ข้ามไปเนื้อหา

ซันเรโม

พิกัด: 43°49′03″N 07°46′30″E / 43.81750°N 7.77500°E / 43.81750; 7.77500
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ซันเรโม
Città di Sanremo
ท่าเรือซันเรโมในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2008
ท่าเรือซันเรโมในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2008
ธงของซันเรโม
ธง
ตราราชการของซันเรโม
ตราอาร์ม
แผนที่แสดงที่ตั้งของซันเรโม
แผนที่
ซันเรโมตั้งอยู่ในประเทศอิตาลี
ซันเรโม
ซันเรโม
ที่ตั้งของซันเรโมในอิตาลี
พิกัด: 43°49′03″N 07°46′30″E / 43.81750°N 7.77500°E / 43.81750; 7.77500
ประเทศอิตาลี
แคว้นลีกูเรีย
จังหวัดImperia (IM)
FrazioniBorello, Bussana, Bussana Vecchia, Coldirodi, Gozo Superiore, Gozo Inferiore, Poggio, San Bartolomeo, San Giacomo, San Giovanni, San Romolo, Verezzo, Verezzo San Donato, Verezzo Sant'Antonio
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีอัลแบร์โต บันชีรี
พื้นที่[1]
 • ทั้งหมด55.96 ตร.กม. (21.61 ตร.ไมล์)
ความสูง15 เมตร (49 ฟุต)
ประชากร
 (30 เมษายน 2019)[2]
 • ทั้งหมด56,864 คน
 • ความหนาแน่น1,000 คน/ตร.กม. (2,600 คน/ตร.ไมล์)
เดมะนิมSanremesi or Sanremaschi
เขตเวลาUTC+1 (CET)
 • ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)UTC+2 (CEST)
รหัสไปรษณีย์18038
รหัสเขตโทรศัพท์0184
นักบุญองค์อุปถัมภ์นักบุญโรโมโล
วันสมโภชนักบุญ13 ตุลาคม
เว็บไซต์เว็บไซต์ทางการ

ซันเรโม (อิตาลี: Sanremo หรือ San Remo)[3] เป็นเมืองบนชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทางตะวันตกของแคว้นลีกูเรีย ทางทิศเหนือ-ตะวันตกของประเทศอิตาลี เมืองมีประชากร 56,864 คน (ณ วันที่ 30 เมษายน ค.ศ. 2019) เมืองนี้ก่อตั้งในยุคโรมัน และเป็นที่รู้จักในฐานะจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยว มีการจัดเทศกาลวัฒนธรรมหลายครั้ง อาทิ เทศกาลดนตรีซันเรโม นอกจากนี้ ยังเป็นสถานที่จัดประชุมนานาชาติเมื่อ ค.ศ. 1920 ของผู้แทนประเทศต่าง ๆ ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเคยเสด็จประพาสซันเรโมและประทับอยู่เป็นเวลาถึง 15 วัน พระองค์ทรงเปรียบเปรยสภาพบ้านเมืองและความเป็นอยู่ (ในขณะนั้น) ว่าคล้ายเคียงกับเกาะสีชัง ของประเทศไทย[4]

การขนส่ง

[แก้]

ซันเรโมสามารถเชื่อมต่อกับเจนัวและเวนตีมีเกลียบริเวณพรมแดนชายแดนประเทศฝรั่งเศสได้โดยมอเตอร์เวย์หมายเลข A10 ซึ่งช่วงสุดท้ายของทางหลวงนี้รู้จักกันในชื่อ "มอเตอร์เวย์แห่งดอกไม้" (อิตาลี: Autostrada dei Fiori) มอเตอร์เวย์นี้มีจุดยกระดับหลายช่วงซึ่งสามารถมองเห็นทัศนียภาพชายฝั่งได้ นอกจากนี้ ยังเชื่อมต่อกับทางหลวง A8 ของฝรั่งเศสบริเวณพรมแดนระหว่างเมืองเวนตีมีเกลียกับมอนตอน เส้นทางเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงยุโรป E80 โดยมอเตอร์เวย์ A10 เป็นถนนที่เก็บค่าผ่านทางตลอดสาย ส่วนทางหลวง A8 เก็บค่าผ่านทางเพียงบางส่วนเท่านั้น ดังนั้นเมื่อเดินทางจากอิตาลีไปยังฝรั่งเศส ผู้ขับไม่ต้องจ่ายค่าผ่านทางหลังจากที่ผ่านเมืองมอนตอนกับโมนาโกไปแล้ว

ถนนสำคัญสายอื่น ๆ อาทิ ถนน SS1 หรือ "ออเรลาบิส" ซึ่งเชื่อมต่อเมืองนี้กับตักกา เป็นถนนเลี่ยงเมืองที่ไม่เก็บค่าผ่านทาง มักประสบปัญหาจราจรติดขับเนื่องจากมีช่องทางวิ่งเดียว ถนนสายนี้มีรถโดยสารประจำทางไฟฟ้าซึ่งเชื่อมต่อระหว่างซันเรโมกับตักกาและเวนตีมีเกลีย วิ่งให้บริการ

ท่าอากาศยานที่ใกล้ที่สุดคือท่าอากาศยานโกตดิอาซูร์ที่เมืองนีซในประเทศฝรั่งเศส ใช้เวลาขับรถจากซันเรโมประมาณ 45 นาที นอกจากนี้ ยังมีสายรถไฟเชื่อมต่อระหว่างซันเรโมกับเมืองอื่น ๆ ในแคว้นเดียวกันอย่างอิมปีราและเจนัว รวมไปถึงเมืองที่ห่างออกไปอย่างนีซ มิลาน ตูริน และโรม

เคยมีสายรถไฟเจนัว–เวนตีมีเกลีย ซึ่งวิ่งเลียบชายฝั่งและให้ทิวทัศน์แก่นักท่องเที่ยว ต่อมาทางรถไฟได้ถูกปรับให้ลงใต้ดินเพื่อให้รถไฟวิ่งได้เร็วขึ้น สถานีรถไฟซันเรโมก็ถูกย้ายที่ตั้งไปอยู่ข้างศาลาว่าการ ส่วนสถานีรถไฟแห่งเก่าถูกปรับปรุงให้เป็นถนนคนเดินและทางวิ่งรถจักรยาน เมืองนี้มีเส้นทางรถจักรยานเช่าเที่ยวชมชายหาด ระยะทาง 24 km (15 mi) ตั้งแต่ย่านซันโลเรนโซอัลมาเรทางทิศตะวันตก ไปจนถึงย่านโอสเปดาเลตตีทางทิศตะวันออก[5]

เมืองแฝด

[แก้]

ซันเรโมเป็นเมืองแฝดกับ

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Superficie di Comuni Province e Regioni italiane al 9 ottobre 2011". สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2019.
  2. "Popolazione Residente al 1° Gennaio 2018". สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2019.
  3. The official spelling of the city is Sanremo, a phonetic contraction of San Romolo (Saint Romolo), official saint and protector of the city. In the local dialect of Ligurian, it sounds like Sanrœmu. The spelling San Remo, as two words, was introduced in 1924 by the mayor and used in official documents during Fascism. This form of the name appears still on some road signs and, more rarely, in unofficial tourist information. It has been the most widely used form of the name in English at least since the 19th century.
  4. https://www.silpa-mag.com/quotes-in-history/article_13455
  5. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-05-12. สืบค้นเมื่อ 2020-06-18.
  6. "International Exchange". List of Affiliation Partners within Prefectures. Council of Local Authorities for International Relations (CLAIR). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 January 2016. สืบค้นเมื่อ 21 November 2015.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]