ข้ามไปเนื้อหา

นัมบังงาชิ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คมเปโต ขนมญี่ปุ่นชนิดหนึ่งที่ถูกเรียกว่าเป็นนัมบังงาชิ
คัสเตลลา
คารุเมยากิ

นัมบังงาชิ (ญี่ปุ่น: 南蛮菓子โรมาจิnanbangashi) เป็นคำในภาษาญี่ปุ่นที่ใช้เรียกขนมที่มีที่มาจากชาวตะวันตก (ส่วนใหญ่คือชาวโปรตุเกสหรือฮอลันดา) ในช่วงยุคอาซูจิ–โมโมยามะ และปัจจุบันถูกจัดอยู่ในประเภทหนึ่งของวางาชิ

โบโล

ชื่อ

[แก้]

คำว่า นัมบัง นั้นเป็นศัพท์มาจากภาษาจีน เขียนเป็นอักษรจีนว่า 南蛮 อ่านตามภาษาจีนกลางว่า หนานหมาน เดิมทีในความคิดของชาวจีนนั้น 南蛮 เป็นคำที่บ่งบอกถึงกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ทางตอนใต้จากบริเวณที่ราบลุ่มตอนกลางของจีน เป็นคำที่ใช้เรียกเชิงเหยียดหยาม แต่ที่ญี่ปุ่นใช้คำนี้เรียกชายตะวันตก ในปัจจุบันแทบไม่มีความหมายในเชิงเหยียดหยามแล้ว และคำว่า 南蛮 ก็ถูกนำมาใช้เรียกของบางอย่างที่มีที่มาจากโลกตะวันตก จึงเป็นที่มาของคำว่านัมบังงาชิ

"นัมบังงาชิ" กับ "โยงาชิ"

[แก้]

ในภาษาญี่ปุ่นยังมีอีกคำที่ใช้เรียกขนมที่มาจากชาวตะวันตก คือ โยงาชิ (洋菓子) แต่ข้อแตกต่างคือโยงาชิใช้เรียกขนมฝรั่งในฐานะที่เป็นคำตรงข้ามกับวางาชิซึ่งหมายถึงขนมญี่ปุ่น ส่วนนัมบังงาชิจะหมายถึงขนมที่มีที่มาจากชาวตะวันตกตั้งแต่ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 และปัจจุบันได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของวางาชิไปแล้ว[1]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 山本候充編 『百菓辞典』 180頁。