ตำบลหนองพอก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ตำบลหนองพอกเป็นตำบลหนึ่งในอำเภอหนองพอก ดูแลจัดการนอกเขตเทศบาลตำบลหนองพอก

สภาพทั่วไป[แก้]

องค์การบริหารส่วนตำบลหนองพอก  อำเภอหนองพอก  จังหวัดร้อยเอ็ด  เป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น ได้รับการจัดตั้งขึ้นเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลหนองพอก ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 23  กุมภาพันธ์  2540 ซึ่งอยู่ในการกำกับดูแลของนายอำเภอ ผู้ว่าราชการจังหวัดและกระทรวงมหาดไทย โดยมีนายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองพอกเป็นผู้บริหารสูงสุด  มีภารกิจ อำนาจหน้าที่ภายใต้ระเบียบ กฎหมาย ข้อบังคับและมติ ครม.ที่เกี่ยวข้อง มีวิสัยทัศน์ คือ “องค์การบริหารส่วนตำบลหนองพอกเป็นเมืองน่าอยู่ ด้วยการบริหารจัดการที่ดี มีความร่วมมือจากทุกภาคส่วนของสังคม โดยชุมชนมีความเข้มแข็ง ครอบครัวมีความอบอุ่นและสงบสุข

ที่ตั้ง[แก้]

ตำบลหนองพอกแบ่งการปกครองออกเป็น  14  หมู่บ้าน  อยู่ในเขตเทศบาล 4 หมู่บ้าน  อยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองพอก  11  หมู่บ้าน  ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลหนองพอกตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ป่าสาธารณะประโยชน์โคกหนองเดิ่น  ห่างจากอำเภอหนองพอกประมาณ  1  กิโลเมตร  ห่างจากจังหวัดร้อยเอ็ด  75  กิโลเมตร  ห่างจากกรุงเทพมหานคร  580  กิโลเมตร

ขนาดของพื้น[แก้]

เนื้อที่ในเขตรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองพอกมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ  63 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 39,376 ไร่ มีอาณาเขตติดต่อกับหน่วยการปกครองอื่นๆ ดังนี้ คือ

  1. ทิศเหนือติดกับตำบลภูเขาทอง อำเภอหนองพอก
  2. ทิศใต้ติดกับตำบลรอบเมืองและตำบลกกโพธิ์  อำเภอหนองพอก
  3. ทิศตะวันออกติดกับตำบลบึงงาม  อำเภอหนองพอก
  4. ทิศตะวันตก ติดกับตำบลกกโพธิ์  อำเภอหนองพอก

ประชากร[แก้]

ประชากรในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองพอกมีประชากรทั้งสิ้น  6,514  คน  แยกเป็นชาย  3,275  คน   หญิง  3,239 คน  มีความหนาแน่นเฉลี่ย  103.39  คน/ตารางกิโลเมตร  ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ  จำแนกประชากรเป็นรายหมู่บ้าน  ดังนี้

หมู่ที่ ชื่อหมู่บ้าน จำนวนประชากร จำนวนครัวเรือน
ชาย หญิง รวม
3 ปลาโด 257 265 522 142
4 ฉวะ 308 315 623 164
5 ฉวะ 320 303 623 134
6 โคกเลาะ 348 328 676 139
7 โคกนาคำ 240 241 481 122
8 หนองพอก (บุ่งหมากฟัก) 278 203 481 51
9 ปลาโด 396 422 818 225
10 ฉวะ 274 316 590 146
12 โคกสว่างอารมณ์ 343 334 677 177
13 สันติสุขพัฒนา(ปลาโด) 332 333 665 141
14 ศรีทุ่งเจริญ 179 179 358 82
รวมทั้งสิ้น 3,235 3,275 3,239 6,514

สภาพทางสังคม[แก้]

ข้อมูลด้านการศึกษา[แก้]

ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองพอกมีสถาบันการศึกษาระดับประถมศึกษา จำนวน  3  แห่ง  และมีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียน   3  แห่ง

  1.  โรงเรียนบ้านปลาโด  มีครู/อาจารย์  จำนวน 9 คน  นักเรียน 152 คน

  2.  โรงเรียนศรีสวัสดิ์  มีครู/อาจารย์ จำนวน  10 คน นักเรียน 92 คน

  3.  โรงเรียนบ้านโคกนาคำ มีครู/อาจารย์ จำนวน 9 คน นักเรียน 123 คน

  4. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดท่าแสงจันทร์  มีผู้ดูแลเด็ก  จำนวน ๔ คน   นักเรียน 35  คน

  5. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโคกนาคำ  มีผู้ดูแลเด็ก  จำนวน  2  คน   นักเรียน  30  คน

 6.  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านปลาโด  มีผู้ดูแลเด็ก  จำนวน  3  คน   นักเรียน  35  คน 

 ข้อมูลด้านการศาสนา[แก้]

ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองพอกมีศาสนสถานทางพุทธศาสนา  จำนวน   9  แห่ง  สถานที่ให้บริการมีความทั่วถึงและเพียงพอต่อความต้องการของประชาชนที่มาประกอบพิธีทางศาสนาในงานบุญ  งานประเพณี  และวันนักขัตฤกษ์ต่าง ๆ ของตำบล  ดังนี้

