บ้านพลับ
บทความนี้ทั้งหมดหรือบางส่วน มีเนื้อหา รูปแบบ หรือลักษณะการนำเสนอที่ไม่เหมาะสมสำหรับสารานุกรม |
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
บ้านพลับ เป็นหมู่บ้านหนึ่งที่อยู่ในตำบลสนม อำเภอสนม จังหวัดสุรินทร์ เป็นหมู่บ้านที่พูดภาษา เขมรหนึ่งเดียวในหมู่บ้านของตำบลสนม อำเภอสนม จังหวัดสุรินทร์ ที่ยังมีการอนุรักษ์ วัฒนธรรมประเพณีต่างของชาวเขมรไว้ และยังเป็นหมู่บ้านที่ได้รับความสำเร็จต่างๆในการจัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนได้สำเร็จมีเงินทุนหมุนเวียน เป็นหมู่บ้านได้รับการรับรองเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ระดับ “อยู่เย็น เป็นสุข” ประจำปี ๒๕๕๔
สามารถพัฒนาหมู่บ้านและตนเองจนได้รับมาตรฐานงานชุมชน(มชช.) ทั้งประเภทชุมชนและตนเอง ปี 2555 ได้รับรางวัล รองชนะเลิศอันดับ ๑ ระดับภาค หมู่บ้าน อพป.
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]บ้านพลับหมู่ที่ 4 ตำบลสนม อำเภอสนม ตั้งอยู่ทิศทางตะวันตกของอำเภอ อยู่ห่างจากตัว อำเภอเป็นระยะทาง 3 กิโลเมตร มีอาณาเขต ทิศเหนือจรดบ้านโสกแดง ทิศใต้จรดบ้านอาเลา ทิศตะวันออกจรดบ้านนาศรีสุข ทิศตะวันตกจรดบ้านค้อ
ประวัติ
[แก้]บ้านพลับ ตั้งอยู่ที่ตำบลสนม อำเภอสนม จังหวัดสุรินทร์ จัดตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2458 ราษฎรส่วนใหญ่เป็นชนเผ่า “เขมร” อพยพมาจากบ้านตูมและบ้านพงสวาย อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ สาเหตุอพยพมาเพราะมีการ ประกอบอาชีพทำนาเพียงอย่างเดียว ซึ่งพื้นที่นาส่วนมากติด กับลำน้ำมูล ทำให้น้ำท่วมนาไม่ได้ผลผลิตเท่าที่ควร และต่อมามีผู้อาวุโสหมู่บ้าน ได้เดินทางมาเห็นทำเลแห่งนี้มีความเหมาะสมกับการประกอบอาชีพเพาะปลูกจึง พากันอพยพมาตั้งบ้านเรือน อยู่ ณ ที่หมู่บ้านปัจจุบัน “ พลับ” เป็นชื่อของไม้ยืนต้นชนิดหนึ่ง ซึ่งแต่เดิมมีต้นพลับขึ้นที่หนองน้ำหมู่บ้านจึงเห็นพ้องต้องกันว่า ไม้ชนิดนี้เป็นไม้มงคล มีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง จึง นำมาตั้งเป็นชื่อว่า “ บ้านหนองพลับ” และต่อมาเรียกกันสั้นๆว่า “บ้านพลับ” และเรียกชื่อนี้จนถึงทุกวันนี้ อัตราส่วนของประชากรในปัจจุบัน “เขมร” 70% “ลาว” 30%
ลักษณะภูมิประเทศ
[แก้]- บ้านพลับ ตั้งอยู่บนพื้นที่ราบ มีลำห้วยไหลผ่านรอบหมู่บ้าน 1 สาย สภาพอากาศมี 3 ฤดู อากาศค่อนข้างร้อน คนในหมู่บ้านจึงนิยมปลูกไม้ผล ผักสวนครัวรั้วกินได้ หรือไม้ยืนต้นรอบ ๆ บ้าน เพื่อปรับสภาพอากาศและได้รับร่มเงาจากต้นไม้ ทำให้เกิดความร่มเย็นมากขึ้น
พื้นที่ทั้งหมด 2,831 ไร่ แยกเป็นพื้นที่การเกษตร 2,461 ไร่ พื้นที่อยู่อาศัย 318 ไร่ พื้นที่สาธารณของหมู่บ้าน 52 ไร่ การถือครองกรรมสิทธิ์ ส่วนใหญ่ถือครอง โฉนด
สังคม
