ข้ามไปเนื้อหา

บูโควีนา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก บูโกวินา)
บูโควีนา

บูกอวีนา, บูกอวือนา

บูเคินลันท์, บูโกวินอ
ภูมิภาคทางประวัติศาสตร์
ทิวทัศน์นครซูชาวาในบูโควีนาตอนใต้
ทิวทัศน์นครซูชาวาในบูโควีนาตอนใต้
ตราราชการของบูโควีนา
ตราอาร์ม
ที่ตั้งของบูโควีนาในโรมาเนียและยูเครน
ที่ตั้งของบูโควีนาในโรมาเนียและยูเครน
ประเทศ
บูโควีนา1774
ผู้ก่อตั้งราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค
นครใหญ่สุด
เดมะนิม
  • Bukovinian
  • Bucovinean (ในภาษาโรมาเนีย)
เขตเวลาUTC+2 (เวลายุโรปตะวันออก)
 • ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)UTC+3 (เวลาออมแสงยุโรปตะวันออก)

บูโควีนา (อังกฤษ: Bukovina; เยอรมัน: Bukowina), บูกอวีนา (โรมาเนีย: Bucovina; โปแลนด์: Bukowina), บูกอวือนา (ยูเครน: Букови́на), บูเคินลันท์ (Buchenland) หรือ บูโกวินอ (ฮังการี: Bukovina) เป็นภูมิภาคทางประวัติศาสตร์ที่มีการบรรยายไว้ว่าอยู่ในยุโรปกลางหรือยุโรปตะวันออก หรือทั้งคู่[1][2][3] ภูมิภาคนี้กินพื้นที่ชายเขาด้านเหนือของคาร์เพเทียนตะวันออกตอนกลาง ปัจจุบัน บูโควีนาเป็นส่วนหนึ่งของประเทศโรมาเนียและประเทศยูเครน

บูโควีนามีการตั้งรกรากจากผู้คนและวัฒนธรรมที่หลากหลายมายาวนานตั้งแต่ยุคหินเก่า เริ่มจากชาววลาค ตามด้วยชาวรูทีเนียในศตวรรษที่ 11[4] บูโควีนาได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของรุสกือยิว และเปเชเนกในศตวรรษที่ 10 ที่ซึ่งวัฒนธรรมของรุสแพร่ขยายไปทั่วภูมิภาค ต่อมาในสมัยอนารยชนทองคำในศตวรรษที่ 14 บูโควีนากลายมาเป็นส่วนหนึ่งของมอลเดเวียภายใต้ปกครองฮังการี และมีประชากรโยกย้ายเข้ามาใหม่จากมารามูเรช ซึ่งรวมถึงชาวแซกซันและชาวฮังการี อาณาเขตที่ยอมรับในปัจจุบันว่าเป็นบูโควีนานั้นมีขึ้นในปี 1775 ถึง 1918 ในฐานะเขตการปกครองบูโควีนาภายใต้ราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค, จักรวรรดิออสเตรีย และออสเตรีย-ฮังการีตามลำดับ ในปี 1940 บูโควีนาตอนเหนือได้ถูกผนวกเข้ากับสหภาพโซเวียตหลังการฉีกกติกาสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบินทร็อพ[5] ต่อมาถูกโรมาเนียกู้คืนได้เป็นเวลาสั้น ๆ ในฐานะพันธมิตรของนาซีเยอรมนีหลังนาซีบุกรุกรานสหภาพโซเวียตในปี 1941 ก่อนจะถูกสหภาพโซเวียตยึดคืนในปี 1944[4] ประชากรของบูโควีนามีความหลากหลายมาตั้งแต่ในประวัติศาสตร์ ปัจจุบัน อาณาเขตครึ่งบนของบูโควีนาเป็นส่วนหนึ่งของแคว้นแชร์นิวต์ซีในประเทศยูเครน และอาณาเขตตอนล่างเป็นส่วนหนึ่งของเทศมณฑลซูชาวาในประเทศโรมาเนีย[4]

บ้างเรียกขานให้บูโควีนาเป็น "สวิตเซอร์แลนด์แห่งตะวันออก" จากกลุ่มชาติพันธุ์ที่หลากหลาย และภูมิประเทศที่เป็นภูเขาที่หนาแน่นไปด้วยป่าไม้[6][7][8]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Klaus Peter Berger, The Creeping Codification of the New Lex Mercatoria, Kluwer Law International, 2010, p. 132
  2. Steven Tötösy de Zepetnek (January 2002). Comparative Central European Culture. Purdue University Press. pp. 53–. ISBN 978-1-55753-240-4.
  3. "Bukovina | region, Europe". Encyclopedia Britannica (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-12-10.
  4. 4.0 4.1 4.2 "Bukovina". Britannica. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 June 2021. สืบค้นเมื่อ 22 June 2021.
  5. Brackman, Roman The Secret File of Joseph Stalin: A Hidden Life (2001) p. 341
  6. Sophie A. Welsch (March 1986). "The Bukovina-Germans During the Habsburg Period: Settlement, Ethnic Interaction, Contributions" (PDF). สืบค้นเมื่อ 6 October 2021.
  7. Gaëlle Fisher (2019). "Looking Forwards through the Past: Bukovina's "Return to Europe" after 1989–1991". Lean Library. 33: 196–217. doi:10.1177/0888325418780479. S2CID 149895103.
  8. David Rechter (16 October 2008). "Geography is destiny: Region, nation and empire in Habsburg Jewish Bukovina". Journal of Modern Jewish Studies. 7 (3): 325–337. doi:10.1080/14725880802405027. S2CID 142797383. สืบค้นเมื่อ 6 October 2021.