ฎิยาอุรเราะห์มาน อัลอะอ์เซาะมี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มุฮัมมัด ฎิยาอุรเราะห์มาน อัลอะอ์เซาะมี
محمد ضياء الرحمان الأعظمي
ส่วนบุคคล
เกิดค.ศ. 1943 (76-77 ปี)
มรณภาพ30 มิถุนายน ค.ศ. 2020
มะดีนะฮ์, ซาอุดีอาระเบีย
ศาสนาอิสลาม
สัญชาติซาอุดีอาระเบีย
นิกายซุนนี
สำนักคิดอิจญ์ติฮาด
ลัทธิอะษะรี
ขบวนการซะละฟี
ตำแหน่งชั้นสูง
ได้รับอิทธิจาก
มีอิทธิพลต่อ

อะบูอะห์มัด มุฮัมมัด อับดุลลอฮ์ อัลอะอ์เซาะมี หรือ ฎิยาอุรเราะห์มาน อัลอะอ์เซาะมี เป็นนักวิชาการอิสลามชาวซาอุดีอาระเบียโดยกำเนิดในอินเดีย ซึ่งดำรงตำแหน่งคณบดีของคณะหะดีษ ณ. มหาวิทยาลัยอิสลามมะดีนะฮ์ ท่านเป็นที่รู้จักจากการรวบรวมหะดีษ ชื่อ อัลญามิอุลกามิล ฟิลหะดีษ อัศเศาะฮีฮ์ อัชชามิล ซึ่งมีสายรายงานของท่านนะบีที่เศาะฮีฮ์ทั้งหมด ตามคำกล่าวอ้างของท่าน

ชีวประวัติ[แก้]

ฎิยาอุรเราะห์มาน อัลอะอ์เซาะมี เกิดในครอบครัวชาวฮินดู[1] ในค.ศ. 1943 ในอะซัมการ์[2][3] ในค.ศ. 1959 ในตอนแรกท่านพบคำแปลอัลกุรอานที่เป็นภาษาสันสกฤต และสนใจศาสนาอิสลามจากการอ่านคัมภีร์อัลกุรอานเพียงไม่กี่วันหลังจากนั้น ท่านได้รับหนังสือของอะบุลอะอ์ลา อัลเมาดูดี ชื่อ "สัตยาธรรมะ" (ศาสนาที่แท้จริง) เป็นของขวัญของฮะกีม มุฮัมมัด อัยยูบ อันนัดวี ผู้เป็นญะมาอะฮ์ อิสลามียะฮ์ ฮินด์ และจากการอ่านหนังสือเล่มนี้ ทำให้ท่านสนใจอิสลามมาดีขึ้น และเริ่มเข้าร่วมการสัมมนาเกี่ยวกับอิสลาม โดย ญะมาอะฮ์ อิสลามียะฮ์ ฮินด์[4][5][6] เมื่ออายุ 15 ปี ท่านได้เข้ารับอิสลาม ในค.ศ. 1960[3][7] หลังจากการเปลี่ยนมานับถืออิสลาม ท่านได้รับการต่อต้านอย่างรุนแรงจากครอบครัว และคนชุมชน[4] ท่านได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในโรงเรียนท้องถิ่น จากนั้นจึงสมัครเข้าโรงเรียนที่วิทยาลัยแห่งชาติชิบลี ณ. อะซัมการ์[8] ท่านเริ่มศึกษาที่ดัรส์นิซอมีแบบดั่งเดิม ณ. ญามิอะฮ์ ดารุสซะลาม ณ. อูเมราบัด และได้รับปริญญาตรี และปริญญาโทสาขาอิสลามศึกษา จากมหาวิทยาอิสลามมะดีนะฮ์ และมหาวิทยาลัยอุมมุลกุรอ ตามลำดับ[2] ท่านเขียนวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยอัลอัซฮัร[2][6]

อัลอะอ์เซาะมีได้รับแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยอิสลามแห่งมะดีนะฮ์ และต่อมาได้รับสัญชาติซาอุดีอาระเบีย[9] ท่านเสียชีวิตในวันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ. 2020[2]

หนังสือ[แก้]

อัลอะอ์เซาะมี ประพันธ์ตำราอัลญามิอุลกามิล ฟิลอะฮาดีษ อัศเศาะฮีฮ์ อัชชามิล หรือ ที่รู้จักกันในชื่อ อัลญามิอุลกามิล ซึ่งเป็นชุดรวบรวมรายงานหะดีษที่เศาะฮีฮ์ทั้งหมดตามคำกล่าวอ้างของท่าน[10][11] ตามที่นักวิชาการอิสลาม มุฮัมมัด อิสฮาก อัลบะฮ์ตี ระบุว่า "นี่เป็นผลงานที่ไม่เคยมีใครเคยทำมาก่อน"[12] ผลงานของท่านได้แก่:[13]

ภาษาอาหรับ
ฮินดี
  • कुरान की शीतल छाया (ร่มเงาของอัลกุรอาน)
  • कुरान विश्वकोश (สารานุกรมอัลกุรอาน)

อ้างอิง[แก้]

  1. "الأوقاف تنعى الشيخ المحدث محمد ضياء الأعظمي". alray.ps. الراي. สืบค้นเมื่อ 30 December 2021.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 Nadwi 2020.
  3. 3.0 3.1 "ہندو مذہب چھوڑ کر ممتاز محدث بننے والے عالم دین ضیا الرحمان اعظمی انتقال کرگئے" [Famous Islamic scholar Zia ur Rahman Azmi who left Hinduism and became exemplary hadith scholar passed away]. Express News (ภาษาอูรดู). 31 July 2020.
  4. 4.0 4.1 Ahmad, Junaid (3 August 2020). "What A Sacrifice! An Inspiring Life Story of Dr. Zia-ur-Rehman Azmi". The Companion. thecompanion.in. สืบค้นเมื่อ 14 September 2023.
  5. "Perjalanan Mualaf India Hingga Menjadi Profesor Hadis di Madinah | Republika ID". republika.id. Republika.id. 16 April 2023. สืบค้นเมื่อ 14 September 2023.
  6. 6.0 6.1 "Journey from Hinduism to Islam to professor of Hadith in Madinah". Saudigazette. 3 March 2017.
  7. Khokhar 2020.
  8. Bhatti 2012, p. 74.
  9. "Indian-origin scholar Zia ur Rahman Azmi passes away in Madinah". Siasat. 31 July 2020.
  10. Azmi, Zakir (3 March 2017). "Journey from Hinduism to Islam to professor of Hadith in Madinah". Saudi Gazette. สืบค้นเมื่อ 27 December 2021.
  11. Tariq 2020.
  12. Bhatti 2012.
  13. "Muḥammad Ḍiyāʼ al-Raḥmān Aʻẓamī". WorldCat. สืบค้นเมื่อ 27 December 2021.
  14. البطاوى, رضا. "نظرات فى كتاب تحية المسجد". alwatanvoice.com. دنيا الوطن. สืบค้นเมื่อ 30 December 2021.