ดางาชิ
ดางาชิ (ญี่ปุ่น: 駄菓子; โรมาจิ: dagashi) ในญี่ปุ่นเป็นคำที่ใช้เรียกขนมราคาถูกที่ผลิตและจำหน่ายสำหรับเด็กเป็นหลัก ตรงกันข้ามกับ ขนมระดับสูงที่ใช้ในพิธีชงชาและของขวัญ
ประวัติศาสตร์
[แก้]ในโอซากะ ในช่วงปีเก็นโรกุ (ปี 1688–1704) ขนมที่ทำโดยใช้น้ำตาลทรายแดงราคาถูกที่ผลิตในประเทศเรียกว่า ซัตสึงาชิ (雑菓子) ตรงกันข้ามกับลูกกวาดคุณภาพสูงที่ใช้น้ำตาลนำเข้าราคาแพงในตอนนั้น นี่ถือเป็นต้นกำเนิดของดางาชิ หลังจากนั้นชื่อ ดางาชิ ก็ได้ปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรกในเกียวโตและโอซากะในศตวรรษที่ 19[1] นอกจากนี้ยังทำโดยใช้ลูกเดือยหรือมิซูอาเมะเป็นวัตถุดิบให้ชาวบ้านทั่วไปรับประทานเป็นอาหารว่าง และมีราคาถูกจึงเรียกว่า อิจิมงงาชิ (一文菓子)[2]
ในบางภูมิภาคมีการทำดางาชิวางขายเป็นมิยาเงงาชิแบบพื้นเมืองดั้งเดิม
ดางาชิส่วนใหญ่ที่ขายอยู่ในปัจจุบันนี้ได้รับการพัฒนาขึ้นมาหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ตามกระแสจากยุคเมจิ และมีหลายประเภท นอกจากนี้ ส่วนใหญ่มีราคาต่ำมากแค่ประมาณ 5 ถึง 30 เยน ดังนั้นแม้แต่เด็กที่มักมีเงินติดตัวเพียงเล็กน้อยก็สามารถซื้อได้ บางแพ็กเกจอาจใช้นักกีฬาหรือตัวการ์ตูนอนิเมะ ที่เด็ก ๆ ชื่นชอบ และบางรายการได้รับการออกแบบเพื่อให้สามารถจับสลากและรับของแถมได้ถ้าถูกรางวัล
ในยุคโชวะ ร้านขนมดางาชิราคาถูกสามารถพบเห็นได้ทั่วไปตามหัวมุมถนนทั่วประเทศทั้งในร้านสะดวกซื้อ ซูเปอร์มาร์เก็ต หรือศูนย์การค้า
ดางาชิพื้นเมืองดั้งเดิมที่ยังขายอยู่ในปัจจุบัน
[แก้]- เซ็นไดดางาชิ
- โคกูเซ็ง, คังกัมโบ - วางาชิของภูมิภาคฮิดะ
- คารินโต - มีที่มาจากขนมของแคว้นฮาริมะ
- คูโรโบ - ขนมแท่งรสน้ำตาลทรายแดง
- คารูเมยากิ - นัมบังงาชิชนิดหนึ่ง
- คมเปโต