ซีเกิร์ด งูในดวงตา
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
ซีเกิร์ด งูในดวงตา | |
---|---|
ภาพสลักใน ค.ศ. 1670 | |
กษัตริย์ในตำนานของเดนมาร์ก | |
ครองราชย์ | ป. ค.ศ. 873? |
ก่อนหน้า | Halfdan Ragnarsson |
ถัดไป | Helge หรือ Olaf the Brash |
ประสูติ | ศตวรรษที่ 9 |
ราชวงศ์ | Sigfredian |
พระราชบิดา | รักนาร์ ล็อดบร็อค |
พระราชมารดา | Áslaug |
ศาสนา | นอร์ส |
ซีเกิร์ดงูในดวงตา (อังกฤษ: Sigurd Snake-in-the-eye; นอร์สเก่า: Sigurðr ormr í auga) เป็นนักรบไวกิงในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 9 สันนิษฐานกันว่าเป็นหนึ่งในบุตรชายของตำนานไวกิง รักนาร์ ล็อดบร็อค
ชีวิตช่วงแรก
[แก้]"งูในดวงตา" ที่เป็นส่วนหนึ่งของชื่อของซิเกิร์ดได้มาจากการที่เขาเกิดมามีตำหนิในดวงตา ที่ถูกบรรยายไว้ว่าเป็นภาพของโอโรโบโรส (งูที่กำลังกัดหางของตัวเอง) ตำหนิรูปงูนั้นมาจากการทำนายของแม่ของเขา อาสเลาก์ บุตรสาวของแวลคีรี บรุนฮิลด์รา[1]
ในวัยเด็ก ซิเกิร์ดสนิทกับบิกาและติดตามรักนาร์ไปในการเดินทางสุดอันตรายผ่านรุสไปเฮลเลสปอนต์[2] ต่อมาว่ากันว่าเขาได้พักอาศัยอยู่ชั่วคราวเป็นเวลาหนึ่งในสกอตแลนด์กับเกาะของสกอตแลนด์
การตายของรักนาร์และกองทัพคนเถื่อนครั้งใหญ่
[แก้]ตามแหล่งข้อมูลส่วนใหญ่ พระเจ้าเอลลาแห่งนอร์ธัมเบรียฆ่ารักนาร์ ลอดบรอก ในราวปี ค.ศ. 865 โดยโยนเขาลงไปในบ่องู ซิเกิร์ดกับพี่น้องได้รับแจ้งข่าวของบิดาจากทูตที่เอลลาส่งมา เมื่อทราบข่าว ซิเกิร์ดกรีดเนื้อตัวเองจนถึงกระดูกด้วยมีดที่ถืออยู่ในมือ พี่น้องชายของเขา บยอร์นผู้ทนทานกำหอกแน่นจนไม้เป็นรอยนิ้ว ซิเกิร์ดกับพี่น้องชายของเขาสาบานว่าจะแก้แค้นให้กับการตายของรักนาร์
ในปี ค.ศ. 866 เหล่าพี่น้องชายข้ามทะเลเหนือไปพร้อมกับ สตัวร์ แฮร์ (store hær) หรือกองทัพใหญ่ บันทึกโบราณอ้างว่าการโจมตีเอลลาครั้งแรกล้มเหลว พี่น้องชายของซิเกิร์ด อิวาร์ผู้ไร้กระดูก คิดค้นยุทธวิธีใหม่ขึ้นมาให้กองทัพคนเถื่อนครั้งใหญ่บุกยึดยอร์ก เพื่อยั่วยุเอลลาให้มาสู้รบตามแบบชาวไวกิง ภายใต้แผนการของอิวาร์ ชาวไวกิงแสร้งทำเป็นถอย ทำให้เอลลาประเมินสถานการณ์ต่ำไปจนถูกล้อม ตาม ตำนานเรื่องเล่าของบุตรชายแห่งรักนาร์ (ส่วนหนึ่งของตำนานวีรชนของรักนาร์ ลอดบรอก) เอลลาถูกจับเป็นและถูกประหารหลังจากนั้นด้วยวิธีอินทรีเลือด
