ตลาดซื้อขายนักเตะ
ตลาดซื้อขายนักเตะ (อังกฤษ: transfer window) เป็นช่วงเวลาระหว่างปีที่สโมสรฟุตบอลสามารถโอนย้ายผู้เล่นจากทีมอื่น ๆ มาเป็นผู้เล่นของทีมตัวเองได้ การโอนย้ายดังกล่าวจะเสร็จสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อลงทะเบียนผู้เล่นเข้าสู่สโมสรใหม่ผ่านฟีฟ่า ซึ่งคำว่า "ตลาดซื้อขายนักเตะ" เป็นคำไม่เป็นทางการที่ใช้กันทั่วไปโดยสื่อสำหรับแนวคิดของ "ระยะเวลาการลงทะเบียน" ตามที่อธิบายไว้ในกฎระเบียบฟีฟ่า ว่าด้วยสถานะและการโอนย้ายผู้เล่น[1] ตามกฎสมาคมฟุตบอลแต่ละประเทศจะเป็นผู้กำหนดเวลา (เช่นวันที่) ของตลาดซื้อขาย แต่ต้องไม่เกิน 12 สัปดาห์ ระยะเวลาของการลงทะเบียนครั้งที่สองจะเกิดขึ้นในช่วงฤดูกาลแข่งขัน และต้องไม่เกินสี่สัปดาห์
ตลาดซื้อขายถูกนำมาใช้เพื่อตอบสนองต่อการเจรจากับคณะกรรมาธิการยุโรป ระบบนี้ถูกนำมาใช้ในหลาย ๆ ลีกยุโรป ก่อนที่จะถูกนำมาบังคับใช้โดยฟีฟ่าในช่วงฤดูกาล 2002–03[2] โดยฟุตบอลอังกฤษเป็นผู้ริเริ่มแผนนี้ และได้นำเสนอในช่วงต้นปี ค.ศ. 1990 ด้วยความหวังว่าจะช่วยปรับปรุงเสถียรภาพของทีมและป้องกันตัวแทนจากการค้นหาข้อตกลงตลอดทั้งปี[3] อย่างไรก็ตามกฎระเบียบที่แน่นอนและข้อยกเว้นที่เป็นไปได้นั้น กำหนดขึ้นโดยหน่วยงานที่กำกับดูแลการแข่งขันแต่ละครั้งแทนที่จะเป็นโดยสมาคมฟุตบอล[4]
ตารางเวลาปัจจุบันและข้อยกเว้น
[แก้]ในกฎระเบียบฟีฟ่าระบุว่า โดยทั่วจะต้องมีตลาดซื้อขายสองช่วง ระยะยาวช่วงนึง (สูงสุดสิบสองสัปดาห์) ในช่วงพักระหว่างฤดูกาล และ ระยะสั้นช่วงนึง (สูงสุดหนึ่งเดือน) ในช่วงกลางฤดูกาล ซึ่งระยะเวลาเฉพาะขึ้นอยู่กับรอบฤดูกาลของลีกที่กำหนดโดยหน่วยงานฟุตบอลของประเทศนั้น ๆ[5]
ลีกยุโรปที่สำคัญส่วนใหญ่มักเริ่มฤดูกาลในครึ่งหลังของปี (เช่น เดือนสิงหาคมหรือกันยายน) และแข่งขันตลอดสองปีปฏิทินไปจนถึงครึ่งปีแรกของปีถัดไป (เช่น เดือนพฤษภาคม) ส่งผลให้ตลาดซื้อขายนักเตะปิดลงในช่วงเดือนสิงหาคม และตลาดซื้อขายช่วงกลางฤดูกาลเปิดในเดือนมกราคม
ระยะเวลาจะแตกต่างกันเมื่อลีกมีการแข่งขันตลอดทั้งปีปฏิทินเดียว เช่นเดียวกับกลุ่มประเทศนอร์ดิก เนื่องจากข้อจำกัดของสภาพอากาศ รวมไปถึงเมเจอร์ลีกซอกเกอร์ที่ติดข้อจำกัดทั้งด้านสภาพอากาศและการแข่งขันจากกีฬายอดนิยมอื่น ๆ ในท้องถิ่น (โดยเฉพาะ บาสเก็ตบอล และอเมริกันฟุตบอล) หรือเป็นฤดูดั้งเดิมในซีกโลกใต้ โดยทั่วไปตลาดซื้อขายครั้งแรกจะเปิดตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม จนถึงช่วงค่ำของวันที่ 30 เมษายน ตามมาด้วยตลาดซื้อขายช่วงกลางฤดูกาลเปิดตั้งแต่ 1 ถึง 31 สิงหาคม
ตลาดช่วงก่อนฤดูกาล | ตลาดช่วงกลางฤดูกาล | ประเทศ |
---|---|---|
1 มกราคม – 31 มีนาคม | 14 กรกฎาคม – 13 สิงหาคม | บราซิล[6] |
5 มกราคม – 29 มีนาคม | 15 กรกฎาคม – 14 สิงหาคม | ญี่ปุ่น[7] |
8 มกราคม – 31 มีนาคม | 15 กรกฎาคม – 11 สิงหาคม | สวีเดน[8] |
9 มกราคม – 1 เมษายน | 1–31 สิงหาคม | นอร์เวย์[9] |
