นางเหมือน
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
อำแดงเหมือน | |
---|---|
เกิด | พ.ศ. 2387 เมืองนนทบุรี อาณาจักรรัตนโกสินทร์ |
เสียชีวิต | ไม่ทราบ |
อาชีพ | แม่ค้า |
คู่สมรส | นายริด |
อำแดงเหมือน เป็นบุคคลในประวัติศาสตร์ไทยในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ว่ากันตามหลักฐานที่มีบันทึกในพระราชพงศาวดารแห่งราชอาณาจักรไทยแล้ว ถือว่าเป็นผู้หญิงคนแรกที่ได้ลุกขึ้นสู้เพื่อทวงสิทธิสตรีของตน จึงก่อเกิดเป็นภาพยนตร์เรื่อง อำแดงเหมือนกับนายริด
ประวัติ
[แก้]อำแดงเหมือนเกิดเมื่อปี พ.ศ. 2387 ในสมัยรัชกาลที่ 3 ที่ บางม่วง เมืองนนทบุรี เป็นบุตรีของนายเกตกับอำแดงนุ่ม[1]
ด้วยความที่เป็นผู้ที่ใฝ่รู้ในการศึกษา อำแดงเหมือนจึงได้มาขอร้องสมภาร วัดขนุนขอเรียนกับเด็กวัดด้วยจนได้เจอกับพระริดจนในที่สุดพระริดก็ขอสึกกลับไปอยู่บ้านเพราะหลงรักอำแดงเหมือน[1]
ส่วนนายเกตพ่อของอำแดงเหมือนนั้นเป็นผีพนันจน กลายเป็นหนี้นายภูเจ้าของโรงหล่อพระทำให้ นายเกตต้องยกอำแดงเหมือนไปเป็นอนุภรรยา (เมียน้อย) ของนายภูแต่อำแดงเหมือนก็หนีกลับมา บ้านถึง 2 ครั้งจนครั้งที่ 3 อำแดงเหมือนก็หนีจากบ้าน นายภูไปอยู่บ้านนายริดที่ประกอบอาชีพปั้นเครื่องปั้นดินเผา เรื่องถึงขั้นนี้นายริดจึงได้นำเอาดอกไม้ธูปเทียนมาษมาพ่อแม่กลับโกรธถึงขั้นไล่ยิง เธอจึงหนีไปอยู่กับนายริด ทำให้นายภูไม่พอใจ จึงไปฟ้องร้องกับพระนนทบุรีว่า นายริดเป็นชู้กับอำแดงเหมือน พระนนทบุรีจึงมีคำสั่งให้อำแดงเหมือนต้องจำคุก ซึ่งนางอำแดงเหมือนก็ขอให้มีการไต่สวนคดีใหม่ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ไม่มีการตามที่นางร้องขอแต่อย่างใด ระหว่างดำเนินคดี เธอถูกคุมขังและกลั่นแกล้งทารุณเพื่อให้ยอมเป็นภรรยานายภู[1]
ชีวิตคู่ครอง
[แก้]สามีของนางเหมือนชื่อ นายริด นายริดเกิดเมื่อใดไม่มีหลักฐานแต่สันนิษฐานว่าเกิดในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ เมืองนนทบุรี โดยครอบครัวของนายริดประกอบอาชีพปั้นเครื่องปั้นดินเผาต่อมาได้บวชเป็นพระภิกษุที่วัดขนุนจนได้พบกับอำแดงเหมือนหญิงสาวที่มีนิสัยชอบใฝ่หาความรู้มาร่วมเรียนกับเด็กจนเกิดเป็นความรักขึ้นมานายริดเกรงว่าจะทำให้พระศาสนาเสื่อมเสียจึงตัดสินใจสึกออกมาช่วยกิจการของครอบครัว[2]
ต่อมาพ่อแม่ของอำแดงเหมือนคือนายเกตและอำแดงนุ่มได้ยกลูกสาวให้กับนายภูเจ้าของโรงหล่อพระเพื่อไปเป็นอนุภรรยาโดยแลกกับค่าตอบแทนแต่อำแดงเหมือนก็หนีกลับมาได้ถึง 2 ครั้งพอครั้งที่ 3 อำแดงเหมือนได้หนีไปอยู่เรือนของนายริดและภายหลังอำแดงเหมือนได้พานายริดมาขอขมาพ่อแม่แต่ทั้งสองกลับโกรธและพยายามไล่ยิงและได้บอกให้นายภูไปฟ้องพระนนทบุรีเจ้าเมืองนนทบุรีว่านายริดได้ลักพาตัวอำแดงเหมือนทำให้อำแดงเหมือนต้องโทษจำคุก[2]
