ตำบลสลุย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตำบลสลุย
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันTambon Salui
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 หลักกิโลเมตรที่ 453–454 บริเวณที่ตั้งของศาลพ่อตาหินช้าง
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 หลักกิโลเมตรที่ 453–454 บริเวณที่ตั้งของศาลพ่อตาหินช้าง
ประเทศไทย
จังหวัดชุมพร
อำเภอท่าแซะ
พื้นที่
 • ทั้งหมด126.0 ตร.กม. (48.6 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2565)
 • ทั้งหมด8,207 คน
 • ความหนาแน่น65.13 คน/ตร.กม. (168.7 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 86140
รหัสภูมิศาสตร์860203
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
องค์การบริหารส่วนตำบลสลุย
อบต.สลุยตั้งอยู่ในจังหวัดชุมพร
อบต.สลุย
อบต.สลุย
ที่ตั้งที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลสลุย
พิกัด: 10°49′39.9″N 99°12′49.3″E / 10.827750°N 99.213694°E / 10.827750; 99.213694พิกัดภูมิศาสตร์: 10°49′39.9″N 99°12′49.3″E / 10.827750°N 99.213694°E / 10.827750; 99.213694
ประเทศ ไทย
จังหวัดชุมพร
อำเภอท่าแซะ
พื้นที่
 • ทั้งหมด126.0 ตร.กม. (48.6 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2565)
 • ทั้งหมด8,207 คน
 • ความหนาแน่น65.13 คน/ตร.กม. (168.7 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.06860208
ที่อยู่ที่ทำการเลขที่ 5/1 หมู่ที่ 6 ถนนเพชรเกษม ตำบลสลุย อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร 86140
เว็บไซต์www.saluy.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

สลุย เป็น 1 ใน 10 ตำบลของอำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร เป็นที่ตั้งของศาลพ่อตาหินช้าง หรือเรียกอีกชื่อว่าศาลพ่อศรีหริมงคล เป็นศาลที่ประดิษฐานรูปเคารพอันศักดิ์สิทธิ์ เป็นหินที่มีรูปร่างลักษณะเหมือนช้างมี 11 เศียร และเป็น 1 ใน 4 ตำบลของจังหวัดชุมพรที่มีอาณาเขตติดต่อกับสหภาพพม่า

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

ตำบลสลุย มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลสองพี่น้อง
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลดอนยาง และตำบลชุมโค (อำเภอปะทิว)
  • ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลหงษ์เจริญ และตำบลรับร่อ
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับสหภาพพม่า

ประวัติ[แก้]

"สลุย" มีประวัติเล่าขานต่อกันมาว่า ในราวปี พ.ศ. 2329 เจ้าประดุงกษัตริย์พม่าได้ยกทัพมาทางปักษ์ใต้ 1 ทัพ ซึ่งมีแกงหวุ่นแมงญี อัครมหาเสนาบดีพม่า ยกทัพมาจากเมืองมะริด มาตีเมืองชุมพร เมืองไชยา ไปล้อมเมืองนครศรีธรรมราชไว้ การทำสงครามครั้งนี้ทำให้เกิดการเล่าลือกันต่อ ๆมาว่า ชาวบ้านที่ตั้งรกรากอยู่ในสลุยจัดเตรียมเสบียงไว้ยามเกิดศึกสงครามและในช่วงฤดูแล้งและได้นำครกตำข้าวทิ้งคลองไม่ให้ข้าศึกทำเสบียงได้ คงเหลือไว้แต่สากตำข้าวมากมาย ชาวบ้านจึงเรียกว่า “สากกะลุย” คำว่า “กะลุย” (ภาษาใต้) แปลว่า มาก ต่อมาเพี้ยนเป็น “สลุย” ในปัจจุบัน[1]

ในอดีตตำบลสลุยเป็นตำบลที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่มาก ในปี พ.ศ. 2522 ทางราชการจึงแยกพื้นที่ในขณะนั้น ได้แก่ หมู่ 1 บ้านสามไกร, หมู่ 2 บ้านนายาว, หมู่ 3 บ้านสลุย, หมู่ 4 บ้านตาหงษ์, หมู่ 11 บ้านปากด่าน, หมู่ 12 บ้านบึงลัด แยกตั้งเป็น ตำบลหงษ์เจริญ[2]