7 กุมภาพันธ์ – 1 พฤษภาคม | 10 กรกฎาคม – 8 สิงหาคม | สหรัฐและแคนาดา[10] |
1 มีนาคม – 30 เมษายน | 1–31 สิงหาคม | ฟินแลนด์[11] |
1 มิถุนายน – 18 สิงหาคม | 1 มกราคม – 19 มกราคม | แอลเบเนีย[12] |
1 มิถุนายน – 2 กันยายน | 2 มกราคม – 31 มกราคม | อิตาลี[13][14] |
1 มิถุนายน – 2 กันยายน | 1 มกราคม – 2 กุมภาพันธ์ | ฝรั่งเศส,[15] เยอรมนี,[16] สเปน[17] |
17 พฤษภาคม – 9 สิงหาคม | 1 มกราคม – 31 มกราคม | อังกฤษ[18][19][20] |
9 มิถุนายน – 1 กันยายน | 1 มกราคม – 1 กุมภาพันธ์ | สกอตแลนด์[21] |
11 มิถุนายน – 1 กันยายน | 5–31 มกราคม | ตุรกี,[22] เดนมาร์ก[23] |
11 มิถุนายน – 2 กันยายน | 3–31 มกราคม | เนเธอร์แลนด์[24] |
16 มิถุนายน – 8 กันยายน | 25 มกราคม – 22 กุมภาพันธ์ | บัลแกเรียและโรมาเนีย[25] |
17 มิถุนายน – 6 กันยายน | 28 มกราคม – 28 กุมภาพันธ์ | รัสเซีย[26] |
24 กรกฎาคม – 15 ตุลาคม | 3 มกราคม – 31 มกราคม | ออสเตรเลีย[27] |
1 ธันวาคม – 31 มกราคม | 1–30 มิถุนายน | เคนยา, ยูกันดา[28] |
1 กรกฎาคม – 2 กันยายน | 1 มกราคม – 1 กุมภาพันธ์ | เบลเยียม |
1 กรกฎาคม – 22 กันยายน | 1 มกราคม – 1 กุมภาพันธ์ | โปรตุเกส |
1 มกราคม – 28 กุมภาพันธ์ | 1 กรกฎาคม – 31 กรกฎาคม | จีน |
5 มิถุนายน – 28 สิงหาคม | 6 มกราคม – 3 กุมภาพันธ์ | อิหร่าน |
26 พฤศจิกายน – 19 กุมภาพันธ์ | 24 มิถุนายน – 19 กรกฎาคม | ไทย |
สโมสรในพรีเมียร์ลีกในประเทศอังกฤษได้โหวตให้สิ้นสุดตลาดซื้อขายในวันพฤหัสก่อนเริ่มฤดูกาลวันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ. 2018 แทนที่จะเป็นวันที่ 31 สิงหาคม เนื่องจากฟีฟ่าต้องการให้ตลาดซื้อขายเปิด 12 สัปดาห์ โดยตลาดจะเปิดประมาณวันที่ 17 พฤษภาคมหลังจากเกมสุดท้ายของฤดูกาลเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคมจบลง โดยสโมสรสามารถขายผู้เล่นได้จนถึง 31 สิงหาคม แต่ไม่สามารถซื้อทดแทนหลังเส้นตายวันที่ 9 สิงหาคมได้
แม้ว่าในอังกฤษการโอนย้ายผู้เล่นระหว่างสโมสรในลีกเดียวกันอาจเกิดขึ้นทันทีที่การแข่งขันนัดสุดท้ายของฤดูกาลได้เริ่มขึ้น แต่การโอนย้ายจะไม่เสร็จสมบูรณ์จนถึงวันที่ 1 กรกฎาคม เนื่องจากสัญญาของผู้เล่นหลายคนจะหมดอายุในวันที่ 30 มิถุนายน การโอนย้ายผู้เล่นระหว่างประเทศไปสู่ลีกอังกฤษ (รวมถึงพรีเมียร์ลีก) ไม่สามารถดำเนินการได้จนกว่าตลาดจะเปิดในวันที่ 17 พฤษภาคม ในนอกตลาดซื้อขาย สโมสรอาจยังคงซื้อผู้เล่นได้ในกรณีฉุกเฉินหากไม่มีผู้รักษาประตู ข้อยกเว้นพิเศษจากหน่วยงานที่จัดการแข่งขันเช่นพรีเมียร์ลีกมีข้อจำกัดว่า ตลาดซื้อขายนักเตะไม่สามารถใช้กับสโมสรในเนชันนัลลีกหรือลีกต่ำกว่านั้นได้