  1. วัดปิยะวาสบำรุง ตั้งอยู่ หมู่     3   บ้านปลาโด
  2. วัดตูมทองวนาราม ตั้งอยู่ หมู่     9   บ้านปลาโด
  3. วัดทุ่งเจริญ ตั้งอยู่ หมู่     7   บ้านโคกนาคำ
  4. วัดป่าศิริมงคล ตั้งอยู่ หมู่   12   บ้านโคกสว่างอารมณ์
  5. วัดท่าแสงจันทร์ ตั้งอยู่ หมู่    6    บ้านโคกเลาะ
  6. วัดศรีสวัสดิ์ ตั้งอยู่ หมู่    5    บ้านฉวะ
  7. วัดบูรพาสามัคคีธรรม ตั้งอยู่ หมู่   10   บ้านฉวะ
  8. วัดป่าดำรงค์ธรรม ตั้งอยู่ หมู่     8   บ้านหนองพอก (บุ่งหมากฟัก)
  9. วัดป่าโป่งช้าง ตั้งอยู่ หมู่    13  บ้านสันติสุขพัฒนา(ปลาโด)

เขตการปกครอง[แก้]

องค์การบริหารส่วนตำบลหนองพอก ประกอบด้วยหมู่บ้านจำนวน  11  หมู่บ้าน ดังนี้ จำนวนหมู่บ้านที่มีพื้นที่เต็มทั้งหมู่บ้าน  10  หมู่  ได้แก่ 

หมู่ที่  3  บ้านปลาโด

หมู่ที่  4  บ้านฉวะ

หมู่ที่  5  บ้านฉวะ

หมู่ที่  6  บ้านโคกเลาะ

หมู่ที่  7  บ้านโคกนาคำ

หมู่ที่  9  บ้านปลาโด

หมู่ที่  10  บ้านฉวะ

หมู่ที่  12  บ้านโคกสว่างอารมณ์

หมู่ที่  13  บ้านสันติสุขพัฒนา(ปลาโด)

หมู่ที่  14  บ้านศรีทุ่งเจริญ

จำนวนหมู่บ้านที่มีพื้นที่บางส่วนอยู่ในเขตเทศบาล  ได้แก่ 

หมู่ที่  8  บ้านหนองพอก พื้นที่ที่อยู่ในเขตเทศบาลตำบลหนองพอก

หมู่ที่  8  บ้านหนองพอก (บ้านบุ่งหมากฟัก)นอกเขตเทศบาล

ประเพณีประจำปี[แก้]

ประเพณีบุญบั้งไฟ[แก้]

จัดขึ้นที่บ้านปลาโด ณ สนามกีฬาโรงเรียนบ้านปลาโด โดยช่วงกลางวันมีมหรสพสมโภช อาทิ หมอลำ หมอลำซิ่ง ช่วงบ่ายมีขบวนแห่บั้งไฟโบราณ การฟ้อนรำ 7 ขบวน โดย ขบวนบ้านปลาโด หมู่ 3,9,13/ขบวนบ้านโคกนาคำ หมู่ 7,12,14/ขบวนบ้านฉวะ หมู่ 4,5,10/ขบวนบ้านโคกเลาะ,บุ่งหมากฟัก หมู่ 6,8 /ขบวนโรงเรียนบ้านปลาโด/ขบวนโรงเรียนบ้านโคกนาคำ/ขบวนโรงเรียนศรีสวัสดิ์ มีการแห่รอบหมู่บ้านกว่า3กิโลเมตร ฟ้อนรำตามจุดต่างๆที่กรรมการกำหนดเพื่อเก็บคะแนน ไปบรรจบที่สนามกีฬาโรงเรียนบ้านปลาโดฟ้อนตัดสินรอบสุดท้ายหาขบวนที่ชนะ โดยขบวนของหมู่บ้านแข่งกันเอง ขบวนของโรงเรียนแข่งกันเอง วันจุดบั้งไฟได้มีเวทีจุดบั้งไฟที่หนองบัว หมู่ 13 หลังโรงเรียนบ้านปลาโด มีบั้งไฟหมื่น บั้งไฟแสน บั้งไฟแปดสิบ มีมหรสพสมโภชตลอดทั้งวัน

ลอยกระทง[แก้]

จัดขึ้นที่หนองแจ้ง บ้านโคกเลาะและบ้านฉวะ โดยจะจัดขึ้นก่อนวันงานของอำเภอ1วัน ช่วงบ่ายมีการแห่กระทงและนางนพมาศไปยังหนองแจ้ง จาก11หมู่บ้าน กลางคืนมีมหรสพสมโภช เช่น หมอลำ มวย เป็นต้น เวทีกลางจัดการประกวดร้องเพลง ประกวดนางนพมาศและยังมีการประกวดกระทงสวยงามอีกด้วย

แข่งเรือ[แก้]

จัด ขึ้นที่ห้วยคูใหญ่ บ้านโคกนาคำ มีเรือจากทั่วทุกสารทิศมาลงทะเบียนเพื่อแข่งขัน เช่น เรือหาปลา เรือยาวเป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการประกวดกองเชียร์หมู่บ้านในเขตตำบลหนองพอก มีมหรสพสมโภชตลอดการแข่งขัน เช่น หมอลำ มวยเป็นต้น

บุญผะเหวด[แก้]

จัดขึ้นทุกวัดในหมู่บ้านนั้นๆ โดยจะมีพิธีแบบโบราณ จกกัณฑ์//แห่ผะเหวดเข้าเมืองในช่วงหัวคํ่า//ช่วงเช้าวันต่อมาประมาณตี3 แห่ข้าวพันก้อนรอบหมู่บ้าน//เทศน์มาลัยหมื่น มาลัยแสน//เทศน์เวสสันดร 13 กัณฑ์ //ช่วงบ่ายแห่กัณฑ์จอบ กัณฑ์หลอน จากหมู่บ้านต่างๆและผู่มีจิตรัทธา//เช้าวันต่อมาทำบุญถวายภัตตราหาร