และในปี พ.ศ. 2536 ได้แบ่งแยกพื้นที่ตำบลอีกครั้งเนื่องจากมีพื้นที่กว้างขวาง จึงแยกพื้นที่หมู่ 3 บ้านงาช้าง, หมู่ 4 บ้านร้านตัดผม, หมู่ 5 บ้านตาเงาะ, หมู่ 8 บ้านห้วยทรายขาว, หมู่ 10 บ้านห้วยใหญ่, หมู่ 12 บ้านสามล้าน, หมู่ 14 บ้านดวงดี แยกตั้งเป็น ตำบลสองพี่น้อง[3]

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

ตำบลสลุยแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 8 หมู่บ้าน ได้แก่

หมู่ 1 บ้านปะระ (Ban Para)
หมู่ 2 บ้านใหม่สมบูรณ์ (Ban Mai Sombun)
หมู่ 3 บ้านหินกูบ (Ban Hin Kup)
หมู่ 4 บ้านพรุตะเคียน (Ban Phru Takhian)
หมู่ 5 บ้านเหมืองทอง (Ban Mueang Thong)
หมู่ 6 บ้านเนินทอง (Ban Noen Thong)
หมู่ 7 บ้านสวนทรัพย์ (Ban Suan Sap)
หมู่ 8 บ้านสะพานหิน (Ban Saphan Hin)

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ท้องที่ตำบลสลุย มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพียงแห่งเดียว คือ องค์การบริหารส่วนตำบลสลุย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสลุยทั้งหมด ซึ่งเป็นสภาตำบลสลุยที่จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2516[4] และยกฐานะขึ้นเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลสลุยในวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2539[5] จนถึงปัจจุบัน

ประชากร[แก้]

พื้นที่ตำบลสลุยประกอบด้วยหมู่บ้านทั้งสิ้นจำนวน 8 หมู่บ้าน มีจำนวนประชากร 8,207 คน แบ่งเป็นชาย 4,102 คน หญิง 4,105 คน (เดือนธันวาคม 2565)[6] เป็นตำบลที่มีจำนวนประชากรเป็นลำดับ 5 ในอำเภอท่าแซะ

      หมายถึงจำนวนประชากรได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน
      หมายถึงจำนวนประชากรได้คงเดิมเมื่อเทียบกับปีก่อน
      หมายถึงจำนวนประชากรได้ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน

* ปี พ.ศ. 2558 มีการรวมผู้ที่ไม่ได้สัญชาติไทยในทะเบียนราษฎร ส่งผลให้ข้อมูลจำนวนประชากรปีดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก

หมู่บ้าน พ.ศ. 2565 พ.ศ. 2564[6] พ.ศ. 2563 [7] พ.ศ. 2562[8] พ.ศ. 2561[9] พ.ศ. 2560[10] พ.ศ. 2559[11]
เนินทอง 1,389 1,394 1,387 1,387 1,397 1,381 1,370
ใหม่สมบูรณ์ 1,341 1,349 1,362 1,361 1,368 1,374 1,364
ปะระ 1,283 1,276 1,263 1,255 1,248 1,227 1,219
เหมืองทอง 1,115 1,112 1,098 1,084 1,075 1,072 1,071
สวนทรัพย์ 959 967 965 980 1,007 1,007 1,010
พรุตะเคียน 782 789 780 789 800 809 814
หินกูบ 720 730 724 720 717 718 720
สะพานหิน 618 611 618 608 599 605 619
8,207 8,228 8,197 8,184 8,211 8,193 8,187

อ้างอิง[แก้]

  1. "ข้อมูลตำบลสลุย อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร". ฐานข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยว สำหรับนักท่องเที่ยวสูงอายุ ในเขตพื้นที่ท่องเที่ยวภาคใต้ตอนบน จังหวัดภูเก็ต กระบี่ พังงา ระนอง ชุมพร สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช. สืบค้นเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2566
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 96 (189 ง): 4154–4158. วันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2522
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 110 (217 ง): (ฉบับพิเศษ) 54–57. วันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2536
  4. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสภาตำบลตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๒๖ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 90 (108 ง): (ฉบับพิเศษ) 1–72. วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2516
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (ตอนพิเศษ 9 ง): 5–219. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-05-03. สืบค้นเมื่อ 2023-06-23. วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2539
  6. 6.0 6.1 กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
  7. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [2] 2564. สืบค้น 18 มีนาคม 2564.
  8. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [3] 2563. สืบค้น 10 มกราคม 2563.
  9. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/036/T_0032.PDF 2562. สืบค้น 12 กุมภาพันธ์ 2562.
  10. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/041/22.PDF 2561. สืบค้น 26 กุมภาพันธ์ 2561.
  11. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat59.htm 2560. สืบค้น 3 มีนาคม 2560.