หากวันสุดท้ายของตลาดซื้อขายเป็นวันหยุดสุดสัปดาห์ เส้นตายสามารถขยายไปถึงวันจันทร์ถัดไปตามคำร้องขอของผู้ที่เกี่ยวข้องด้วยเหตุผลทางธุรกิจ[29] การเปลี่ยนแปลงครั้งแรกของกำหนดการเริ่มตั้งแต่ในฤดูร้อนของปี ค.ศ. 2008 เมื่อขยายเส้นตายออกไป 24 ชั่วโมงในวันจันทร์ที่ 1 กันยายนเวลาเที่ยงคืน[30][31] เส้นตายของประเทศอังกฤษได้ขยายไปถึงเวลา 5 โมงเย็นของวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 2009 เนื่องจากวันหยุดธนาคารของเดือนสิงหาคม เช่นเดียวกับเยอรมันฟุตบอลลีกที่ประกาศขยายเส้นตายไปเป็นวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2009[32]
สโมสรสามารถซื้อผู้เล่นไม่มีสังกัดเมื่อใดก็ได้ในช่วงฤดูกาลแข่งขัน หากสโมสรก่อนหน้านั้นได้ปล่อยตัวผู้เล่นก่อนสิ้นสุดตลาดซื้อขาย[29] สโมสรสามารถขอซื้อผู้เล่นในกรณีฉุกเฉินได้ เช่น หากผู้รักษาประตูหลายคนบาดเจ็บในเวลาเดียวกัน[29] นอกตลาดซื้อขายในอังกฤษเมื่อผ่านไปเจ็ดวันหลังตลาดซื้อขายสิ้นสุดลง สโมสรจากอิงกลิชฟุตบอลลีก (ระเบียบที่ 53.3.4)[33] และ (หากผู้เล่นไม่ได้ลงทะเบียนกับสโมสรจากลีกใด ๆ ที่ต่ำกว่าเนชันนัลลีก) เนชันนัลลีก[34] (ระเบียบที่ 6.6.4) สามารถยืมตัวผู้เล่น 1) ได้ในครึ่งแรกของฤดูกาลจนถึง 5 โมงเย็นในวันพฤหัสที่สี่ของเดือนพฤศจิกายน และ 2) ในครึ่งสองของฤดูกาลจนถึง 5 โมงเย็นในวันพฤหัสที่สี่ของเดือนมีนาคม การยืมตัวผู้เล่นสามารถขยายข้อตกลงการยืมออกไปได้ตลอดเวลานอกตลาดการซื้อขาย[35]
วันสุดท้ายของตลาดซื้อขายนักเตะเป็นที่รู้จักกันในชื่อ เส้นตายของการซื้อขายนักเตะ (อังกฤษ: transfer deadline day) และมักเป็นหนึ่งในวันที่คึกคักที่สุดของตลาดซื้อขายและสร้างความวุ่นวายในการโอนย้ายผู้เล่น เพราะจำนวนการโอนย้ายซึ่งกันและกันพึ่งพาอาศัยกันจะเสร็จสมบูรณ์คล้ายห่วงโซ่ที่อยู่อาศัย ซึ่งสร้างความสนใจจากสื่อเป็นอย่างมาก
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Regulations on the Status and Transfer of Players (2008)" (PDF). FIFA. 19 October 2003. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 13 September 2008. สืบค้นเมื่อ 23 January 2008.
- ↑ "Uefa wants transfer windows". BBC Sport. 24 January 2002. สืบค้นเมื่อ 29 October 2008.
- ↑ Ashdown, John; Smyth, Rob (1 February 2012). "Why does the Premier League have a January transfer window". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 12 April 2012.
- ↑ "Transfer clarification". Football Association. 1 April 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 October 2007. สืบค้นเมื่อ 29 October 2008.
- ↑ "Regulations on the Status and Transfer of Players" (PDF). FIFA. p. 10. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-09-13. สืบค้นเมื่อ 29 October 2008.
- ↑ "Janela de transferências termina nesta quarta-feira" (ภาษาโปรตุเกส). Confederação Brasileira de Futebol. 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-13. สืบค้นเมื่อ 3 September 2014.
