ฎิยาอุรเราะห์มาน อัลอะอ์เซาะมี
มุฮัมมัด ฎิยาอุรเราะห์มาน อัลอะอ์เซาะมี | |
---|---|
محمد ضياء الرحمان الأعظمي | |
ส่วนบุคคล | |
เกิด | ค.ศ. 1943 (76-77 ปี) บิลมาเรียกันจ์, สันยุกปรานต์, บริติราช |
มรณภาพ | 30 มิถุนายน ค.ศ. 2020 มะดีนะฮ์, ซาอุดีอาระเบีย |
ศาสนา | อิสลาม |
สัญชาติ | ซาอุดีอาระเบีย |
นิกาย | ซุนนี |
สำนักคิด | อิจญ์ติฮาด |
ลัทธิ | อะษะรี |
ขบวนการ | ซะละฟี |
ตำแหน่งชั้นสูง | |
มีอิทธิพลต่อ |
อะบูอะห์มัด มุฮัมมัด อับดุลลอฮ์ อัลอะอ์เซาะมี หรือ ฎิยาอุรเราะห์มาน อัลอะอ์เซาะมี เป็นนักวิชาการอิสลามชาวซาอุดีอาระเบียโดยกำเนิดในอินเดีย ซึ่งดำรงตำแหน่งคณบดีของคณะหะดีษ ณ. มหาวิทยาลัยอิสลามมะดีนะฮ์ ท่านเป็นที่รู้จักจากการรวบรวมหะดีษ ชื่อ อัลญามิอุลกามิล ฟิลหะดีษ อัศเศาะฮีฮ์ อัชชามิล ซึ่งมีสายรายงานของท่านนะบีที่เศาะฮีฮ์ทั้งหมด ตามคำกล่าวอ้างของท่าน
ชีวประวัติ
[แก้]ฎิยาอุรเราะห์มาน อัลอะอ์เซาะมี เกิดในครอบครัวชาวฮินดู[1] ในค.ศ. 1943 ในอะซัมการ์[2][3] ในค.ศ. 1959 ในตอนแรกท่านพบคำแปลอัลกุรอานที่เป็นภาษาสันสกฤต และสนใจศาสนาอิสลามจากการอ่านคัมภีร์อัลกุรอานเพียงไม่กี่วันหลังจากนั้น ท่านได้รับหนังสือของอะบุลอะอ์ลา อัลเมาดูดี ชื่อ "สัตยาธรรมะ" (ศาสนาที่แท้จริง) เป็นของขวัญของฮะกีม มุฮัมมัด อัยยูบ อันนัดวี ผู้เป็นญะมาอะฮ์ อิสลามียะฮ์ ฮินด์ และจากการอ่านหนังสือเล่มนี้ ทำให้ท่านสนใจอิสลามมาดีขึ้น และเริ่มเข้าร่วมการสัมมนาเกี่ยวกับอิสลาม โดย ญะมาอะฮ์ อิสลามียะฮ์ ฮินด์[4][5][6] เมื่ออายุ 15 ปี ท่านได้เข้ารับอิสลาม ในค.ศ. 1960[3][7] หลังจากการเปลี่ยนมานับถืออิสลาม ท่านได้รับการต่อต้านอย่างรุนแรงจากครอบครัว และคนชุมชน[4] ท่านได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในโรงเรียนท้องถิ่น จากนั้นจึงสมัครเข้าโรงเรียนที่วิทยาลัยแห่งชาติชิบลี ณ. อะซัมการ์[8] ท่านเริ่มศึกษาที่ดัรส์นิซอมีแบบดั่งเดิม ณ. ญามิอะฮ์ ดารุสซะลาม ณ. อูเมราบัด และได้รับปริญญาตรี และปริญญาโทสาขาอิสลามศึกษา จากมหาวิทยาอิสลามมะดีนะฮ์ และมหาวิทยาลัยอุมมุลกุรอ ตามลำดับ[2] ท่านเขียนวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยอัลอัซฮัร[2][6]
อัลอะอ์เซาะมีได้รับแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยอิสลามแห่งมะดีนะฮ์ และต่อมาได้รับสัญชาติซาอุดีอาระเบีย[9] ท่านเสียชีวิตในวันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ. 2020[2]
หนังสือ
[แก้]อัลอะอ์เซาะมี ประพันธ์ตำราอัลญามิอุลกามิล ฟิลอะฮาดีษ อัศเศาะฮีฮ์ อัชชามิล หรือ ที่รู้จักกันในชื่อ อัลญามิอุลกามิล ซึ่งเป็นชุดรวบรวมรายงานหะดีษที่เศาะฮีฮ์ทั้งหมดตามคำกล่าวอ้างของท่าน[10][11] ตามที่นักวิชาการอิสลาม มุฮัมมัด อิสฮาก อัลบะฮ์ตี ระบุว่า "นี่เป็นผลงานที่ไม่เคยมีใครเคยทำมาก่อน"[12] ผลงานของท่านได้แก่:[13]
