH) แตกต่างออกไปตามถิ่นที่อยู่

สกุลของปลาหมอแคระ (อาทิ)[แก้]

อนึ่ง ยังมีปลาในบางวงศ์ที่มีชื่อสามัญเรียกว่า ปลาหมอแคระ เช่นกัน แต่มิได้อยู่ในวงศ์ปลาหมอสี ได้แก่ ปลาในสกุล Badis และ Dario ซึ่งอยู่ในวงศ์ปลาหมอแคระ (Badidae) ซึ่งแยกตัวออกมาจากวงศ์ปลาหมอช้างเหยียบ (Nandidae) ซึ่งพบได้ในทวีปเอเชีย

ขณะเดียวกันก็มีปลาในวงศ์ปลาหมอสีบางสกุลที่มีขนาดเล็กเช่นกัน แต่มิได้ถูกจัดให้เป็นปลาหมอแคระ เนื่องจากมีพฤติกรรมที่แตกต่างออกไป เช่น Lamprologus หรือ Pseudotropheus เนื่องจากนิยามของปลาหมอแคระต้องเป็นปลาขนาดเล็กที่มีพฤติกรรมไม่ก้าวร้าว สามารถเลี้ยงรวมกันกับปลาชนิดอื่นหรือสกุลอื่นได้ และไม่ทำลายไม้น้ำ [2]

อ้างอิง[แก้]

  1. จาก ITIS.gov
  2. อ๊อด Melanochromis / Apistoensis เปิดคัมภีร์ปลาหมอแคระ (ตอนที่ 1) คอลัมน์ Wild Ambition หน้า 70-87 นิตยสาร Aquarium Biz ฉบับที่ 6 ปีที่ 1 ธันวาคม 2010

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]