บ้านเชียงแก้ว (จังหวัดอุบลราชธานี)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

บ้านเชียงแก้วตั้งตามชื่อของบุคคลที่มาอยู่ก่อนคือ นายแก้ว ซึ่งเคยบวชเป็นสามเณรสึกออกมาจึงมีคำนำหน้าว่า “เชียง” ชาวบ้านจึงเรียกนายแก้วว่า “เชียงแก้ว” แล้วจึงนำชื่อมาตั้งเป็นชื่อหมู่บ้าน เป็นบ้านเชียงแก้วจนถึงปัจจุบัน

ประวัติการตั้งหมู่บ้าน[แก้]

เดิมชาวบ้านเชียงแก้วบางส่วนอพยพมาพร้อมกับชาวลาวเวียงจันทร์ที่มาตั้งเมืองอยู่ปากมูลน้อย ส่วนหนึ่งย้ายถิ่นที่อยู่มาจากบ้านคำไฮ – หนองแล้ง และอีกส่วนหนึ่งจากหนองหาน หนองคาย มาตั้งบ้านอยู่ดอนหาด เรียกว่า บ้านดอนหาด ริมห้วยบะฮัง ห่างจากหมู่บ้านเชียงแก้วไปทางทิศตะวันตกประมาณ 2 ก.ม และยังมี บ้านหนองขอน ตั้งอยู่ริมหนองขอนทางทิศตะวันตก แต่เป็นหมู่บ้านเล็กๆ ต่อมาเกิดน้ำท่วมเกือบทุกปีจึงหาทำเลที่ตั้งใหม่ได้ที่ทางทิศตะวันตก โดยแยกเป็นสองหมู่บ้าน คือ บ้านเหนือกับ บ้านใต้ เป็นชุมชนที่ใหญ่ขึ้นกว่าเดิม ทางบ้านใต้ตั้งวัดขึ้น บริเวณที่ตั้งมีต้นโพธิ์ใหญ่อยู่จนถึงปัจจุบันนี้ และบริเวณที่ก่อสร้างอุโบสถ (สิม) ยังมีหลักฐานหลงเหลืออยู่บ้าง ระหว่างบ้านเหนือกับบ้านใต้ระยะห่างกันประมาณ 500 เมตร ชาวบ้านจะมาเยี่ยมเยือนกันเสมอหรือจะมาทำบุญที่วัดต้องมาตอนกลางวัน เพราะตอนกลางคืนต้องระวังอันตรายจากเสือในช่วงนั้น นายแก้วหรือเชียงแก้วและภรรยาซึ่งเป็นคนตาบอด ได้อพยพจากบ้านขี้เหล็ก ตำบลหัวเรือ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี มาทำไร่ข้าวและเป็นช่างตีเหล็ก มาอยู่ที่ดินบ้านเชียงแก้ว พอชาวบ้านเหนือ – บ้านใต้ มาเห็นข้าวงอกงามดีจึงคิดมาอยู่กับนายแก้ว ซึ่งนายแก้วก็เห็นดีด้วยเพราะต้องการเพื่อนบ้านอยู่แล้ว จึงพร้อมกันถากถางป่าเพื่อจับจองพื้นที่เป็นของตนเอง จากการบอกเล่าต่อมาได้ย้ายวัดมาตั้งใหม่ ปัจจุบันเป็นบริเวณบ้าน นายพัน ภาเรือง นายโทน ภาเรือง นายเสถียร ภาเรือง ซึ่งตั้งอยู่ทางใต้ของหมู่บ้าน แต่ตั้งได้ชั่วคราว ต่อมาได้พิจารณาเห็นว่าไม่เหมาะสมต้องการวัดอยู่ทางทิศเหนือเพื่อเป็นสิริมงคล จึงย้ายวัดไปตั้งอยู่โนนโพธิ์ (โพธิ์ตาก – ปัจจุบันคือ บ้านสร้างคำ) แล้วไปสร้างสิมน้ำที่หนองสิมอยู่ทางทิศตะวันตกของหมู่บ้าน ปัจจุบันไม่ปรากฏหลักฐานอะไรที่หนองสิม ปี พ.ศ. 2537 ทางราชการขุดลอกหนองสิมขุดพบไม้แคนใหญ่ฝังอยู่ในหนองลึกกว่า 2 เมตร แต่ไม่สามารถเอาขึ้นได้ ปัจจุบันชาวบ้านเชียงแก้วเรียกบ้านใต้ – บ้านเหนือว่า “บ้านเก่า” ต่อมาทางวัดร่วมกันกับชาวบ้านเห็นว่า ที่วัดโนนโพธิ์ลาดเอียงยากต่อการพัฒนาสร้างอารามวิหารต่างๆ ขณะนั้นมีผู้มีจิตศรัทธาคือ มีลูกเมืองแสนสังข์ 4 คน (ชาย 2 คน หญิง 2 คน คือ นางตุ้มแก้ว นางกองแพง ชาย 2 คน จำชื่อไม่ได้) ตกลงกันบริจาคที่ดินส่วนตัวให้เป็นธรณีสงฆ์ สร้างเป็นวัดบ้านเชียงแก้วจนถึงปัจจุบันนี้ ปล. บ้านจิกเทิง เป็นหมู่บ้านเก่าแก่กว่า...บ้านเชียงแก้วเป็น 100 ปี

รายชื่อผู้นำชุมชน จากอดีด – ปัจจุบัน[แก้]

1. นายชา ปากดี 2. นายแสง 3. นายคูณ 4. นายใบ 5. นายโท ระดาบุตร 6. นายเงิน สมเสนาะ ลำดับต่อมาบ้านเชียงแก้วแยกออกเป็น 2 หมู่บ้าน คือ หมู่ 6 และหมู่ 16 ดังนี้ 7. นายคำ สุจริต หมู่ 16 8. นายพรม พันธ์คำ หมู่ 6 18 กันยายน 2521 ตั้งกิ่งอำเภอตาลสุม โดยแยกมาจาก อำเภอ พิบูลมังสาหาร และปี2525 แยก ตำบลจิกเทิง ออกเป็น ตำบลนาคาย พร้องกับแยกหมู่บ้านเชียงแก้วออกอีก 1 หมู่ คือ หมู่ 9 บ้านสร้างคำ 9. นายวัน จันภิรักษ์ หมู่ 3 10. นายชิน นาริกุล หมู่ 9 11. นายคำดี สมสุข หมู่ 4 ปัจจุบัน 12. นายมณีโชติ สุจริต หมู่ 3 ปัจจุบัน 13.นายสุนีย์ แก้วใจ

วัฒนธรรม / ประเพณีของหมู่บ้าน / ภาษา[แก้]

  • ชนกลุ่มดั้งเดิมของหมู่บ้านคือ ชาวลาว
  • ภาษาถิ่นดั้งเดิม ภาษาลาว ภาษาที่ใช้ปัจจุบันคือ ภาษาอีสาน
  • ลัทธิความเชื่อและพิธีกรรมดั้งเดิมของหมู่บ้าน
  • ผีไถ้ ผีตาแฮก
  • ผีเจ้าปู่ เจ้าตา แม่ธรณี
  • หมอสูตรขวัญ หมอดู การหาฤกษ์งามยามดี ฯลฯ

สถานที่สำคัญ[แก้]