ระหว่างนั้นนายภูได้ติดสินบนพระทำมะรงหรือหัวหน้าผู้คุมให้กลั่นแกล้งและทรมานอำแดงเหมือนเพื่อให้ยอมเป็นภรรยาของนายภูขณะเดียวกันนายริดก็พยายามช่วยเหลือหญิงที่ตนเองรักแต่ไม่สำเร็จจึงทำการแหกคุกพาอำแดงเหมือนหนีเข้ากรุงเทพเพื่อร้องทุกข์โดยระหว่างทางต้องหนีการจับกุมตัวจนถึงกรุงเทพนายริดได้พาอำแดงเหมือนไปตีกลองวินิจฉัยเภรีพร้อมกับถวายฎีกาแด่รัชกาลที่ 4 ที่ พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ปราสาท เมื่อวันอาทิตย์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2408 โดยพระองค์ได้พระราชวินิจฉัยในฎีกาฉบับนี้และได้มีพระบรมราชโองการเมื่อวันจันทร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2408 ประกาศว่าอำแดงเหมือนไม่มีความผิดและสามารถแต่งงานกับนายริดได้และหลังจากนั้นก็มิได้มีการกล่าวถึงนายริดอีกเลย[2]
ถวายฎีกา
[แก้]หลังจากอำแดงเหมือนถูกคำสั่งจองจำ นายริดได้แหกคุกพาอำแดงเหมือนมายัง กรุงเทพ โดยที่อำแดงเหมือนได้ตีกลองวินิจฉัยเภรี และถวายฎีกาต่อ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ปราสาท เมื่อวันอาทิตย์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2408[1]
คำสั่งฎีกา
[แก้]หลังจากที่ทรงได้รับฎีกาของอำแดงเหมือน ด้วยพระองค์ทรงเห็นว่าอำแดงเหมือนมีอายุ 20 ปีกว่าแล้ว สมควรที่จะเลือกสามีได้ด้วยความสมัครใจของตนเอง แล้วจึงทรงส่ง จมื่นราชามาตย์ และนายรอดมอญมหาดเล็กไปชำระเรื่องให้อำแดงเหมือนตกต้องเป็นภรรยาแก่นายริดชู้เดิม แต่ให้นายริดเสียเบี้ยละเมิดให้แด่บิดาและมารดาของอำแดงเหมือนเป็นจำนวนหนึ่งชั่ง และให้นายริดให้เงินแก่นายภูต่างหากเป็นจำนวนสิบตำลึง แล้วจึงให้คดีความจบสิ้นแล้วเลิกต่อกัน แต่ในกรณีนี้เห็นว่าบิดามารดาเอาชื่อหญิงนั้นไปขายให้แก่ชายที่มาฉุดเอง สมควรให้บิดามารดาของอำแดงเหมือนใช้เงินแก่นายภูเอง ไม่ต้องให้นายริดชายชู้เดิมแลตัวหญิงต้องใช้ เพราะเห็นชัดว่าตัวอำแดงเหมือนไม่ยอมให้ขาย[3]
หลังไต่สวนความจริงกับพระนนทบุรีจนแล้ว ได้ทรงมีพระบรมราชโองการประกาศเมื่อวันจันทร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2408 ว่าให้อำแดงเหมือนชนะฎีกา และแต่งงานกับนายริดได้[1]
ผลสืบเนื่อง
[แก้]หลังจากที่อำแดงเหมือนได้มาร้องคดี พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเล็งเห็นถึงสถานะของหญิงไทย จึงมีรับสั่งให้ยกเลิกกฎหมายเก่าที่ว่า"หญิงหย่าชายหย่าได้" อันใช้กันมาก่อนหน้านี้ ให้กลับไปใช้ตามกฎหมายเก่านั้นตามเดิม[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 ย้อนคดีอำแดงเหมือน เมื่อหญิงสาวลุกขึ้นสู้ ไม่ยอมถูกคลุมถุงชนให้ชายที่ตัวไม่รัก ศิลปวัฒนธรรม ฉบับธันวาคม 2555
- ↑ 2.0 2.1 2.2 เรื่องย่อ'อำแดงเหมือนกับนายริด' คมชัดลึกออนไลน์ สืบค้นเมื่อ 28 ตุลาคม 2555
- ↑ ชุมนุมประกาศในรัชกาลที่ 4;ประกาศพระราชบัญญัติลักษณะลักพา ณ วันจันทร์ เดือนยี่ ขึ้น ๑ ค่ำ ปีฉลูสัปตศก
- ↑ จิรภาไพศาล, วิภา. "คดีอำแดงเหมือน ปัญหาของผู้หญิง ในกฎหมายสยาม". Match on online. Matichon Public Co.,Ltd. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-01. สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2555.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- (เจาะเวลาหาอดีต) หญิงสาวไทยคนแรกที่เรียกร้องสิทธิสตรีของตน ด้วยการสร้างวีรกรรมยื่นหนังสือถวาย ... - Blockdit