ปลายาด
ปลายาด | |
---|---|
Tor tambroides | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอตา Eukaryota |
อาณาจักร: | สัตว์ Animalia |
ไฟลัม: | สัตว์มีแกนสันหลัง Chordata |
ชั้น: | ปลาที่มีก้านครีบ Actinopterygii |
อันดับ: | ปลาตะเพียน |
วงศ์: | วงศ์ปลาตะเพียน |
สกุล: | Tor J. E. Gray, 1833 |
ชนิดต้นแบบ | |
Tor hamiltonii Gray, 1834 |
ปลายาด หรือ ปลาเวียน (อังกฤษ: Mahseers, Brook carps) เป็นสกุลของปลาน้ำจืดที่มีขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Tor (/ทอร์/)
มีลำตัวยาวและแบนข้างไม่มากนัก หัวค่อนข้างเล็ก มีหนวดที่ยาว 2 คู่ คู่แรกอยู่ที่ริมปากบน และคู่ที่สองอยู่ที่มุมปาก ปากโค้งเป็นรูปเกือกม้า ริมปากบนและล่างหนาเชื่อมติดต่อกัน ริมปากล่างมีร่องคั่นระหว่างริมปากกับกระดูกขากรรไกรล่าง บางชนิดอาจมีกล้ามเนื้อแบ่งเป็นพู ๆ บนริมปากล่าง และบางชนิดไม่มีพูของกล้ามเนื้อดังกล่าว เกล็ดมีขนาดใหญ่ เส้นข้างลำตัวสมบูรณ์ เยื่อขอบกระดูกแก้มเชื่อมติดกับเอ็นคาง ฟันที่ลำคอรูปร่างเหมือนช้อน มี 3แถว โคนครีบหลังหุ้มด้วยเนื้อที่เป็นเกล็ด มีก้านครีบแขนง 8 หรือ 9 ก้าน ก้านครีบเดี่ยวก้านสุดท้ายเป็นหนามแข็งและขอบเรียบ
ต้นแบบของสกุลนี้มาจาก Cyprinus tor ซึ่ง จอห์น เอ็ดเวิร์ด เกรย์ ได้ยกขึ้นเป็นชื่อสกุล โดยตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tor hamiltonii ก่อนหน้าสกุล Labeobarbus ของเอ็ดดวร์ด รุพเพิล ซึ่งนักมีนวิทยาหลายท่านได้นำเอาสกุล Labeobarbus ไปตั้งชื่อปลาที่พบในแถบคาบสมุทรอินโดออสเตรเลีย แต่ก็มีบางส่วนที่ใช้สกุลอื่น ปลาในกลุ่มนี้จึงมีชื่อพ้องด้วยกันหลากหลาย[1]
พบทั้งหมดประมาณ 20 ชนิด ในทวีปเอเชีย ตามแม่น้ำสายใหญ่ ๆ
ชนิด
[แก้]- Tor ater T. R. Roberts, 1999
- Tor dongnaiensis H. Đ. Hoàng, H. M. Phạm, J.-D. Durand, N. T. Trần & P. D. Phan, 2015 (Dongnai mahseer) [2]
- Tor douronensis (Valenciennes, 1842) (semah)
- Tor hemispinus Y. R. Chen & X. L. Chu, 1985
- Tor khudree (Sykes, 1839) (black mahseer)
- Tor kulkarnii Menon, 1992 (dwarf mahseer)
- Tor laterivittatus W. Zhou & G. H. Cui, 1996
- Tor malabaricus Jerdon, 1849 (Malabar mahseer)
- Tor mosal (F. Hamilton, 1822) [2]
- Tor mekongensis H. Đ. Hoàng, H. M. Phạm, J.-D. Durand, N. T. Trần & P. D. Phan, 2015 (Mekong mahseer) [2]
- Tor polylepis W. Zhou & G. H. Cui, 1996
- Tor putitora (F. Hamilton, 1822) (Himalayan mahseer)
- Tor cf. putitora largest known species of cavefish[3] (now Neolissochilus pnar)
- Tor remadevii Kurup & Radhakrishnan, 2007 [4] (orange-finned mahseer)
- Tor sinensis H. W. Wu, 1977 (Chinese mahseer)
- Tor tambra (Valenciennes, 1842)
- Tor tambroides (Bleeker, 1854) (Malayan mahseer, empurau)
- Tor tor (F. Hamilton, 1822) (red-finned mahseer)
- Tor yingjiangensis Z. M. Chen & J. X. Yang, 2004
อ้างอิง
[แก้]- ↑ สมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์, สาระน่ารู้ปลาน้ำจืดไทย เล่ม ๑ หน้า 177 (พ.ศ. 2547) ISBN 974-00-8701-9
- ↑ 2.0 2.1 2.2 Hoàng Huy Đức, Phạm Hùng Mạnh, Durand, J.-D., Trần Ngân Trọng & Phan Phúc Đình (2015): Mahseers genera Tor and Neolissochilus (Teleostei: Cyprinidae) from southern Vietnam. Zootaxa, 4006 (3): 551-568.
- ↑ Dan Harries, Thomas Arbenz, Neelesh Dahanukar, Rajeev Raghavan, Mark Tringham, Duwaki Rangad and Graham Proudlove. 2019. The World’s Largest Known Subterranean Fish: A Discovery in Meghalaya (NE India) of A Cave-adapted Fish related to the Golden Mahseer, Tor putitora (Hamilton 1822). Cave & Karst Science. 46(3); 121–126.
- ↑ Kurup, B.M. & Radhakrishnan, K.V. (2011): Tor remadevii, a new species of Tor (Gray) from Chinnar Wildlife Sanctuary, Pambar River, Kerala, Southern India. Journal of the Bombay Natural History Society, 107 (3): 227-230.