- ↑ 2016シーズン追加登録期限について (ภาษาญี่ปุ่น). Japan Professional Football League. 2017. สืบค้นเมื่อ 24 March 2017.
- ↑ "Transferfönstret". fotbolltransfers.com (ภาษาสวีเดน). fotbolltransfers.com. สืบค้นเมื่อ 23 July 2013.
- ↑ "Overganger" (ภาษานอร์เวย์). Norges Fotballforbund. สืบค้นเมื่อ 22 May 2018.
- ↑ "MLS Roster Rules and Regulations". 2018.
- ↑ "Säännöt ja määräykset" (ภาษาฟินแลนด์). Suomen Palloliitto. 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 October 2008. สืบค้นเมื่อ 29 October 2008.
- ↑ "Serie A to play on Boxing Day; transfer deadline to close before season starts". ESPN. 2018. สืบค้นเมื่อ 6 March 2018.
- ↑ "AL VIA DOMANI LA SESSIONE INVERNALE DEI TRASFERIMENTI" (ภาษาอิตาลี). Lega Serie A. 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-08. สืบค้นเมื่อ 4 January 2019.
- ↑ "Serie A to play on Boxing Day; transfer deadline to close before season starts". ESPN. 2018. สืบค้นเมื่อ 18 July 2018.
- ↑ "Titre II – Les joueurs" (PDF) (ภาษาฝรั่งเศส). UNFP. 2007. p. 25. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 23 November 2008. สืบค้นเมื่อ 30 October 2008.
- ↑ "Spielordnung" (PDF) (ภาษาเยอรมัน). Deutscher Fußball-Bund. p. 27. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 9 April 2011. สืบค้นเมื่อ 29 October 2008.
- ↑ "Liga de Fútbol Profesional,". Liga de Fútbol Profesional. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 June 2011. สืบค้นเมื่อ 5 January 2010.
- ↑ Duncker, Charlotte (1 February 2018). "When does the 2018 summer transfer window open?". manchestereveningnews.co.uk. สืบค้นเมื่อ 20 March 2018.
- ↑ "Worldwide transfer window calendar". FIFA. 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 สิงหาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2017.
- ↑ "The FA Rules & Regs FAQs Transfer Windows". The Football Association. 29 January 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 September 2012. สืบค้นเมื่อ 23 May 2009.
- ↑ "Here Comes The 2013 Football Summer Transfer Window - Fieldoo Blog". fieldoo.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-02. สืบค้นเมื่อ 15 November 2015.
- ↑ "Europe's mid-season winter transfer window times in full". English Premier League. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 January 2013. สืบค้นเมื่อ 6 January 2013.
- ↑ "Danske regler om overgangsperioder, betaling af træningskompensation og fordeling af solidaritetsbetaling". Danish Football Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-22. สืบค้นเมื่อ 29 May 2010.
- ↑ "Transfertermijn betaald voetbal en FIFA TMS" (ภาษาดัตช์). 20 ธันวาคม 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 June 2013. สืบค้นเมื่อ 29 May 2012.
- ↑ "LPF a stabilit data începerii viitorului sezon de Liga 1. 112 zile de transferuri în stagiunea 2014-2015" [LPF set the start date for the next Liga I season. 112 days of transfers in the 2014-2015 season]. DigiSport. 2014. สืบค้นเมื่อ 11 April 2014.
- ↑ "Transfer window". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2015.
- ↑ GmbH, , TaskFleet. "Worldwide transfer windows calendar". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-10. สืบค้นเมื่อ 15 February 2017.
- ↑ "Kenyan transfers to be heavily scrutinised". 9 พฤษภาคม 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 กรกฎาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 27 พฤษภาคม 2012.
- ↑ 29.0 29.1 29.2 "Deadline day rules & regulations". BBC Sport. 1 September 2008. สืบค้นเมื่อ 29 October 2008.
- ↑ "Transfer deadline to be extended". BBC Sport. 18 สิงหาคม 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 October 2008. สืบค้นเมื่อ 7 October 2008. 7 October 2008
- ↑ Gatward, Matt (19 August 2008). "Wenger urges fans to support Adebayor as striker seals new deal". The Independent. London.
- ↑ "Wechselperiode I endet erst am Montag" (ภาษาเยอรมัน). Bundesliga. 29 August 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-14. สืบค้นเมื่อ 29 October 2008.
- ↑ League, The Football. "Section 6 - Players". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-31. สืบค้นเมื่อ 30 June 2016.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-10-13. สืบค้นเมื่อ 2019-05-16.
- ↑ "Section 6 - Players". The Football League. 11 August 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-31. สืบค้นเมื่อ 3 February 2015.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- fifatms.com เก็บถาวร 2019-05-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน