ปริซึมเซนาร์มง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หลักการทำงานของปริซึมเซนาร์มง

ปริซึมเซนาร์มง (Sénarmont prism) เป็นโพลาไรเซอร์ชนิดหนึ่ง สร้างจากปริซึมสองชิ้นที่ทำโดยวัสดุที่มีสมบัติการทำให้เกิดการหักเหสองแนว เช่น แคลไซต์ ซึ่งประกอบเข้าด้วยกัน[1] ปริซึมเซนาร์มงตั้งชื่อตาม อ็องรี อูว์โร เดอ เซนาร์มง (Henri Hureau de Sénarmont) นักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศส มีลักษณะคล้ายกับปริซึมโรชง และ ปริซึมวอลลัสตัน

ภายในปริซึมเซนาร์มง รังสีโพลาไรซ์ s (นั่นคือ รังสีที่มีทิศทางของโพลาไรซ์ตั้งฉากกับระนาบการหักเหและสะท้อนของรังสี) ผ่านไปโดยไม่มีการเบี่ยงเบน ในขณะที่รังสีโพลาไรซ์ p (ซึ่งมีทิศทางโพลาไรซ์ในแนวขนานกับระนาบ) เกิดการหักเหที่ส่วนรอยต่อภายในไปยังทิศทางอื่น ภายในปริซึมชิ้นแรกนั้น รังสีทั้งสองจะยังเป็นรังสีสามัญ (รังสี o) เนื่องจากทิศทางของโพลาไรเซชันทั้งสองตั้งฉากกับแกนเชิงแสงซึ่งเป็นทิศทางของการแพร่กระจาย ในปริซึมที่สอง รังสีโพลาไรซ์ s จะยังคงไม่เปลี่ยนแปลง (ยังคงเป็น รังสี o) ในขณะที่รังสีโพลาไรซ์ p จะเปลี่ยนแปลงไปกลายเป็นรังสีวิสามัญ (รังสี e) โดยมีส่วนประกอบของโพลาไรเซชันตามแกนเชิงแสง ดังนั้น รังสีโพลาไรซ์จึงไม่หักเหเนื่องจากดรรชนีหักเหยังคงไม่เปลี่ยนแปลงบนรอยต่อ ในทางกลับกัน รังสีโพลาไรซ์ p จะหักเหเนื่องจากดรรชนีหักเหเปลี่ยนแปลงไปเมื่อเปลี่ยนจากรังสี o ไปเป็นรังสี e

ปริซึมเซนาร์มงมีโครงสร้างและการทำงานคล้ายกับปริซึมโรชง เนื่องจากในโพลาไรเซอร์ทั้งสองแบบ รังสีที่ไม่หักเหคือรังสี o ด้านหลังส่วนต่อประสานภายใน ในขณะที่รังสีที่หักเหคือรังสี e อย่างไรก็ตาม ในปริซึมโรชง รังสีโพลาไรซ์ p ยังคงเป็นรังสี o ทั้งสองด้านของรอยต่อ ดังนั้นจึงไม่หักเห ในขณะที่รังสีโพลาไรซ์ s เปลี่ยนจากรังสี o เป็นรังสี e ดังนั้นจึงเบี่ยงเบนไป

อ้างอิง[แก้]

  1. Damask, JN (2005). Polarization Optics in Telecommunications. New York: Springer. ISBN 0-387-22493-9.