- ภาษาอาหรับ
- ญามิอุลกามิล
- อะบูฮุร็อยเราะฮ์ ฟีอะวีมัรวียะฮ์: ดิรอซะฮ์ มุกอเราะนะฮ์ ฟี มิอะติลฮะดีษ มินมัรวียะฮ์
- ดิรอซาต ฟิลญัรฮ์ วัตตะอ์ดีล
- อัลมินนะฮ์ อัลกุบรอ: ชัรฮ์ วะตัครีจญ์ อัสซุนัน อัศศุฆรอ ลิลฮาฟิซอัลบัยฮะกี
- มุอ์ญัม มุห์ดัษ อัลฮะดีษ วัลละฏีฟ อัลอะซานีด
- ดิรอซาต ฟิลยะฮูดียะฮ์ วัลมะซีฮียะฮ์ วะอัดยานุลฮินด์ (การศึกษาเปรียบเทียบศาสนายูดาย, ศาสนาคริสต์ และศาสนาต่างๆ ของอินเดีย)
- อัลยะฮูดียะฮ์ วัลมะซีฮียะฮ์
- ฟุศูล ฟีอัดยานิลฮินด์ วัลบูซียะฮ์ วัลญัยนียะฮ์ วัสซิคคียะฮ์ วะอะลาเกาะตุตตะเศาวุฟบิฮา (บทเกี่ยวกับศาสนาของอินเดีย: ศาสนาฮินดู, พุทธศาสนา, ศาสนาเชน, ชิกข์, และความสัมพันธ์ของศูฟีกับพวกเขา)
- ตะฮียะตุลมัสญิด[14]
- ฮินดี
- कुरान की शीतल छाया (ร่มเงาของอัลกุรอาน)
- कुरान विश्वकोश (สารานุกรมอัลกุรอาน)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "الأوقاف تنعى الشيخ المحدث محمد ضياء الأعظمي". alray.ps. الراي. สืบค้นเมื่อ 30 December 2021.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 Nadwi 2020.
- ↑ 3.0 3.1 "ہندو مذہب چھوڑ کر ممتاز محدث بننے والے عالم دین ضیا الرحمان اعظمی انتقال کرگئے" [Famous Islamic scholar Zia ur Rahman Azmi who left Hinduism and became exemplary hadith scholar passed away]. Express News (ภาษาอูรดู). 31 July 2020.
- ↑ 4.0 4.1 Ahmad, Junaid (3 August 2020). "What A Sacrifice! An Inspiring Life Story of Dr. Zia-ur-Rehman Azmi". The Companion. thecompanion.in. สืบค้นเมื่อ 14 September 2023.
- ↑ "Perjalanan Mualaf India Hingga Menjadi Profesor Hadis di Madinah | Republika ID". republika.id. Republika.id. 16 April 2023. สืบค้นเมื่อ 14 September 2023.
- ↑ 6.0 6.1 "Journey from Hinduism to Islam to professor of Hadith in Madinah". Saudigazette. 3 March 2017.
- ↑ Khokhar 2020.
- ↑ Bhatti 2012, p. 74.
- ↑ "Indian-origin scholar Zia ur Rahman Azmi passes away in Madinah". Siasat. 31 July 2020.
- ↑ Azmi, Zakir (3 March 2017). "Journey from Hinduism to Islam to professor of Hadith in Madinah". Saudi Gazette. สืบค้นเมื่อ 27 December 2021.
- ↑ Tariq 2020.
- ↑ Bhatti 2012.
- ↑ "Muḥammad Ḍiyāʼ al-Raḥmān Aʻẓamī". WorldCat. สืบค้นเมื่อ 27 December 2021.
- ↑ البطاوى, رضا. "نظرات فى كتاب تحية المسجد". alwatanvoice.com. دنيا الوطن. สืบค้นเมื่อ 30 December 2021.