ปริซึมนิคอล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การเกิดโพลาไรเซชันภายในปริซึมนิคอล

ปริซึมนิคอล (Nicol prism) เป็น ปริซึมประเภทหนึ่งที่ใช้สำหรับทำเป็นโพลาไรเซอร์ คือใช้เพื่อสร้างลำแสงโพลาไรซ์ จากลำแสงที่ไม่โพลาไรซ์ ถูกประดิษฐ์ขึ้นในปี 1828 โดยวิลเลียม นิคอล (William Nicol) นักฟิสิกส์ชาวสก็อต และเป็นปริซึมโพลาไรซ์ตัวแรกที่ถูกสร้างขึ้น ประกอบด้วย แคลไซต์ (ไอซ์แลนด์สปาร์) รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ตัดทแยงมุมออกเป็นสองส่วนที่มุม 68º แล้วต่อด้วย กาวที่ทำจากน้ำมันสนบาลซัม[1]

แสงไม่โพลาไรซ์จะผ่านเข้ามาทางด้านหนึ่งของปริซึม และถูกแยกออกเป็นแสงโพลาไรซ์ 2 ลำเนื่องจากเกิดการหักเหสองแนวภายในแคลไซต์ หนึ่งในนั้นเรียกว่า รังสีสามัญ (o-ray ในภาพ) ซึ่งดรรชนีหักเหเป็น no = 1.658 และในแนวทแยงมีกาวที่มีดรรชนีหักเป็น 1.55 ทำให้เกิดการสะท้อนกลับทั้งหมดที่ผิว ลำแสงอีกลำเรียกว่า รังสีวิสามัญ (e-ray ในภาพ) มีค่าดัชนีการหักเหของแสงน้อยกว่า คือ ne = 1.486 และจะไม่สะท้อนกลับ แต่จะข้ามส่วนรอยต่อในแนวทแยงและออกไปทางด้านตรงข้าม ในรูปของแสงโพลาไรซ์

ปริซึมชนิดนี้ได้ถูกใช้อย่างแพร่หลายในกล้องจุลทรรศน์ และเครื่องวัดการโพลาไรซ์ แต่ปัจจุบันในการใช้งานส่วนใหญ่มักถูกแทนที่ด้วยโพลาไรเซอร์ประเภทอื่น ๆ เช่นแผ่นโพลาลอยด์ หรือ ปริซึมกลาน–ทอมป์สัน

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Greenslade, Thomas B., Jr. "Nicol Prism". Kenyon College. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-21. สืบค้นเมื่อ 23 January 2014.{{cite web}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)