ข้ามไปเนื้อหา

ดิอันเซ็นเซอด์ไลบรารี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ดิอันเซ็นเซอด์ไลบรารี (The Uncensored Library)
นักพัฒนาBerlin DDB, BlockWorks, MediaMonks, รีพอเตอส์วิเธาท์บอร์เดอส์[a]
วันที่เปิดตัว12 มีนาคม 2020; 4 ปีก่อน (2020-03-12)
ประเภทแผนที่และเซิร์ฟเวอร์ไมน์คราฟต์
เว็บไซต์www.uncensoredlibrary.com

ดิอันเซ็นเซอด์ไลบรารี (The Uncensored Library) เป็นเซิร์ฟเวอร์และแผนที่ในเกมไมน์คราฟต์ ปล่อยโดยรีพอเทอส์วิเธาท์บอร์เดอส์ (Reporters without Borders) และผลิตโดยบล็อกเวิคส์ (BlockWorks), ดีดีบีเบอร์ลิน (DDB Berlin),[1] และ มีเดียมองส์ (MediaMonks)[2] จัดทำขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงการเซ็นเซอร์ข้อมูลข่าวสาร ในประเทศที่ไม่มีเสรีภาพสื่อ ภายในหอสมุดนี้ประกอบด้วยการรายงานข่าวที่ถูกปิดกั้นและห้ามเผยแพร่ในประเทศเม็กซิโก ประเทศรัสเซีย ประเทศเวียดนาม ประเทศซาอุดิอาระเบีย และ ประเทศอียิปต์ หอสมุดนี้เปิดตัวเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2020 ซึ่งตรงกับวันต่อต้านการเซ็นเซอร์ทางไซเบอร์ ในปัจจุบัน หอสมุดสามารถเข้าถึงได้ผ่านทางการดาวน์โหลดแผนที่จากเว็บทางการ หรือเชื่อมต่อเข้ากับเซิร์ฟเวอร์ของหอสมุด[3][2][4]

การออกแบบ

[แก้]

หอสมุดนั้นเป็นโครงการขนาดใหญ่ สร้างขึ้นด้วยสถาปัตยกรรมนีโอคลาสสิก เช่น หอสมุดสาธารณะนิวยอร์ก[4] ในการก่อสร้างหอสมุดใช้บล็อกในเกมไปมากกว่า 12.5 ล้านบล็อก[5]

รูปแบบ

[แก้]

ประเทศห้าประเทศและโครงการ Reporters without Borders มีปีกในอาคารเป็นของตนเอง ภายในประกอบด้วยบทความต่าง ๆ จัดแสดงในรูปของหนังสือ[1]เป็นภาษาอังกฤษและภาษาแรกที่บทความนั้นเขียน[2] บทความเหล่านี้โดยทั่วไปพูดถึงการเซ็นเซอร์ การลงโทษที่ไม่เป็นธรรม และบทวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลอื่น ๆ สถาปัตยกรรมภายในของแต่ละปีกของแต่ละประเทศแสดงถึงสถานการณ์และอุปสรรคของการทำข่าวในประเทศนั้น ๆ[2] นอกจากนี้ภายในโถงกลางเป็นการจัดแสดงเกี่ยวกับดัชนีเสรีภาพสื่อและสถานการณ์ในแต่ละประเทศที่ดัชนีครอบคลุม ภายในหอสมุดมีหนังสือรวมทั้งสิ้น 200 เล่มที่ต่างกัน[4]

คำตอบรับ

[แก้]

หลังเปิดบริการแล้ว โครงการนี้กลายเป็นกระแสทั่วสื่อสังคม และเป็นจุดเด่นในสื่อต่าง ๆ ทั่วไป เช่น บีบีซี,[6] ดีดับเบิลยูนิวส์,[7] ซีเอ็นบีซี,[8] ซีเอ็นเอ็น,[9] เทคครันข์,[10] เดอะเวิร์จ,[11] กิซโมโด,[12] เอ็นแกตเจ็ต,[13] แมชเอเบิล,[14] พีซีเกมเมอร์[15] และซีนเวิลด์แมกกาซีน[16]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Nelius, Joanna (March 12, 2020). "This Minecraft Library Provides a Platform for Censored Journalists". Games. Gizmodo (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 14, 2020. สืบค้นเมื่อ March 15, 2020.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 Woodyatt, Amy (March 19, 2020). "Minecraft hosts uncensored library full of banned texts". Tech. CNN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 13, 2020. สืบค้นเมื่อ March 15, 2020.
  3. Coldewey, Davonf (March 12, 2020). "Reporters Without Borders uses Minecraft to sneak censored works across borders". TechCrunch (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ March 15, 2020.[ลิงก์เสีย]
  4. 4.0 4.1 4.2 Maher, Cian (March 18, 2020). "This Minecraft library is making journalism accessible all over the world". Gaming. The Verge. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 19, 2020. สืบค้นเมื่อ March 19, 2020.
  5. "The Uncensored Library — The Making of". The Uncensored Library. Reporter ohne Grenzen. สืบค้นเมื่อ 21 May 2020.
  6. "Minecraft 'loophole' library of banned journalism". BBC. March 13, 2020. สืบค้นเมื่อ May 8, 2020.
  7. "Reporter Without Borders builds uncensored Minecraft library". DW News. March 12, 2020. สืบค้นเมื่อ May 8, 2020.
  8. "Reporters Without Borders is using Minecraft to sneak censored news to readers in restrictive countries". CNBC. March 15, 2020. สืบค้นเมื่อ May 8, 2020.
  9. "Minecraft hosts uncensored library full of banned journalism". CNN. March 13, 2020. สืบค้นเมื่อ May 8, 2020.
  10. "Reporters Without Borders uses Minecraft to sneak censored works across borders". Tech Crunch. March 12, 2020. สืบค้นเมื่อ May 8, 2020.
  11. "This Minecraft library is making censored journalism accessible all over the world". The Verge. March 18, 2020. สืบค้นเมื่อ May 8, 2020.
  12. "This Minecraft Library Provides a Platform for Censored Journalists". Gizmodo. March 12, 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-07. สืบค้นเมื่อ May 8, 2020.
  13. "'Minecraft' library helps you dodge news media censorship". Engadget. March 15, 2020. สืบค้นเมื่อ May 8, 2020.
  14. "This 'Minecraft' library safeguards all censored news of the world". Mashable. March 18, 2020. สืบค้นเมื่อ May 8, 2020.
  15. "New Minecraft library is clever loophole and safe haven for censored journalism". PC Gamer. March 13, 2020. สืบค้นเมื่อ May 8, 2020.
  16. "Podcast Episode #89 - The Uncensored Library". Scene World. May 25, 2020. สืบค้นเมื่อ March 6, 2021.


อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref> สำหรับกลุ่มชื่อ "lower-alpha" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="lower-alpha"/> ที่สอดคล้องกัน