[แก้]สภาพบ้านเรือนของชาวบ้านพลับมีความมั่นคงถาวร ส่วนใหญ่เป็นบ้านไม้มุงกระเบื้องและสังกะสีมีการจัดบริเวณบ้านถูกสุขลักษณะครอบครัวมีความอบอุ่น และครัวเรือนไม่ถูกรบกวนจากมลพิษ
- ประชาชนส่วนใหญ่มีสุขภาพดี คนอายุ 35 ปี ขึ้นไปได้รับการตรวจสุขภาพประจำปี
- เด็กและเยาวชนได้รับการศึกษาภาคบังคับทุกคน และประชาชนที่มีอายุ 15-60 ปีอ่านออกเขียนได้ครบทุกคน
- ผู้สูงอายุ คนชรา คนพิการ ได้รับการดูแลสงเคราะห์และช่วยเหลือจากกองทุนต่าง ๆ ในชุมชนด้านสวัสดิการเป็นอย่างดี
- คนในครัวเรือนมีส่วนร่วมในการเวทีประชาคม โดยแสดงความคิดเห็นเพื่อประโยชน์ของชุมชนโดยสม่ำเสมอ
- หมู่บ้านมีการจัดบูรณาการทุนในชุมชน และใช้ศูนย์กลาง คือ ศูนย์บูรณาการทุนชุมชนเป็นศูนย์กลางในการปฏิบัติงาน ศูนย์ข้อมูลชุมชน และเตรียมความพร้อมสู่การเป็นสถาบันการจัดการเงินทุนในชุมชนในอนาคตข้างหน้า มีกลุ่มกิจกรรมในชุมชนจำนวน 19 กลุ่ม เงินทุน
ชาวบ้านส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ มีวัดประจำหมู่บ้านคือ วัดหนองพลับ เป็นศูนย์รวมจิตใจ และเป็นศูนย์กลางในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ในชุมชน ตั้งอยู่ที่บ้านพลับ หมู่ 4 ตำบลสนม อำเภอสนม จังหวัดสุรินทร์
อาชีพหลัก ทำนา ทำไร่ ทำสวน เลี้ยงสัตว์ ค้าขาย รับจ้าง อุตสาหกรรมหัตถกรรมในครัวเรือน ทอผ้าไหม เลี้ยงหม่อนไหม
ผลิตภัณฑ์ของชุมชน
- ชาวบ้านพลับจะรวมตัวกันเป็นกลุ่มเพื่อจัดทำกิจกรรมสร้างเสริมรายได้ด้านอาชีพและกิจกรรมที่เป็นสวัสดิการชุมชน โดย การบูรณาการทุนที่มีอยู่ในชุมชนเข้าด้วยกันปัจจุบัน และมี ผลิตภัณฑ์ชุมชนที่เด่น ๆ ได้แก่
- ข้าวปลอดสารพิษ เป็นข้าวสารมะลิพันธุ์ดี ปลูกดูแลและบ ารุงดินโดยไม่ใช้สารเคมีซึ่งเมล็ดข้าวจะ “ หอม ขาว ยาว และนุ่ม” ดำเนินการโดยกลุ่มโรงสีชุมชน(เครือข่ายกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตข้าวเม่าปลอดสารพิษ เป็นข้าวเม่าแปรรูปจากข้าวปลอดสารพิษ ซึ่งภูมิปัญญาท้องถิ่นได้ดัดแปลง เครื่องมือในการผลิต ดำเนินการโดยกลุ่มสตรี เป็นการสร้างเสริมรายได้อีกทางหนึ่ง
- ผลิตภัณฑ์จากไหม กลุ่มสตรีดำเนินการ มีการปลุกหม่อน,เลี้ยงไหม ,ทอผ้าไหมลวดลายต่าง ๆ เช่นลายอัมปรม , ลายโฮล ,ลายลูกแก้ว ,ลายโสร่งเปราะ,ลายกะเนียว ฯ ล ฯ
- ผลิตภัณฑ์จักสานจากไม้ไผ่ดำเนินการโดยกลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นภูมิปัญญาของท้องถิ่นจักสานผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่ ส่วนใหญ่ทำเป็นของใช้ในครัวเรือน ,เครื่องมือดักจับสัตว์ เช่น ลอบ,ไซ,สวิง,หวดนึ่งข้าว,กระบุง และอื่น ๆ
ประเพณีที่สำคัญของชุมชน
- เดือนมกราคม มีการจัดแข่งขันกีฬาประจำปี “บ้านพลับ-บ้านค้อ” , กิจกรรมวันเด็ก
- เดือนมีนาคม ตรงกับขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 เซ่นไหว้ศาลปู่ตา ประจำหมู่บ้าน
- เดือนพฤษภาคม ตรงกับขึ้น 6 ค่ำ เดือน 6 เซ่นไหว้ศาลปู่ตา ประจำหมู่บ้าน ก่อนการทำไรไถนา
- เดือนเมษายน มีการจัดกิจกรรมวันกตัญญูผู้สูงอายุ , การทำบุญรวมญาติ , ประเพณีเรือมอันเร (รำกระทบสาก)
- เดือนกรกฎาคม ทำบุญวันเข้าพรรษา
- เดือนตุลาคม ประเพณี “แซนโฏนตา” ซึ่งเป็นการเซ่นไหว้บรรพบุรุษ ตรงกับ แรม 14 ค่ำ เดือน 10 ของทุกปี เครือญาติพี่น้องได้มีโอกาสมาพบหน้ากัน สร้างความอบอุ่นในครอบครัวเป็นอย่างยิ่ง และหลังจาก ประเพณี “แซนโฏนตา” อีก 15 วัน ก็จะทำบุญออกพรรษา จุดกระธูปและปล่อยโคมลอย
- พิธีกรรมความเชื่อ
- เนื่องจากเป็นชุมชนเผ่าเขมร จึงมีความเชื่อเกี่ยวกับความเชื่อสิ่งลี้ลับต่างๆ มีการเซ่นไหว้บรรพบุรุษก่อนการเริ่มงานพิธีต่างๆ และหากเจ็บป่วยรักษาแพทย์แผนปัจจุบันไม่ดีขึ้น ก็จะมีการรักษาโดยพิธีกรรมความเชื่อพื้นบ้านโดยสืบทอดมาจากบรรพุบุรุษจากรุ่นสู่รุ่น พอรักษแล้วอาการดีขึ้นจึงมีความเชื่อว่าอาการเจ็บป่วยดังกล่าวเกิดจากสิ่งที่มองไม่เห็น
ครัวเรือนในหมู่บ้านเป็นสมาชิกกลุ่มที่ตั้งขึ้นในหมู่บ้าน จำนวน 19 กลุ่ม โดยมี กิจกรรมหลัก คือ กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตเป็นแกนน้าการพัฒนาและเชื่อมโยงสู่กิจกรรม อื่น ๆ เช่น ศูนย์สาธิตการตลาด ,โรงสีชุมชน ,ยุ้งฉาง-ธนาคารข้าวธนาคารโค-กระบือ ,ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก,กองทุนผู้สูงอายุ ,กลุ่มเยาวชน และอื่น ๆ ที่เป็นเงินทุนที่สนับสนุนจากทั้งทางราชการและเอกชนซึ่งแต่ละกลุ่ม องค์กรของหมู่บ้านสามารถดำเนินกิจกรรมประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี สามารถเป็น แหล่งเรียนรู้ให้แก่กลุ่มองค์กรที่สนใจศึกษาและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ได้มีการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ชุมชนขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2551และมีการขยายผลการดำเนินงานศูนย์เรียนรู้ชุมชนขึ้นในปี พ.ศ. 2553 มีการกำหนด กิจกรรมการเรียนรู้ 3 สถานี คือ
- สถานีเรียนรู้เรื่องทุนชุมชน ประกอบด้วยกิจกรรม กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ศูนย์สาธิตการตลาด โรงสีชุมชน สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน ฯลฯ
- สถานีเรียนรู้เรื่องการดำเนินชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
- สถานีเรียนรู้เรื่องผลิตภัณฑ์ชุมชน ประกอบด้วยกิจกรรม ทอผ้าไหม ข้าวเม่า จักสานและช่างเฟอร์นิเจอร์
มีคณะกรรมการดำเนินการศูนย์เรียนรู้ชุมชน ทำหน้าที่ในการบริหารจัดการกิจกรรมและเก็บรวบรวมองค์ความรู้ต่าง ๆ ของชุมชนรวบรวมไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
เอกสารอ้างอิงหรือแหล่งข้อมูล:ข้อมูลในหมู่บ้านพลับและกลุ่มต่างๆในหมู่บ้านพลับ