ปลาฉลามหางยาวหน้าหนู
ปลาฉลามหางยาวหน้าหนู ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: 16–0Ma[1] ไมโอซีนตอนกลาง-ปัจจุบัน | |
---|---|
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Chondrichthyes |
ชั้นย่อย: | Elasmobranchii |
อันดับ: | Lamniformes |
วงศ์: | Alopiidae |
สกุล: | Alopias |
สปีชีส์: | A. superciliosus |
ชื่อทวินาม | |
Alopias superciliosus (Lowe, 1840) | |
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ | |
ชื่อพ้อง | |
|
ปลาฉลามหางยาวหน้าหนู[3] หรือ ปลาฉลามหางยาวตาโต (อังกฤษ: Bigeye thresher shark, False thresher[2]; ชื่อวิทยาศาสตร์: Alopias superciliosus) ปลากระดูกอ่อนจำพวกปลาฉลามชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์ปลาฉลามหางยาว (Alopiidae)
โดยคำว่า superciliosus ที่ใช้เป็นชื่อวิทยาศาสตร์นั้น มาจากภาษาละตินคำว่า super หมายถึง "เหนือ" และ ciliosus หมายถึง "คิ้ว" อันหมายถึง ร่องที่อยู่เหนือดวงตา[4] [5]
ปลาฉลามหางยาวตาโต มีรูปร่างลักษณะเหมือนกับปลาฉลามหางยาวชนิดอื่นทั่วไป มีร่างกายสีเทาออกม่วงกลมกลืนไปกับสีของสภาพแวดล้อม มีดวงตากลมโตรูปลูกแพร์ขนาดใหญ่กว่าปลาฉลามหางยาวชนิดอื่น โดยมีเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 10 เซนติเมตร นับว่าเป็นขนาดของตาของสัตว์โลกที่ใหญ่ที่สุดที่ไม่ใช่สัตว์จำพวกนก สันนิษฐานว่ามีไว้เพื่อปรับตัวให้เข้ากับสภาพของทะเลลึกที่มืดมิดที่มีปริมาณแสงน้อย นอกจากนี้แล้วยังสามารถที่ปรับอุณหภูมิในร่างกายให้อุ่นกว่าอุณหภูมิของน้ำที่อาศัยอยู่ โดยจะมีอุณหภูมิร่างกายอยู่ที่ 2-4 องศาเซลเซียส
ปลาฉลามหางยาวตาโต จัดเป็นปลาฉลามกินเนื้อที่มีขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ขนาดเมื่อโตเต็มที่มีขนาดเฉลี่ยประมาณ 4.6 เมตร หรือเล็กกว่านี้ พบใหญ่ที่สุด 4.8 เมตร น้ำหนักประมาณ 360 กิโลกรัม
ปลาฉลามหางยาวตาโต อาศัยอยู่ในมหาสมุทรที่มีความลึกกว่า 500 เมตร น้ำมีอุณหภูมิเย็น พบได้ในหลายพื้นที่ทั่วโลก แต่จะพบได้บ่อยที่มหาสมุทรแอตแลนติก รวมถึงบางส่วนในมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดียด้วย[3]
เป็นปลาที่มีความปราดเปรียวว่องไว ตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา ล่าปลาขนาดเล็กและสัตว์น้ำต่าง ๆ กินเป็นอาหาร โดยใช้ครีบหางท่อนบนที่ยาวใหญ่นั้นตีไล่เหยื่อ เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ 12-13 ปีในตัวเมีย และ 9-10 ปีในตัวผู้ ลูกปลาเกิดใหม่มีความยาว 70-106 เซนติเมตร โดยเกิดเป็นตัวจากไข่ในช่องท้องของปลาตัวแม่[6]
เป็นปลาฉลามอีกชนิดหนึ่งที่ถูกจับและใช้ประโยชน์ในทางการประมง[3] และก็ถูกจัดให้เป็นหนึ่งใน 10 ชนิดของปลาฉลามที่ถูกคุกคามจนใกล้สูญพันธุ์ทั่วโลก[7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Yabumoto, Y. and Uyeno, T. (1994). "Late Mesozoic and Cenozoic fish faunas of Japan". The Island Arc. 3: 255–269. doi:10.1111/j.1440-1738.1994.tb00115.x.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ 2.0 2.1 "More oceanic sharks added to the IUCN Red List" (Press release). IUCN. February 22, 2007. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-14. สืบค้นเมื่อ December 21, 2008.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 ปลาฉลาม : สัตว์น้ำพลอยจับได้จากเครื่องมือเบ็ดราวและอวนล้อมปลาทูน่า โดยเรือ M.V. .. จากกรมประมง
- ↑ Ebert, D.A. (2003). Sharks, Rays, and Chimaeras of California. London: University of California Press. pp. 103–104. ISBN 0-520-23484-7.
- ↑ "Jensen, C. Bigeye Thresher. Florida Museum of Natural History. Retrieved on December 21, 2008". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-28. สืบค้นเมื่อ 2013-03-09.
- ↑ Deep Sea: the Twilight Zone and Beyond Bigeye Thresher Shark
- ↑ ฉลามทะเลลึกใกล้สูญพันธุ์[ลิงก์เสีย]
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Alopias superciliosus ที่วิกิสปีชีส์