ลูกหลานของซีเกิร์ด
[แก้]ตำนานเรื่องเล่าของบุตรชายแห่งรักนาร์ กล่าวว่าเมื่อบิดาตาย ซิเกิร์ดสืบทอดต่อซีแลนด์, สแกเนีย, ฮัลแลนด์, เกาะของเดนมาร์ก และวิเกน ต่อมาเขาสืบทอดต่อจากพี่น้องชายของตน ฮาล์ฟดัน รักนาร์สสัน เป็นกษัตริย์แห่งเดนมาร์กในราวปี ค.ศ. 877 ซีเกิร์ดแต่งงานกับบลายยา บุตรสาวของพระเจ้าเอลลาแห่งนอร์ธัมเบรียและทั้งคู่มีลูกด้วยกันสี่คน คือ แอลอฟ ซีเกิร์ดทาดัทเทียร์, โทรา ซีเกิร์ดทาดัทเทียร์, แอสเลาก์ ซีเกิร์ดทาดัทเทียร์ และเฮลกี ซีเกิร์ดทาสสัน
เฮลกีอาจสืบทอดต่อจากบิดาเป็นกษัตริย์แห่งเดนมาร์กในช่วงสั้นๆ ก่อนถูกล้มล้างอำนาจโดยโอลาฟจอมไร้ยางอายในราวปี ค.ศ. 900[3] โอลาฟถูกสืบทอดต่อโดยบุตรชาย เกิร์ดกับกนุปา และหลานชาย ซิกทริกก์ กนุปาสสัน
ตำนานเรื่องเล่าของบุตรชายแห่งรักนาร์ยังกล่าวด้วยว่ากษัตริย์เดนมาร์ก ฮาร์ธาคานุต เป็นบุตรชายของซิเกิร์ด ฮาร์ธาคนุตสืบทอดต่อจากซิกทริกก์ กนุปาสสัน เป็นกษัตริย์แห่งซีแลนด์, สแกเนีย และฮัลแลนด์ ในราวปี ค.ศ. 916 แต่เสียวิเกน (ออสโลฟยอด) ไป เขาเป็นบิดาของกอร์มผู้ขรา กษัตริย์แห่งเดนมาร์ก กอร์มสืบทอดต่อจากบิดาเป็นกษัตริย์และแต่งงานกับธีรา
บุตรชายของกอร์ม ฮารัลด์ฟันสีฟ้า สืบทอดต่อจากบิดาเป็นกษัตริย์และแต่งงาน อาจจะสามครั้ง กับกุลฮิลด์, โทฟ และเกียริด ฮารัลด์มีบุตรชายคนหนึ่งที่มีชื่อว่าสเวนเคราส้อม สเวนสืบทอดต่อจากบิดาเป็นกษัตริย์และแต่งงานกับกุนฮิลด์ ทั้งคู่มีลูกชายด้วยกันหนึ่งคนมีชื่อว่าคนุตมหาราช สเวนยังปกครองอังกฤษในช่วงหนึ่งของชีวิตและสถาปนาจักรวรรดิเดนมาร์กขึ้นมา เมื่อสเวนตาย บุตรชายคนโต ฮารัลด์ สเวนด์สัน กลายเป็นกษัตริย์แห่งเดนมาร์ก ขณะที่อดีตกษัตริย์อังกฤษ เอเธเรด อ้างสิทธิ์ในบัลลังก์อีกครั้ง หลังการตายของแฮโรลด พี่น้องชายของคนุตมหาราชกลายเป็นกษัตริย์ สถาปนาจักรวรรดิทะเลเหนือของชาวเดนิชขึ้นมาใหม่
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Jurich, Marilyn (1998). Scheherazade's Sisters: Trickster Heroines and their Stories in World Literature. Westport, Conn.: Greenwood Press. p. 160. ISBN 978-0-31329-724-3.
- ↑ The Danish History of Saxo Grammaticus, Book 9[1]
- ↑ Bent Østergaard (1994), "Sven Estridsens danmarkshistorie. Danmarks politiske historie ca. 890-965", Jyske samlinger [2]